เมนู

กถาว่าด้วยกรรม 3

*

ชื่อว่า ทวารแห่งกรรม 3 เหล่านี้ บัดนี้ จะกล่าวถ้อยคำพิสดารการ
ตั้งมาติกาในกถาว่าด้วยทวารที่กล่าวค้างไว้ ตั้งแต่กรรม 3 ตามที่ได้แสดง
ทวารแห่งกรรมเหล่านั้นแล้ว เว้นกรรม 3 เหล่านั้นไว้. จริงอยู่ กรรม 3 คือ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ถามว่า ชื่อว่า กรรม นี้ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบว่า ได้แก่ เจตนา และธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาบางอย่าง บรรดาธรรม
ทั้งสองเหล่านั้น ความที่เจตนาเป็นกรรม มีพระสูตรเหล่านั้นกล่าวไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว
จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (และคำว่า) ดูก่อนอานนท์ จริงอยู่
เมื่อกายมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา
เป็นเหตุ (เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ) ดูก่อนอานนท์ หรือเมื่อวาจามีอยู่
ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ ดูก่อน
อานนท์ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ
มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ (และคำว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา 3 อย่าง
เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา 4
อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนสัญเจตนา 3
อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก (และคำว่า)
ดูก่อนอานนท์ ถ้าโมฆบุรุษ ชื่อว่า สมิทธิ นี้ถูกปาฏลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านปาฏลิบุตร ท่านกระทำกรรมเนื่องด้วยสัญ-
เจตนา ย่อมเสวยสุขเนื่องด้วยสุขเวทนา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ฯลฯ
* กถานี้เป็นลำดับแรกแต่ท่านแสดงไว้ที่ 2

ท่านก็ย่อมเสวยอทุกขมสุขเนื่องด้วยอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ ดูก่อนอานนท์
เมื่อสมิทธิโมฆบุรุษนั้นพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่า พยากรณ์ โดยชอบแก่ปาฏลิบุตร
ปริพาชก. ความที่เจตนาเป็นกรรมมีพระสูตรเพียงเท่านี้ก่อน.
ส่วนความที่สัมปยุตตธรรมด้วยเจตนาเป็นกรรม ท่านแสดงไว้โดย
กรรมจตุกะ (หมวด 4 แห่งกรรม) สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 เหล่านั้น เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเองประกาศแล้ว กรรม 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมดำมี
วิบากดำก็มี กรรมขาวมี วิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี
กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรา
เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นเป็นไปเพื่อความสิ้น
กรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ 8
นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว
มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ธรรม 15 อย่าง ต่างโดย
โพชฌงค์และองค์มรรคเหล่านั้น ทรงแสดงไว้ด้วยกรรมจตุกะ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พึงทราบธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา 21 อย่าง กับธรรม 6 อย่าง
เหล่านั้น คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ.
บรรดาธรรมเหล่านั้น โลกุตรมรรคเมื่อจะรวมเป็นพวก ก็ย่อมรวม
กรรม 3 อย่าง มีกายกรรมเป็นต้น. จริงอยู่ การสำรวมจากการประพฤติก้าวล่วง
ความทุศีลทางวาจา พึงทราบว่าเป็นวาจสิกะ สัมมากัมมันตะเป็นกายกรรม
สัมมาวาจาเป็นวจีกรรม เมื่อถือเอากรรมทั้งสองหมวดนี้ สัมมาอาชีวะย่อม

