เมนู

ทุกทุกปัฏฐาน 1.



ในลำดับต่อจากนั้นก็ทรงแสดงแม้ในธรรมปัจจนียานุโลมโดยนัยทั้ง 6
เหล่านี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
นัยทั้ง 6 อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม
ปัจจยานียานุโลม คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ 1
ฯ ล ฯ
ทุกทุกปัฏฐาน 1.


ว่าด้วยสมันตปัฏฐาน 24



ปัฏฐานที่ประชุมสมันตปัฏฐาน 24 เหล่านี้ คือ ปัฏฐาน 6 ใน
ธรรมอันโลม ปัฏฐาน 6 ในธรรมปฏิโลม ปัฏฐาน 6 ในธรรมอนุโลมปัจจนีย-
ปัฏฐาน 6 ในธรรมปัจจนิยานุโลม ชื่อว่า มหาปกรณ์ (ปกรณ์ใหญ่).

ว่าด้วยการเปรียบกับสาคร



บัดนี้ เพื่อการรู้แจ้งถึงความที่พระอภิธรรมนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง พึง
ทราบสาคร (ทะเล) 4 คือ
1. สังสารสาคร (สาคร คือ สงสาร)
2. ชลสาคร (สาคร คือ น้ำมหาสมุทร)
3. นยสาคร (สาคร คือ นัย)
4. ญาณสาคร (สาคร คือ พระญาณ)
บรรดาสาครทั้ง 4 นั้น ชื่อว่า สังสารสาคร คือ สังสารวัฏที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ
อพฺโภจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ
ซึ่งกำลังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า
สงสาร

นี้ชื่อว่า สังสารสาคร. สังสารสาครนี้นั้น เพราะเหตุที่เงื่อนเบื้องต้นของความ
เกิดขึ้นแห่งสัตว์เหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น
มาแล้วในที่สุดเพียงร้อยปีเท่านั้น เพียงพันปีเท่านั้น เพียงแสนปีเท่านั้น เพียง
ร้อยกัปเท่านั้น เพียงพันกัปเท่านั้น เพียงแสนกัปเท่านั้น ในกาลก่อนแต่นี้
มิได้มีเลย ดังนี้ หรือว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในกาลแห่งพระราชาพระนาม-
โน้น ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามโน้น ในกาลก่อนแต่นั้นไม่มีเลย ดังนี้
แต่ว่า มีโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนเบื้องต้นแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ
ในกาลก่อนแต่อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี ดังนี้.* การกำหนดเงื่อนมีใน
เบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้นี้ ชื่อว่า สังสารสาคร.
มหาสมุทร พึงทราบว่า ชื่อ ชลสาคร มหาสมุทรนั้นลึก 84,000
โยชน์ ขึ้นชื่อว่า การประมาณน้ำในมหาสมุทรนั้นว่ามีเท่านี้ คือ มีน้ำร้อยอาฬหกะ
พันอาฬหกะ หรือแสนอาฬหกะไม่ได้เลย โดยที่แท้ห้วงมหาสมุทรนั้น ย่อม
ปรากฏว่า ใคร ๆ พึงนับไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ ย่อมถึงการนับว่าเป็น
ห้วงน้ำใหญ่โดยแท้ นี้ชื่อว่า ชลสาคร.
นัยสาคร เป็นไฉน ? นัยสาครได้แก่พระพุทธพจน์ คือ พระ-
ไตรปิฎก
ปีติโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพร้อมด้วย
ศรัทธา มีความเลื่อมใสมาก มีญาณอันยิ่งแก่ผู้พิจารณาตันติแม้ทั้งสอง. ตันติ
แม้ทั้งสองเป็นไฉน ? ตันติทั้งสอง คือ พระวินัยและพระอภิธรรม ปีติและ
โสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่ภิกษุวินัยธรทั้งหลายผู้พิจารณาตันติแห่งวินัย
* องฺ ทสก. 24.61/120

