เมนู

คือ ขื่อ ไม้ระแนง เชิงฝา ยอด กลอน จั่ว ดั้ง แป เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยเสา
ตั้งอยู่บนเสา ฉะนั้น ผัสสะนี้เป็นเช่นกับเสา สัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกัน
เป็นเช่นกับทัพสัมภาระที่เหลือ แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสผัสสะก่อน แต่
ข้อความที่กล่าวแล้วนี้มิใช่เป็นเหตุ (การณะ) เพราะว่า ธรรมข้อนี้ไม่ได้เพื่อ
จะกล่าวว่า ผัสสะนี้เกิดขึ้นก่อนธรรมที่เกิดขึ้นในจิตดวงหนึ่ง แต่สัมปยุตตธรรม
นี้เกิดภายหลัง ดังนี้ ทั้งเหตุ (การณะ) ของผัสสะ แม้ในความเป็นแห่งปัจจัย
ที่มีกำลังก็ไม่ปรากฏ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสะไว้ก่อน ด้วยวาระแห่ง
เทศนาเท่านั่น. ความจริงแม้จะนำมากล่าวว่า เวทนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด
สัญญาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด เจตนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด จิตย่อมเกิด
ดังนี้ก็ควร. ก็ผัสสะนั่นเอง พึงทราบว่า ตรัสไว้ก่อนโดยวาระแห่งเทศนา ดังนี้.
อนึ่ง ในผัสสะนี้ ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือนอกนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น ชื่อว่า
ลำดับแห่งธรรมที่เกิดและเกิดหลัง บัณฑิตไม่พึงแสวงหา แต่พึงแสวงหา
ธรรมทั้งหลาย โดยความหมายแห่งคำ (วจนัตถะ) ลักษณะ และรส
เป็นต้นเท่านั้น คือ

ความหมายของคำว่าผัสสะ



ผุสตีติ ผสฺโส

ธรรมชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์
ผัสสะนั้นมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.
ผุสนลกฺขโณ มีกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
สํฆฏนรโส มีการประสานเป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน
อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์มาสู่คลองเป็นปทัฏฐาน

จริงอยู่ ผัสสะนี้ แม้มิใช่รูปธรรมแต่ก็เป็นไปโดยอาการการถูกต้อง
อารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ผัสสะนี้
แม้ไม่ติดกับอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ประสานจิตกับอารมณ์เหมือนรูปกับจักษุ
และเสียงกับโสต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการประสานเป็นกิจรส อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบว่า มีการประสานเป็นสัมปัตติรส เพราะการเกิดประสานวัตถุกับ
อารมณ์ สมดังคำอรรถกถากล่าวไว้ว่า ผัสสะที่เป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่ามีการ
กระทบอารมณ์เป็นลักษณะไม่มีก็หามิได้ แต่ผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร
เท่านั้น มีการประสานเป็นรส จริงอยู่ คำว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
ก็ดี มีการประสานเป็นรสก็ดี เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร คำว่า
มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะเป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวาร แต่
คำว่า มีการประสานเป็นรส หาได้เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวารไม่
ครั้นท่านกล่าวคำนี้แล้ว ได้นำสูตรนี้มาว่า ดูก่อนมหาบพิตรแพะสองตัวชนกัน
พึงเห็นจักษุเหมือนแพะตัวหนึ่ง พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่สอง พึงเห็นผัสสะ
เหมือนการชนกันของแพะทั้งสองนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
และมีการประสานเป็นรสด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร เหมือน
ฝ่ามือทั้งสองประสานกัน คือพึงเห็นจักษุเหมือนฝ่ามือข้างหนึ่ง พึงเห็นรูป
เหมือนฝ่ามือข้างที่สอง พึงเห็นผัสสะเหมือนการประสานกันของฝ่ามือทั้งสอง
นั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ. แต่มีการประสานเป็นรส ด้วย
ประการฉะนี้ ความพิสดารมีเพียงเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น โดยชื่อว่า จักขุเป็นต้น
ในประโยคว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เป็นต้น (เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ) ฉันใด
แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า จักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น ตรัสไว้โดยชื่อจักขุ