ชื่อว่าเป็นอันถือเอาแล้ว เพราะเป็นพวกแห่งกรรมทั้งสองนั้นทีเดียว. ส่วนการ
สำรวมจากการก้าวล่วงความทุศีลทางใจ พึงทราบว่าเป็น มานสิกะ มานสิกะ
(การสำรวมทางใจ) นั้น มี 5 อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิ สังกัปปะ วายามะ
สติ และสมาธิ มานสิกะแม้ 5 อย่างนี้ ชื่อว่า มโนกรรม โลกุตรมรรค
เมื่อรวมเป็นพวกก็ย่อมรวมกรรม 3 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
ในที่นี้ ชื่อว่า การเทียบเคียงกับทวาร จริงอยู่ กรรมที่ถึงความ
หวั่นไหวในกายทวารและวจีทวารแต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี กรรมที่ถึงความปรากฏ
เป็นไปในมโนทวาร แต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี ท่านจึงถือเอากรรมนั้น ๆ (ที่ไม่เป็น
กรรมบถ) กระทำให้เป็นพวกของทวารนั้น ๆ ทีเดียว. ในเรื่องนั้นมีนัย ดังนี้.
บุคคลใดคิดว่าจักไปล่าเนื้อ จึงจัดแจงธนู ฟั่นเชือก ลับหอกบริโภค
อาหารแล้วนุ่งห่มเสื้อผ้า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ กรรมก็ถึงความหวั่นไหว แล้วใน
กายทวาร. เขาเที่ยวไปในป่าตลอดวันย่อมไม่ได้อะไรโดยที่สุด แม้กระต่ายและ
แมว. ถามว่า อกุศลนี้ ชื่อว่า เป็นกายกรรมหรือไม่ ตอบว่า ไม่เป็น
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ถึงกรรมบถ. แต่พึงทราบว่า กุศลจิตนี้
ชื้อว่า กายทุจริตอย่างเดียว. แม้ในการไปจับปลาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน
แม้ในวจีทวาร บุคคลสั่งว่า เราจักไปล่าเนื้อ พวกเจ้าจงเตรียมธนูเป็นต้น
โดยเร็วเถิด ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรในป่าโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นถึง
ความหวั่นไหวในวจีทวารแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นวจีกรรม. พึงทราบว่า
อกุศลจิตนั้น ชื่อว่า เป็นวจีทุจริตอย่างเดียว. ส่วนในมโนทวาร เมื่อวธก-
เจตนาเพียงเกิดขึ้นเท่านั้นก็ย่อมเป็นอันทำลายกรรมบถทีเดียว. อนึ่ง ประเภท
กรรมบถนั้นย่อมมี ด้วยอำนาจแห่งความพยาบาท มิใช่ด้วยอำนาจแห่งปาณา-
ติบาต จริงอยู่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารและวจีทวาร
ไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็เหมือนกัน. แต่มโนกรรมที่เป็น

อกุศลย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้งสาม. กายกรรม วจีกรรม และมโนทวาร
ที่เป็นกุศลก็เหมือนกัน.
ถามว่า เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร
กรรมย่อมเป็นกายกรรมเท่านั้น แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรม
ที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ก่อน ส่วนอภิชฌา พยาบาท และ
มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นไปฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพ-
โพหาริก (กล่าวอ้างไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี) บ้าง.
แต่เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงไปฆ่าผู้นี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้ กรรมเป็น
กายกรรม สำหรับทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน
วจีทวารอย่างนี้ ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิต
เหล่านั้นเป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำอธิบายที่
เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.
ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน
มโนทวารก็มี อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น ถูกอาจารย์อื่นท้วงว่า ท่านจงนำสูตร
ที่ยกขึ้นในการรวบรวม (สังคายนา) ทั้ง 3 ดังนี้ จึงนำชื่อกุลุมพสูตรนี้มาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญจิต เพ่งดูสัตว์ในเกิดในครรภ์ของหญิงอื่นด้วยใจอันลามกว่า
โอหนอ สัตว์ในครรภ์นี้ อย่าพึงคลอดออกมาด้วยความสวัสดี ดังนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. อาจารย์วิตัณฑ-
วาทีครั้นนำสูตรนี้มาแล้ว จึงกล่าวว่า ก็เพียงแต่คิดเท่านั้น สัตว์เกิดในครรภ์
ของหญิงนั้นก็ย่อมย่อยยับไปเหมือนก้อนฟองน้ำ ในการย่อยยับแห่งครรภ์นี้

