เมนู

เป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น) เพราะความเกิดขึ้นแห่งผสัสะไม่มีการ
ขัดขวางในอารมณ์ ที่ประมวลมาแห่งธรรมเหล่านั้น และอินทรีย์ที่ปรุงแต่ง
ดีแล้ว ดังนี้.

ความหมายของคำว่าเวทนา



เวทยตีติ เวทนา

ธรรมที่ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า รู้สึก
อารมณ์ เวทนานั้นมีลักขณาทิจตุกะดังนี้
เวทยิตลกฺขณา มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะ
อนุภวนรสา มีการเสวยรสอารมณ์เป็นกิจ
อิฏฺฐาการสมโภครสา หรือมีความเสวยอารมณ์ที่ชอบเป็นกิจ
เจตสิก อสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความพอใจทางเป็นปัจจุปัฏฐาน
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีปัสสัทธิเป็นปทัฏฐาน.
จริงอยู่ เวทนาเป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่า ไม่มีการรู้สึกอารมณ์
เป็นลักษณะก็หาไม่ แต่ท่านกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส ย่อมได้
เฉพาะสุขเวทนาเท่านั้น แล้วกลับปฏิเสธวาทะนั้นอีก แล้วแสดงเนื้อความนี้ว่า
สุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม ทั้งหมด มีการเสวย
อารมณ์เป็นรส จริงอยู่ มุ่งถึงฐานะการเสวยอารมณ์เป็นรสแล้วสัมปยุตตธรรม
ที่เหลือย่อมเสวยอารมณ์เพียงบางส่วน คือผัสสะก็เพียงกระทบอารมณ์เท่านั้น
สัญญามีเพียงจำอารมณ์เท่านั้น เจตนามีเพียงความตั้งใจเท่านั้น วิญญาณมีการ
รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่เวทนาเท่านั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์โดยส่วนเดียว
เพราะความเป็นเจ้าของโดยความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร จริงอยู่ เวทนา
เปรียบเหมือนพระราชา ธรรมที่เหลือเหมือนพ่อครัว พ่อครัวยังโภชนะมีรส