ว่า ชื่อว่า การบัญญัติสิกขาบทอันสมควรแก่โทษ ธรรมดาว่า สิกขาบทนี้
ย่อมมีเพราะโทษนี้ เพราะการก้าวล่วงอันนี้ ดังนี้ และเกิดแก่ผู้พิจารณา
อุตริมนุสธรรมเปยยาล แก่ผู้พิจารณานีลเปยยาล ผู้พิจารณาสัญจริตเปยยาลว่า
การบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเท่านั้น.
ปีติและโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแม้แก่ภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม
ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งตันติแห่งพระอภิธรรมว่า พระศาสดาของเราทั้งหลายเมื่อทรง
จำแนกแม้ความแตกต่างแห่งขันธ์ แม้ความแตกต่างแห่งอายตนะ แม้ความ
แตกต่างแห่งธาตุ ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ กรรม วิบาก
การกำหนดรูปและอรูป ธรรมอันละเอียดสุขุม ทรงกระทำแต่ละข้อในรูปธรรม
และอรูปธรรมให้เป็นส่วน ๆ แสดงไว้ เหมือนการนับดาวทั้งหลายในท้องฟ้า
ฉะนั้น. ก็ในการเกิดขึ้นแห่งปีติโสมนัสนั้น พึงทราบแม้เรื่องดังต่อไปนี้.
ดังได้สดับมา พระเถระชื่อว่า มหานาตติมิยติสสทัตตะ เมื่อไปสู่ฝั่งโน้น
ด้วยคิดว่า เราจักไหว้ต้นมหาโพธิ์ จึงนั่งที่พื้นเบื้องบนเรือแลดูมหาสมุทร
ทีนั้น ในครั้งนั้น ฝั่งโน้นไม่ปรากฏแก่ท่านเลย ฝั่งนี้ก็ไม่ปรากฏ เป็นเช่นกับ
แผ่นเงินอันเขาแผ่ออก และเช่นกับเครื่องลาดทำด้วยดอกมะลิฉะนั้น. ท่านคิดว่า
กำลังคลื่นของมหาสมุทรมีกำลังหรือหนอ หรือว่านยมุข (เนื้อความที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้) ในสมันตปัฏฐาน 24 ประเภทมีกำลัง ดังนี้.
ทีนั้น ปีติมีกำลังก็เกิดขึ้นแก่ท่านผู้พิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมว่า การกำหนด
ในมหาสมุทรย่อมปรากฏ เพราะว่า มหาสมุทรนี้ เบื้องล่างกำหนดด้วยแผ่นดิน
เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ข้างหนึ่งกำหนดด้วยภูเขาจักรวาล ข้างหนึ่งกำหนด
ด้วยฝั่ง แต่การกำหนดสมันตปัฏฐานย่อมไม่ปรากฏ ดังนี้ ท่านข่มปีติแล้ว

เจริญวิปัสสนาตามที่นั่งอยู่ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ตั้งอยู่ในพระอรหัต
ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ แล้วเปล่งอุทานว่า
พระโยคีย่อมเห็นธรรมที่ลึกซึ้ง อัน
ตรัสรู้ได้แสนยาก มีเหตุเป็นแดนเกิดขึ้น
อันพระมเหสีทรงรู้ยิ่งโดยพระองค์เอง แสดง
ไว้โดยลำดับ โดยสิ้นเชิง ในสมันตปัฏฐาน
นี้เท่านั้น เหมือนกับเป็นรูปร่างทีเดียว.

นี้ชื่อว่า นัยสาคร.
ญาณสาคร เป็นไฉน ?
สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณสาคร.
จริงอยู่ ญาณอื่นไม่อาจเพื่อจะรู้สาครนั้นว่า นี้ชื่อว่า สังสารสาคร
นี้ชื่อ ชลสาคร นี้ชื่อ นยสาคร แต่สัพพัญญุตญาณเท่านั้นอาจเพื่อรู้ได้ เพราะ
ฉะนั้น สัพพัญญุตญาณ จึงชื่อว่า ญาณสาคร.
บรรดาสาครทั้ง 4 เหล่านั้น นยสาครประสงค์เอาในที่นี้ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้สัพพัญญูเท่านั้น ย่อมแทงตลอดในนัยสาครนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ประทับนั่งที่ควงไม้โพธิ์ทรงแทงตลอด
นัยสาครนี้ เมื่อทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์แทงตลอดแล้ว ประทับนั่งโดย
บัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์ว่า เมื่อเราเสาะแสวงหาธรรมนี้หนอ ล่วงไปถึง 4
อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ภายหลังเรานั่ง ณ บัลลังก์นี้ จึงยังกิเลส 1,500
ให้สิ้นไปแล้วแทงตลอดได้ ดังนี้ ลำดับนั้น จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ ประทับ
ยืนแลดูบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ด้วยพระเนตรอันไม่กระพริบ ด้วยพระดำริว่า
สัพพัญญุตญาณ เราแทงตลอดแล้ว ณ บัลลังก์นี้หนอ ดังนี้.