มีการไหวส่วนแห่งกายหรือส่วนแห่งวาจาแต่ที่ไหนเล่า ก็กายกรรมที่เป็นอกุศลนี้
ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารทีเดียว ดังนี้.
อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า พวกเราจักพิจารณา
เนื้อความพระสูตรของท่าน ดังนี้ แล้วพากันพิจารณาโดยนัยที่ท่านอาจารย์
วิตัณฑวาทีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวถึงการฆ่าสัตว์อื่นด้วยฤทธิ์ ก็ธรรมดาว่า
ฤทธิ์นั้นมี 10 อย่างคือ อธิษฐานอิทธิ วิกุพพนอิทธิ มโนมยอิทธิ ญาณวิปผาร-
อิทธิ สมาธิวิปผารอิทธิ อริยอิทธิ กัมมวิปากชอิทธิ ปุญญวโตอิทธิ วิชชามย-
อิทธิ ภาวนามยอิทธิ ที่ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะการประกอบโดย
ชอบในคุณนั้น ๆ เป็นปัจจัย บรรดาฤทธิ์เหล่านั้น ท่านกล่าวถึงฤทธิ์อย่างไหน.
ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ภาวนามยอิทธิ. ถามว่า กรรมคือการฆ่าสัตว์อื่นมีได้
ด้วยภาวนามยอิทธิหรือ. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ใช่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
การฆ่าสัตว์อื่นด้วยภาวนามยอิทธินั้นมีได้ครั้งหนึ่ง. เหมือนหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำ
บุคคลประสงค์จะประหารผู้อื่นจึงขว้างไปแล้ว แม้หม้อก็แตก แม้น้ำก็พินาศไป
ฉันใด กรรม คือ การฆ่าผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ ย่อมมีได้ครั้งหนึ่ง ฉันนั้น
เหมือนกัน ต่อจากนั้นไปฤทธิ์นั้นก็เสื่อม.
ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านวิตัณฑวาทีนั้นว่า กรรม คือ
การประหารผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ มิได้มีหนึ่งครั้งสองครั้งเท่านั้น แล้วจึงถาม
ท่านวิตัณฑวาทีซึ่งไม่ดำเนินไปด้วยวาจาตามประกาศให้รู้ว่า ภาวนามยอิทธิเป็น
กุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นอัพยากตะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา เป็นสวีตักกวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร. บุคคลใดรู้ปัญหานี้ บุคคลนั้น
ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ภาวนามยอิทธิย่อมเป็นกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง เป็น
ที่ตั้งของอทุกขมสุขบ้าง เป็นอวิตักกอวิจาร และเป็นรูปาวจรเท่านั้น. อาจารย์

วิตัณฑวาทีนั้นจะพึงถูกผู้อื่นถามว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไปย่อมรวม
เข้ากันได้กับส่วนไหนในบรรดากุศลเป็นต้น. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็ย่อม
บอกว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นอกุศล เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
มีวิตกและวิจารเป็นกามาวจรเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็พึงบอกวิตัณฑวาทีว่า
ปัญหาของท่านไม่สมกับเป็นกุศลติกะ ไม่สมกับเวทนาติกะ ไม่สมกับวิตักกติกะ
ไม่สมกับภุมมันตระ (คือกามาวจรเป็นต้น ). อาจารย์วิตัณฑวาทีจะกล่าวว่า
ก็สูตรใหญ่อย่างนี้ไม่มีประโยชน์หรือ ? พวกอาจารย์พึงตอบว่า มิใช่ ไม่มี
ประโยชน์ แต่ว่าท่านย่อมไม่รู้ประโยชน์ของสูตรนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์
นั้นมีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ. จริงในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาภาวนามยอิทธิ
แต่ประสงค์เอาอาถัพพนิทธิ.
จริงอยู่ อาถัพพนิทธินั้น เมื่อได้ย่อมได้ในคำว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ ถึง
ความชำนาญทางใจนี้ แต่ว่า อาถัพพนิทธินั้น พ้นจากกายทวารและวจีทวาร
แล้วก็ไม่อาจทำได้ เพราะว่า บุคคลผู้ประกอบอาถัพพนิทธิทั้งหลาย ต้อง
บริโภคของไม่เค็ม ปูลาดหญ้าแพรกนอนบนพื้นดิน ประพฤติตบะตลอด 7 วัน
ในวันที่ 7 ตกแต่งพื้นที่ป่าช้า แล้วยืนอยู่ในย่างเท้าที่ 7 ทำให้มือหมุนไปมา
ร่ายมนต์ด้วยปาก ทีนั้นการทำของพวกเขาจึงสำเร็จ ฤทธิ์แม้นี้พ้นจากกายทวาร
และวจีทวารแล้ว ก็ไม่อาจทำได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงถึงความตกลงว่า
กายกรรมย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ดังนี้.
ก็เมื่อบุคคลกล่าวมุสาวาทเป็นต้นด้วยศีรษะและมือ กรรมเป็นวจีกรรม
แต่ทวารเป็นกายทวาร แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารด้วย
ประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตทั้งหลาย
เหล่านั้นย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลทำการ

เปล่งวาจากล่าวมุสาวาทเป็นต้น แม้กรรมก็เป็นวจีกรรม แม้ทวารก็เป็นวจีทวาร
เหมือนกัน วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วน
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง
เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำชี้แจงที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีเพียง
เท่านี้.
ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน
มโนทวารก็ได้. อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นถูกอาจารย์อื่นซักว่า ท่านจงนำสูตรที่
ขึ้นสู่การรวบรวมทั้งสามครั้งมา จึงนำสูตรอุโปสถขันธกะมาว่า ก็ภิกษุใด
เมื่อถูกสวดประกาศถึง 3 ครั้ง ระลึกได้ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอาบัติที่มีอยู่
ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสัมปชานมุสาวาท ดังนี้. ครั้นท่านนำสูตรนี้มาแล้วก็
กล่าวว่า ภิกษุนั้นไม่กระทำให้แจ้งอาบัติอย่างนี้ เป็นผู้นิ่งเฉย ย่อมต้องอาบัติ
อื่น การไหวส่วนแห่งกาย หรือวาจาในที่นี้มีที่ไหน ก็วจีกรรมที่เป็นอกุศล
ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารนั่นแหละ ดังนี้.
อาจารย์ทั้งหลายพึงถามวิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็สูตรที่ท่านกล่าวนี้ มีเนื้อ-
ความที่ควรแนะนำ หรือมีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว อย่างไร ? วิตัณฑวาที
กล่าวว่า สูตรของข้าพเจ้านี้ มีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว ดังนี้ แล้วถูกกล่าวเตือน
ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ พวกเราจักช่วยกันพิจารณาดูเนื้อความของสูตรนั้น
ดังนี้ แล้วพึงถาม อย่างนี้ว่า มีอาบัติอะไรในเพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่อ
อาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็จักบอกว่า เป็นอาบัติทุกกฏในเพราะสัมปชานมุสาวาท
จากนั้นก็พึงถูกกล่าวว่า วินัยมีมูลเหตุสองอย่าง คือ กายและวาจา จริงอยู่
พระสัมมาสัมพุทธะทรงบัญญัติอาบัติทั้งหมดในทวารทั้ง 2 เหล่านี้เท่านั้น ขึ้น
ชื่อว่า การบัญญัติอาบัติ ในมโนทวารย่อมไม่มี ท่านรู้วินัยบัญญัติมากไป

