เมนู

ปฏิโลมหรือโดยอนุโลม หรือโดยนัยมีอารมณ์อย่างหนึ่งคั่นหรือสองอย่างคั่น
เป็นต้น. และแม้รูปารมณ์ทั้งหลายก็ไม่เกิดโดยกำหนดแม้นี้ว่า จิตมีสีเขียว
เป็นอารมณ์ก่อน ภายหลังจึงมีสีเหลืองเป็นอารมณ์ แต่ปรารภอารมณ์ใด ๆ
ก็ได้ อธิบายว่า จิตปรารภรูปารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดารูปารมณ์
ทั้งหลายมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้นเกิดขึ้น. แม้ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้
แหละ นี้เป็นการประกอบความอธิบายไว้อย่างหนึ่งก่อน ยังมีข้อความที่ควร
แนะนำอื่นอีก ดังต่อไปนี้.
รูปเป็นอารมณ์ของจิตนี้ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึงชื่อว่า มีรูป
เป็นอารมณ์
ฯลฯ ธรรมเป็นอารมณ์ของจิตนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึง
ชื่อว่า มีธรรมเป็นอารมณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า จิตมีรูปารมณ์
ฯลฯ หรือมีธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสอีกว่า ก็หรือว่า
จิตปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ดังนี้ เนื้อความแห่งพระดำรัสที่ตรัสว่า จิต
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นดังนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในรูปเป็นต้น
เหล่านั้นเถิด.
ส่วนในมหาอรรถกถา มีข้อความกล่าวไว้เพียงเท่านี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเยวาปนกนัยไว้ ไม่มีอะไรใหม่ คือเป็นอารมณ์ที่ถือเอาแล้ว
ในหลังนั่นแหละ แล้วตรัสพระดำรัสนี้ เพื่อกล่าวปรารภรูป ฯลฯ หรือ
ปรารภธรรม หรือปรารภอารมณ์นี้หรืออารมณ์นั้น ดังนี้.

อธิบายคำว่าธรรมมีผัสสะเป็นต้น



คำว่า ตสฺมึ สมเย นี้เป็นคำปฏินิทเทส (คือการวกกลับมาอธิบายอีก)
โดยกำหนดสมัยที่ทรงยกขึ้นแสดงโดยไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง

ทราบเนื้อความแห่งคำว่า ตสฺมึ สมเย นั้นว่า กามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ ฯ ล ฯ อวิกเขปะก็เกิดขึ้นในสมัยนั้นนั่นแหละ ดังนี้.
ในเนื้อความเหล่านั้น คำที่เป็นมติของอาจารย์ทั้งหลายนอกจากอรรถ-
กถากล่าวไว้ดังนี้ว่า พึงทำการประกอบการอธิบายธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น
เหมือนจิตนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ โดยนัยมีอาทิว่า ผัสสะย่อม
เกิดขึ้น ดังนี้ ถามว่า ผัสสะย่อมเกิดเป็นอะไร ตอบว่า ย่อมเกิดเป็นกามาวจร
เป็นกุศล เป็นโสมนัสสสหคตะ เพราะว่า ในเวทนาย่อมไม่ได้ในคำว่า
โสมนัสสสหคตะ และในปัญญินทรีย์ก็ย่อมไม่ได้ในคำว่า ญาณสัมปยุต
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ดังนี้ แต่คำที่อาจารย์
กล่าวเเล้วนี้ไม่ควรเห็นเป็นสาระ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในคำว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้นนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสผัสสะไว้ก่อน.
ตอบว่า เพราะผัสสะยังจิตให้ตกไปก่อน*
จริงอยู่ ผัสสะเป็นธรรมยังจิตให้ตกไปก่อนในอารมณ์ ถูกต้องอารมณ์
เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัส ผัสสะก่อน ก็จิตถูกต้องอารมณ์ด้วยผัสสะ
เสวยอารมณ์ด้วยเวทนา จำอารมณ์ได้ด้วยสัญญา ย่อมคิดด้วยเจตนา ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้อันผัสสะ
ถูกต้องแล้วย่อมเสวยอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมจำอารมณ์ ผู้อัน
ผัสสะถูกต้องแล้วย่อมคิดอารมณ์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะนี้เป็นปัจจัยที่มีกำลังของสัมปยุตธรรมที่เกิด
พร้อมกัน เหมือนปราสาท ชื่อว่า เสาเป็นปัจจัยสำคัญของทัพสัมภาระที่เหลือ
*บาลีบางแห่งว่า จิตฺตสฺส ปฐมาภินิปาตตฺตา แปลว่า เพราะเป็นการประชุมร่วมกันแห่งจิต
เป็นครั้งแรก.

คือ ขื่อ ไม้ระแนง เชิงฝา ยอด กลอน จั่ว ดั้ง แป เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยเสา
ตั้งอยู่บนเสา ฉะนั้น ผัสสะนี้เป็นเช่นกับเสา สัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกัน
เป็นเช่นกับทัพสัมภาระที่เหลือ แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสผัสสะก่อน แต่
ข้อความที่กล่าวแล้วนี้มิใช่เป็นเหตุ (การณะ) เพราะว่า ธรรมข้อนี้ไม่ได้เพื่อ
จะกล่าวว่า ผัสสะนี้เกิดขึ้นก่อนธรรมที่เกิดขึ้นในจิตดวงหนึ่ง แต่สัมปยุตตธรรม
นี้เกิดภายหลัง ดังนี้ ทั้งเหตุ (การณะ) ของผัสสะ แม้ในความเป็นแห่งปัจจัย
ที่มีกำลังก็ไม่ปรากฏ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสะไว้ก่อน ด้วยวาระแห่ง
เทศนาเท่านั่น. ความจริงแม้จะนำมากล่าวว่า เวทนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด
สัญญาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด เจตนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด จิตย่อมเกิด
ดังนี้ก็ควร. ก็ผัสสะนั่นเอง พึงทราบว่า ตรัสไว้ก่อนโดยวาระแห่งเทศนา ดังนี้.
อนึ่ง ในผัสสะนี้ ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือนอกนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น ชื่อว่า
ลำดับแห่งธรรมที่เกิดและเกิดหลัง บัณฑิตไม่พึงแสวงหา แต่พึงแสวงหา
ธรรมทั้งหลาย โดยความหมายแห่งคำ (วจนัตถะ) ลักษณะ และรส
เป็นต้นเท่านั้น คือ

ความหมายของคำว่าผัสสะ



ผุสตีติ ผสฺโส

ธรรมชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์
ผัสสะนั้นมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.
ผุสนลกฺขโณ มีกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
สํฆฏนรโส มีการประสานเป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน
อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์มาสู่คลองเป็นปทัฏฐาน