ลำดับนั้น เหล่าเทวดาทั้งหลาย มีความปริวิตกเกิดขึ้นว่า แม้ในวันนี้
พระสิทธัตถะพึงทำกิจที่ควรทำเป็นแน่ จึงยังไม่ละความอาลัยในบัลลังก์ ดังนี้.
พระศาสดาทรงทราบวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะยังวิตกของเทวดาเหล่านั้น
ให้สงบ จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสแสดงยมกปาฏิหาริย์.
จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงทำที่มหาโพธิบัลลังก์ก็ดี ทำสมาคม
แห่งพระญาติก็ดี ที่สมาคมปาฏลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์
ที่ทำที่ควงไม้คัณฑามพฤกษ์นั่นแหละ ครั้นทรงทำปาฏิหาริย์อย่างนี้แล้ว จึง
เสด็จลงจากอากาศแล้วเสด็จจงกรมตลอดสัปดาห์ ในระหว่างแห่งบัลลังก์และ
สถานที่อันพระองค์ประทับยืนอยู่แล้ว ก็ใน 21 วันเหล่านี้ แม้วันหนึ่ง รัศมี
ทั้งหลายมิได้ออกจากสรีระของพระศาสดา แต่ในสัปดาห์ที่ 4 ทรงประทับนั่ง
ในเรือนแก้วในทิศพายัพ ชื่อว่า เรือนแก้ว มิใช่เรือนที่สำเร็จด้วยรัตนะ แต่
บัณฑิตพึงทราบสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง 7 ว่าเป็น
เรือนแก้ว.
บรรดาปกรณ์ทั้ง 7 นั้น แม้เมื่อทรงพิจารณาธรรมสังคณี รัศมี
ทั้งหลายก็ไม่ซ่านออกไปจากพระสรีระ เมื่อพิจารณาวิภังคปกรณ์ ธาตุกถา
ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุปกรณ์ และยมกปกรณ์ รัศมีทั้งหลายก็มิได้ซ่านออก
ไปจากพระสรีระ แต่เมื่อใด ก้าวลงสู่มหาปกรณ์เริ่มพิจารณาว่า เหตุปจฺจโย
อารมฺมณปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย
ดังนี้ เมื่อนั้น สัพพัญญุตญาณ
โดยความเป็นอันเดียวกัน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พิจารณาสมันตปัฏฐาน
24 ประการ ย่อมได้โอกาส (ช่อง) ในมหาปกรณ์นั้นแหละ เปรียบเหมือน
ปลาใหญ่ ชื่อว่า ติมิรปิงคละ ย่อมได้โอกาสโดยความเป็นอันเดียวกันใน
มหาสมุทรอันลึก 84,000 โยชน์นั่นแหละ ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมได้โอกาสในมหาปกรณ์ โดยความเป็นอันเดียวกัน
นั่นแหละ.

ว่าด้วยพระฉัพพรรณรังสี



เมื่อพระศาสดา ทรงพิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมตามความสบาย
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณซึ่งมีโอกาส (ช่อง) อันได้แล้วอย่างนี้ พระฉัพพรรณ-
รังสี (รัศมี 6 ประการ) คือ นีละ (เขียวเหมือนดอกอัญชัน ) ปีตะ (เหลือง
เหมือนหรดาล) โลหิตะ (แดงเหมือนตะวันอ่อน) โอทาตะ ( ขาวเหมือน
แผ่นเงิน) มัญเชฏฐะ (สีหงสบาท เหมือนดอกหงอนไก่) ประภัสสร (เลื่อมพราย
เหมือนแก้วผลึก) ก็ซ่านออกจากพระสรีระ พื้นแห่งท้องฟ้า ได้เป็นราวกะว่า
เต็มด้วยดอกอัญชันกระจายอยู่ทั่วไป เหมือนดารดาษด้วยดอกสามหาวหรือกลีบ
อุบลเขียว เหมือนขั้วตาลประดับด้วยแก้วมณีที่แกว่งไปมา และเหมือนแผ่น
วัตถุสีเขียวเข้มที่ขึงออก ด้วยสามารถแห่งรัศมีสีเขียวเหล่าใด พระรัศมีสีเขียว
เหล่านี้ ออกไปแล้วจากพระเกศา แลพระมัสสุทั้งหลาย และจากที่สีเขียว
แห่งพระเนตรทั้งสอง.
ทศาภาคทั้งหลายย่อมรุ่งโรจน์ เหมือนโสรจสรง (ชำระ) ด้วยน้ำทองคำ
เหมือนแผ่แผ่นทองคำออกไป เหมือนย้อมด้วยจุณแห่งนกกดไฟ (น่าจะเป็น
ผงขมิ้น) และเหมือนเรียงรายด้วยดอกกรรณิการ์ ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีเหลือง
เหล่าใด รัศมีสีเหลืองเหล่านั้น ท่านออกแล้วจากพระฉวีวรรณ และจากที่
สีเหลืองแห่งพระเนตรทั้งสอง.
ทิศาภาคทั้งหลายรุ่งโรจน์แล้ว เหมือนย้อมด้วยจุณแห่งชาด เหมือน
รดด้วยน้ำครั่งที่สุกดีแล้ว เหมือนคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง เหมือนเรียงรายด้วย
ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว และดอกชบา ด้วยสามารถแห่งรัศมีสีแดง