เมนู

ว่าด้วยอทินนาทาน



การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ท่านอธิบาย
ว่า การนำภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่า
บุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทำแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิค ไม่มีโทษ
เถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสำคัญ ในวัตถุอื่นบุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่า
ผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่า
อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็น
ของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไร
จึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกัน
อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่า
มีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณ
นั้น ๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ
1. ปรปริคฺคหิตํ (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
2. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
3. เถยฺยจิตฺตํ (มีจิตคิดลัก)
4. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
5. เตน หรณํ (นำสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น )
อทินนาทานนั้น มีประโยค 6 มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยค
เหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอวหาร (การขโมย) 5 เหล่านี้ คือ

1. เถยยาวหาร (การลักโดยขโมย)
2. ปสัยหาวหาร (การลักโดยข่มขู่)
3. ปฏิจฉันนาวทาร (การลักโดยปกปิด)
4. ปริกัปปาวหาร (การลักโดยกำหนดไว้)
5. กุสาวหาร (การลักโดยจับสลาก)
เนื้อความในที่นี้ท่านย่อไว้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้ในสมันต-
ปาสาทิกาแล้ว.

ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร



ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป
คำว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิต
ติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่
เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์
อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.

อคมนียฐาน 20



ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง 20 จำพวก ได้แก่หญิงที่มารดารักษา
เป็นต้น 10 จำพวกแรก คือ
1. หญิงที่มารดารักษา
2. หญิงที่บิดารักษา
3. หญิงที่มารดาบิดารักษา
4. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
5 . หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
6. หญิงที่ญาติรักษา