เป็นต้นฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในคำมีอาทิว่า
เอวํ จกฺขุ ทฏฺฐพฺพํ ดังนี้ โดยนัยนี้ว่า พึงเห็นจักขุวิญญาณ ฉันนั้น เมื่อ
เป็นเช่นนี้ เพราะการประสานจิตกับอารมณ์ในสูตรแม้นี้ ผัสสะจึงสำเร็จเป็น
การประสานเป็นรสด้วยกิจรสเป็นอรรถ.
ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะแสดง
ให้ทราบด้วยอำนาจแห่งการกระทำของตน กล่าวคือการประชุมพร้อมกันของ
ธรรม 3 (อารมณ์ วัตถุ วิญญาณ). จริงอยู่ ผัสสะนี้ประกาศให้รู้ด้วยอำนาจ
แห่งการกระทำในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีการประชุม
สภาวธรรม 3 อย่าง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทแห่งพระสูตรนี้ว่า ชื่อว่า
ผัสสะ เพราะมีการประชุมแห่งสภาวธรรม 3 ดังนี้ หาใช่ผัสสะเพียงการ
ประชุมเท่านั้นไม่ แต่ผัสสะย่อมปรากฏโดยอาการนั้นนั่นแหละ เพราะการ
ประกาศแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า มีการประชุมพร้อมกันเป็นอาการ
ปรากฏ ดังนี้.
อนึ่ง ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีเวทนาเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะปัจจุปัฏฐาน
คือมีผลเป็นอรรถ จริงอยู่ ผัสสะนี้ ย่อมยังเวทนาให้ปรากฏ คือ ย่อมให้เกิดขึ้น
อนึ่ง ผัสสะนี้ เมื่อจะให้เวทนาเกิดขึ้น แม้จะมีปัจจัยอื่นกล่าวคือวัตถุและ
อารมณ์ แต่ก็ทำให้เวทนาเกิดขึ้นเฉพาะในจิต ซึ่งเป็นที่อาศัยของตนเท่านั้น
เพราะตนอาศัยจิต พึงทราบว่า ไม่ทำให้เกิดเวทนาในวัตถุ หรืออารมณ์แม้
จะเป็นปัจจัยของตน เหมือนกับไออุ่นที่อาศัยอยู่ในธาตุคือครั่ง ย่อมทำให้เกิด
ความอ่อนในครั่งอันเป็นที่อาศัยของตน แม้เพราะความร้อนภายนอกเป็นปัจจัย
แต่ไม่ทำให้เกิดความอ่อนในความร้อน กล่าวคือถ่านที่ปราศจากเปลวไฟใน
ภายนอก แม้จะเป็นปัจจัยของตน ผัสสะนี้ท่านเรียกว่า มีอารมณ์ที่มาสู่คลอง

เป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น) เพราะความเกิดขึ้นแห่งผสัสะไม่มีการ
ขัดขวางในอารมณ์ ที่ประมวลมาแห่งธรรมเหล่านั้น และอินทรีย์ที่ปรุงแต่ง
ดีแล้ว ดังนี้.

ความหมายของคำว่าเวทนา



เวทยตีติ เวทนา

ธรรมที่ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า รู้สึก
อารมณ์ เวทนานั้นมีลักขณาทิจตุกะดังนี้
เวทยิตลกฺขณา มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะ
อนุภวนรสา มีการเสวยรสอารมณ์เป็นกิจ
อิฏฺฐาการสมโภครสา หรือมีความเสวยอารมณ์ที่ชอบเป็นกิจ
เจตสิก อสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความพอใจทางเป็นปัจจุปัฏฐาน
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีปัสสัทธิเป็นปทัฏฐาน.
จริงอยู่ เวทนาเป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่า ไม่มีการรู้สึกอารมณ์
เป็นลักษณะก็หาไม่ แต่ท่านกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส ย่อมได้
เฉพาะสุขเวทนาเท่านั้น แล้วกลับปฏิเสธวาทะนั้นอีก แล้วแสดงเนื้อความนี้ว่า
สุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม ทั้งหมด มีการเสวย
อารมณ์เป็นรส จริงอยู่ มุ่งถึงฐานะการเสวยอารมณ์เป็นรสแล้วสัมปยุตตธรรม
ที่เหลือย่อมเสวยอารมณ์เพียงบางส่วน คือผัสสะก็เพียงกระทบอารมณ์เท่านั้น
สัญญามีเพียงจำอารมณ์เท่านั้น เจตนามีเพียงความตั้งใจเท่านั้น วิญญาณมีการ
รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่เวทนาเท่านั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์โดยส่วนเดียว
เพราะความเป็นเจ้าของโดยความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร จริงอยู่ เวทนา
เปรียบเหมือนพระราชา ธรรมที่เหลือเหมือนพ่อครัว พ่อครัวยังโภชนะมีรส