เมนู

มีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่า
เห็น ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษมาก. (องค์) ของนี้มุสาวาทนั้น มี 4 อย่าง คือ
1. อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)
2. วิสํวาทนจิตฺตํ (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)
3. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)
4. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)
ประโยคของมุสวาทมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาท
นั้นพึงทราบโดยการกระทำกิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วย
ของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น
เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้น
ทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียน
หนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่า
บุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจาก
กาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลาย
คือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้
แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.

ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น
บุคคลย่อมกล่าววาจาก่อนบุคคลใดย่อมกระทำความรักของตนในหัวใจ
ของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
ก็วาจาใด ย่อมกระทำความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้น ชื่อว่า
ผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทำความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ

วาจานี้ ชื่อว่า ผรุสวาจา. บุคคลย่อมพูดเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์
ภาวะนั้น ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ แม้เจตนา ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณาวาจา
เป็นต้นนั่นแหละเพราะเป็นเหตุของวาจาเหล่านั้น. ก็เจตนานั้นเองท่านประสงค์
เอาในที่นี้.
บรรดาวาจาเหล่านี้ เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ตั้งขึ้นด้วย
ความพยายามทางกายและวาจาเพื่อความแตกแยกของชนเหล่าอื่น หรือทำความ
รักให้แก่ตน ชื่อว่า ปิสุณาวาจา เจตนาที่เป็นปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย
เพราะทำความแตกแยกให้บุคคลผู้มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคล
นั้นมีคุณมาก. ส่วนประกอบ (องค์) ของปิสุณาวาจามี 4 คือ
มีคนอื่นที่ตนพึงทำให้แตกกัน (ภินฺทิตพฺโพ ปุโร) 1. ความเป็น
ผู้มีเจตนากล่าวให้แตกกัน (เภทปุเรกฺขารตา) ด้วยประสงค์ว่า ชนเหล่านี้
จักเป็นไปต่าง ๆ กันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือว่า เป็นผู้ใคร่จะทำตนให้เป็นที่รักว่า
เราจักเป็นที่รักใคร่ จักเป็นที่คุ้นเคยด้วยอุบายอย่างนี้ 1. มีความพยายามเกิดขึ้น
ด้วยจิตนั้น (ตชฺโช วายาโม) 1. บุคคลนั้นรู้ความหมายนั้น (ตสฺส ตทตฺถวิ
ชานนํ)
1. ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่แตกกัน กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อบุคคลแตกกัน
นั่นแหละกรรมบถจึงแตกทีเดียว.
เจตนาหยาบคายโดยส่วนเดียว ที่ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและ
วาจาอันตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่ง
ผรุสวาจานั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า เด็กชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดาไปป่า มารดา
ไม่อาจให้เขากลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่ควายดุร้ายจงไล่ตามมัน ดังนี้ ทีนั้น
แม่ควายในป่าก็ได้ปรากฏแก่เขา เหมือนอย่างมารดานั้นกล่าวนั่นแหละ เด็กได้ทำ