บุคคลใดบัญญัติอาบัติในฐานะอันพระศาสดาไม่บัญญัติไว้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกล่าว
ตู่พระสัมมาสัมพุทธะ ย่อมประหารชินจักร ครั้นถูกข่มด้วยถ้อยคำเป็นต้นอย่างนั้น
แล้วก็พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมตั้งขึ้นเพราะการ
กระทำหรือ หรือว่าเพราะการไม่กระทำ ดังนี้ เมื่อวิตัณฑวาทีทราบอยู่ก็จักท
บอกว่า เพราะการไม่กระทำ จากนั้น ก็พึงบอกท่านว่า ภิกษุผู้ไม่ทำให้แจ้ง
อาบัติย่อมทำกิริยาอย่างไหน ท่านวิตัณฑวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำแน่แท้ก็จัก
ถึงความลำบากใจ ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายพึงให้วิตัณฑวาทีนั้นย่อมจำนน
ด้วยเนื้อความแห่งสูตรนี้. ก็ในสูตรนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้
ถามว่า สัมปชานมุสาวาท ที่ท่านกล่าวว่าเป็นอาบัติ เป็นอาบัติอะไร
คือ เป็นอาบัติประเภทไหน ตอบว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล
ว่าโดยลักษณะแห่งมุสาวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอาบัติซึ่งมีการไม่ทำใน
วจีทวารตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมุฏฐาน สมจริงดังคำที่ตรัส
ไว้ในปริวาร ว่าด้วยเสทโมจนคาถาว่า
ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไร ๆ ไม่เปล่ง
วาจาพูดกับผู้อื่น แต่ต้องอาบัติทางวาจาไม่
ต้องอาบัติทางกาย ปัญหานี้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
คิดกันแล้ว ดังนี้.

ในที่นี้ พึงถึงความตกลงว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่ตั้งขึ้นใน
มโนทวาร ด้วยประการฉะนี้.
ก็แต่ในกาลใด บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอภิชฌายังส่วนแห่งกายให้ไหว
กระทำกิจมีการถือเอาด้วยมือเป็นต้น มีใจสหรคตด้วยพยาบาทมีการถือไม้
เป็นต้น มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ คิดว่า พระขันธกุมาร พระศิวะประเสริฐ

ที่สุด จึงทำกิจมีการอภิวาท อัญชลีกรรมและตกแต่งตั่งน้อยสำหรับภูต เพื่อ
พระศิวะนั้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร
มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เจตนา
ในที่นี้เป็นอัพโพหาริก.
ในกาลใด บุคคลมีใจสหรคตด้วยอภิชฌา ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว
เพ่งดูอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นโดยพูดว่า โอหนอ ของผู้อื่นพึงเป็นของเรา
ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยพยาบาท กล่าวว่า ขอสัตว์เหล่านี้ถูกเบียดเบียน จง
ถูกฆ่า จงขาดสูญ หรือว่า จงอย่าได้มี ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้วไม่มีผล
เป็นต้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวีทวาร มโนกรรม
ย่อมตั้งขึ้นในวจีทวาร ด้วยประการฉะนี้ เจตนาในที่นี้ก็เป็น อัพโพหาริก.
ก็ในกาลใด บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายวาจาให้ไหวนั่งแล้ว ในที่ลับ
ให้จิตทั้งหลายเกิดขึ้นสหรคตด้วยอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ ในกาลนั้น
กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็น
อกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้. ก็ในที่นี้ เจตนาก็ดี ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น มโนกรรมที่เป็นอกุศล
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นโนทวารแม้ทั้ง 3 ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็คำที่ท่านกล่าวว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็น
กุศลก็เหมือนกันนั้น มีนัยดังต่อไปนี้.
จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลไม่สามารกล่าววาจาด้วยเหตุบางอย่าง
ย่อมถือเอาสิกขาบทเหล่านี้ ด้วยมือและศีรษะว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจาก
ปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรม

