เมนู

1. เถยยาวหาร (การลักโดยขโมย)
2. ปสัยหาวหาร (การลักโดยข่มขู่)
3. ปฏิจฉันนาวทาร (การลักโดยปกปิด)
4. ปริกัปปาวหาร (การลักโดยกำหนดไว้)
5. กุสาวหาร (การลักโดยจับสลาก)
เนื้อความในที่นี้ท่านย่อไว้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้ในสมันต-
ปาสาทิกาแล้ว.

ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร



ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป
คำว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิต
ติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่
เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์
อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.

อคมนียฐาน 20



ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง 20 จำพวก ได้แก่หญิงที่มารดารักษา
เป็นต้น 10 จำพวกแรก คือ
1. หญิงที่มารดารักษา
2. หญิงที่บิดารักษา
3. หญิงที่มารดาบิดารักษา
4. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
5 . หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
6. หญิงที่ญาติรักษา

7. หญิงที่ตระกูลรักษา
8. หญิงที่มีธรรมรักษา
9. หญิงที่รับหมั้นแล้ว
10. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง
และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ
1. ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์
2. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
3. ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ
4. ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า
5. ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ (จุ่มน้ำ)
6. ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ.
7. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน
8. ภรรยาที่จ้างมาทำงาน
9. ภรรยาที่เป็นเชลย
10. ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง
หญิง 20 พวกนี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย หญิง 12 จำพวก ที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือ หญิงที่รับ
หมั้นและกฎหมายคุ้มครองแล้วรวม 2 จำพวก และหญิงที่เป็นภรรยา 10 จำพวก
มีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น นี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน.
ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ก็เพราะอคมนียฐานเว้นจาก
คุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า มีโทษมาก ในเพราะอคมนียฐานถึงพร้อมด้วยคุณ
มีศีลเป็นต้น มิจฉาจารนั้นมี (องค์) 4 คือ

1. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
2. ตสมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
3. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
4. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึง
มรรค)
ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.

ว่าด้วยมุสาวาท



ความพยายามทางวาจา (วจีปโยคะ) หรือความพยายามทางกายอัน
ทำลายประโยชน์ ของบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้ขัดแย้งกัน ชื่อว่า มุสา. ก็เจตนา
อันให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายหรือทางวาจาที่มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน
เป็นอย่างอื่น ของบุคคลอื่น โดยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า
มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่เป็นจริง ไม่ใช่ของแท้ ชื่อว่า มุสา. การให้
บุคคลรู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยภาวะว่าจริง ว่าแท้ เรียกว่า วาทะ ก็ว่าโดย
ลักษณะ เจตนาที่ให้ตั้งขึ้นด้วยเคลื่อนไหวอย่างนั้น ของบุคคลผู้ประสงค์ให้คน
อื่นรู้ถึงเรื่องไม่จริงแท้ เรียกว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ผู้พูดทำลาย
ประโยชน์นั้นน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะทำลายประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง
มุสาวาทของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีดังนี้ เพราะประสงค์
จะไม่ให้วัตถุที่มีอยู่ของตน ชื่อว่า มีโทษน้อย. มุสาวาทที่ตนเป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ ชื่อว่า มีโทษมาก. มุสาวาทของบรรพชิตทั้งหลาย
ที่เป็นไปโดยนัยปูรณกถาว่า น้ำมันในบ้าน วันนี้เห็นทีจะไหลไปเหมือนแม่น้ำ
โดยประสงค์จะหัวเราะกันเล่น เพราะน้ำมันหรือเนยใสเพียงเล็กน้อย ชื่อว่า