เมนู

กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ



ก็ชื่อว่าอกุศลกรรมบถเหล่านี้มี 10 คือ
ปาณาติบาต
อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร
มุสาวาท
ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา
สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฏฐิ.
บรรดาอกุศลกรรมบถเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า
ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การทำลายชีวิต คือการฆ่าสัตว์. ก็ในคำว่า
ปาณาติบาตนี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์ 2 อย่าง
วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์นั้น ว่ามีชีวิต เป็นไป
ทางทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวารที่ตั้งขึ้นด้วยความพยาบาท
เข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์
เดรัจฉานเป็นต้นที่ไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะสัตว์เล็ก
ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะร่างกายใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ
มีความพยาบาทมาก. แม้จะมีความพยายามเสมอกันก็มีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่

บรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาตนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะ
สัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะมีคุณมาก. เมื่อสัตว์นั้นมีสรีระและคุณ
เท่ากัน ก็พึงทราบว่า ปาณาติบาตมีโทษน้อยเพราะความที่กิเลสทั้งหลาย และ
ความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมากเพราะกิเลสและความพยายามกล้า. องค์
(ส่วนประกอบ) ของปาณาติบาตนั้น มี 5 อย่าง คือ
1. ปาโณ (สัตว์มีชีวิต)
2. ปาณสญฺญิตา (รู้ว่าสัตว์มีชีวิต)
3. วธกจิตฺตํ (มีจิตคิดฆ่า)
4. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
5. เตน มรณํ (สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น)

ปาณาติบาตนั้น ประโยค 6 คือ
1. สาหัตถิกปโยคะ
2. อาณัตติกปโยคะ
3. นิสสัคคิยปโยคะ
4. ถาวรปโยคะ
5. วิชชามยปโยคะ
6. อิทธิมยปโยคะ
ก็อรรถนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารอยู่ย่อมจะชักช้าไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จักไม่ยังอรรถนั้น และอรรถอื่นอย่างเดียวกันให้พิสดาร แต่ผู้ต้องการอรรถ
พิสดารพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัยชื่อ สมันตปาสาทิกา แล้วถือเอาเถิด.

ว่าด้วยอทินนาทาน



การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ท่านอธิบาย
ว่า การนำภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่า
บุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทำแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิค ไม่มีโทษ
เถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสำคัญ ในวัตถุอื่นบุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่า
ผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่า
อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็น
ของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไร
จึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกัน
อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่า
มีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณ
นั้น ๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ
1. ปรปริคฺคหิตํ (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
2. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
3. เถยฺยจิตฺตํ (มีจิตคิดลัก)
4. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
5. เตน หรณํ (นำสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น )
อทินนาทานนั้น มีประโยค 6 มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยค
เหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอวหาร (การขโมย) 5 เหล่านี้ คือ