เป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นกุศลย่อม
ตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น
ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ในกาลใด บุคคลเปล่งวาจารับสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ
ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นกุศล
ย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิต
เหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ในกาลใด เมื่อพระภิกษุให้สิกขาบทเหล่านั้นอยู่ บุคคลไม่ให้ส่วน
แห่งกายและวาจาให้ไหว ย่อมรับเอาด้วยใจเท่านั้นว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจาก
ปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรม
เป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นมโนกรรม กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นใน
มโนทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็น
ฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลรับสิกขาบททั้ง 4 มี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ด้วยกายเป็นต้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ วจีกรรมที่เป็นกุศล บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในทวารทั้ง 3
ดังนี้ แม้ในที่นี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้น ก็ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง
เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ว่า บุคคลยังส่วนแห่งกายให้ไหวไปด้วยจิตอันสหรคต ด้วย
อนภิชฌาเป็นต้น กระทำการปัดกวาดลานพระเจดีย์ ทำการบูชาด้วยของหอม
และดอกไม้เป็นต้น และไหว้พระเจดีย์เป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวาร
เป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ แต่ว่า
เจตนาในที่นี้ เป็นอัพโพหาริกเท่านั้น เมื่อบุคคลมีจิตสหรคตด้วยอนภิชฌา

ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว ไม่เพ่งดูว่า โอหนอ วัตถุเครื่องปลื้มใจของคนอื่น
พึงเป็นของเราดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยอัพยาบาท กล่าวอยู่ว่า สพฺเพ สตฺตา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
ดังนี้ มีจิต
สหรคตด้วยสัมมาทิฏฐิ เปล่งวาจาว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผลเป็นต้น กรรม
เป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นใน
วจีทวารอย่างนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก แต่เมื่อบุคคลไม่ให้กาย
และวาจาไหว นั่งในที่ลับให้จิตเกิดขึ้นสหรคตด้วยอนภิชฌาเป็นต้น ด้วยใจ
เท่านั้น กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรม
ที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ แต่ในฐานะนี้ เจตนาก็ดี ธรรมที่
สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น.
บรรดากรรมและทวารเหล่านั้น บุคคลเมื่อกล่าวว่า เมื่อปาณาติบาต
และอทินนาทานทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยอาณัติ แม้กรรมก็เป็นกายกรรม แม้
ทวารก็เป็นกายทวารด้วยอำนาจแห่งกรรมนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษากรรม
ชื่อว่า ย่อมทำลายทวาร เมื่อกล่าวว่า บรรดามุสาวาทเป็นต้นที่ตั้งขึ้นด้วย
มือและศีรษะ แม้ทวารก็เป็นกายทวาร แม้กรรมก็เป็นกายกรรมด้วยอำนาจ
แห่งทวารนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษาทวาร ชื่อว่า ย่อมทำลายกรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำลายทวารด้วยคิดว่า เราจักรักษากรรม และไม่พึง
ทำลายกรรม ด้วยคิดว่า เราจักรักษาทวาร อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบกรรมและ
ทวารโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ เพราะว่า เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่ทำลายกรรมและทวารดังนี้แล.
จบกถาว่าด้วยกรรม

อธิบายว่าด้วยวิญญาณ 5 เป็นต้น



บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยวิญญาณ 5 และทวารวิญญาณ 5 ต่อไป.

ชื่อว่าวิญญาณ 5 คือ



1. จักขุวิญญาณ
2. โสตวิญญาณ
3. ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ

ชื่อว่าทวารวิญญาณ 5 คือ



1. ทวารแห่งจักขุวิญญาณ
2. ทวารแห่งโสตวิญญาณ
3. ทวารแห่งฆานวิญญาณ
4. ทวารแห่งชิวหาวิญญาณ
5. ทวารแห่งกายวิญญาณ
เจตนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งทวาร 5 เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
ไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนทวารเท่านั้น. แต่ชื่อว่า สัมผัส
เหล่านั้นมี 6 คือ จักขุสัมผัส โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า ทวาร
แห่งสัมผัส
เหล่านี้มี 6 คือ ทวารแห่งจักขุ สัมผัส ทวารแห่งโสต ฆาน ชิวหา
กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า อสังวร 8 เหล่านั้น คือ จักขุอสังวร โสต ฆาน ชิวหา
อสังวร ปสาทกายอสังวร โจปนกายอสังวร วาจาสังวร มโนอสังวร.
อสังวร 8 เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม 5 เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ทุศีล