สัจจกิริยาว่า แม่ของข้าพเจ้าย่อมพูดคำใดด้วยปาก (ไม่คิดร้าย) ขอคำนั้นจง
อย่ามี ถ้าแม่คิดคำใดด้วยความตั้งใจ ขอคำนั้นจงมีเถิด ดังนี้. แม่ควายได้
ยืนอยู่ เหมือนบุคคลผูกไว้ในที่นั้นนั่นแหละ.
ความพยายามแม้อันตัดเสียซึ่งความรักอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ผรุสวาจา
เพราะความที่จิตอ่อน. จริงอยู่ ในกาลบางครั้ง มารดาและบิดาย่อมพูดกะบุตร
น้อยแม้อย่างว่า ขอให้พวกโจรจงตัดพวกเจ้าให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ดังนี้
แต่ท่านทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาอะไร ๆ แม้กลีบดอกอุบลตกไปถูกบุตรเหล่านั้น.
อนึ่ง ในกาลบางคราว อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมกล่าวกะศิษย์ผู้อาศัยอย่างนี้ว่า
พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตัปปะ พูดอะไร พวกเจ้าจงไล่เขาออกไปเสีย แต่ที่แท้
ท่านเหล่านั้น ย่อมปรารถนาซึ่งความถึงพร้อมแห่งการเล่าเรียนและการบรรลุ-
มรรคผลของศิษย์เหล่านั้น ไม่ชื่อว่า ผรุสวาจา เพราะความที่จิตอ่อน
แม้ฉันใด ไม่ชื่อว่า เป็นผรุสวาจา เพราะเป็นวาจาอ่อนหวาน ฉันนั้นก็
หาไม่ ด้วยว่าคำพูดของบุคคลผู้ประสงค์จะให้คนอื่นตายว่า พวกท่านจงให้ผู้นี้
นอนเป็นสุข ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผรุสวาจาหาไม่ ก็วาจานั้นเป็นผรุสวาจาแท้
เป็นวาจามีจิตหยาบ. วาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะความที่บุคคลนั้น
มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก. ผรุสวาจานั้นมี
องค์ 3 คือ
1. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร (มีคนอื่นที่ตนพึงด่า)
2. กุปิตจิตฺตํ (มีจิตโกรธ)
3. อกฺโกสนา (การด่า)
อกุศลเจตนาอันยังบุคคลอื่นรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นด้วยการ
พยายามทางกายและวาจา ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่า

มีโทษน้อย เพราะความที่มีการส้องเสพน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีการ
ซ่องเสพมาก องค์ของสัมผัปปลาปะมี 2 คือ ภารตยุทฺธสีตาหรณาทินิรตฺ-
ถกกถาปุเรกฺขารตา
(ความเป็นผู้มีเจตนาจะพูดเรื่องไร้ประโยชน์มีภารตยุทธ์
และการลักพานางสีดาไปเป็นต้น) 1. ตถารูปีกถากถน (การกล่าววาจา
เช่นนั้น) 1. ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่ถือเอาถ้อยคำนั้น กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อมีผู้อื่น
ถือสัมผัปปลาปะนั่นแหละ กรรมบถจึงแตกไป.
ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่า อภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของ
ของผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่น อภิชฌานั้น
มีการเพ่งเล่งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็น
ของเรา ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.
อภิชฌานั้น มีองค์ 2 คือ ปรภณฺฑํ (สิ่งของของบุคคลอื่น) 1. อตฺตโน
ปริณามนญฺจ
(น้อมมาเพื่อตน) 1. ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็น
ของผู้อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตน
ด้วยคำว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้.
สภาวธรรมที่ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้พินาศไป ชื่อว่า
พยาบาท. พยาบาทนั้นมีความมุ่งร้ายเพื่อให้ผู้อื่นพินาศเป็นลักษณะมีโทษน้อย
และมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา. พยาบาทนั้นมีองค์ 2 คือ ปรสตฺโต
(สัตว์อื่น) 1. ตสฺส จ วินาสจินฺตา (ความคิดที่ให้สัตว์นั้นพินาศไป) 1.
ที่จริง เมื่อความโกรธมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถยังไม่แตก
ไปก่อน ตราบจนกว่าจะคิดยังสัตว์ให้พินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้พึงขาดสูญ
พึงพินาศดังนี้.

ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความ
ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดย
นัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อย และ
มีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย
นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก. องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี 2 อย่าง คือ วตฺถุโน จ
คหิตาการวิปรีตตา
(เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) 1. ยถา จ ตํ
คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ
(ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความ
ไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) 1. บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป
เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป
เพราะทิฏฐิอื่น ๆ.

ว่าด้วยอกกุศอกุศลกรรมบถ 5 ประเภท



พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ 10 แม้เหล่านี้ โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺ-
มณโต)
โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).
บรรดาอาการ 5 เหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดา
อกุศลกรรมบถ 10 เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ (คือกายทุจริต 3
วจีทุจริต 4) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ 3 มีอภิชฌาเป็นต้น
เป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.
คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 8 ที่ไม่เป็นมูล คือ
อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ และมิจฉาทิฏฐิ 1. อภิชฌาและพยาบาทเป็น
กรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือ โลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็น
อกุศลมูล พยาบาท คือ โทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.