เมนู

วิญญัติ. จริงอยู่ แม้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายพึงเสียงว่า เจ้าจงมา เจ้าจงไป ดังนี้
ก็รู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้ทำชื่อสิ่งนี้ จึงเดินมาและเดินไป.
ก็วาระนี้ว่า เสียงย่อมยังกายอันมีสมุฏฐาน 3 อย่าง ย่อมให้ไหว
หรือไม่ให้ไหว ดังนี้ ไม่มีในวจีวิญญัตินี้ แม้กิจคือการอุปถัมภ์แห่งเสียง
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานดวงก่อนก็ไม่มี แต่ว่า เจตนาใดที่ให้สำเร็จแม้ในวจีทวาร
นั้น และเจตนาที่เป็นเหตุพูดเท็จ กล่าวส่อเสียด กล่าวคำหยาบ กล่าวเพ้อเจ้อ
เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น นี้ชื่อว่า วจีกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้ บัณฑิต
พึงทราบการกำหนดกรรม การกำหนดทวาร โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั้นแล.
จบ กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม

กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม



ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไป
ใจ 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน
(ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี 89
อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร 54 อย่าง มโนที่เป็นรูปาวจรมี 15 อย่าง
มโนที่เป็นอรูปาวจรมี 12 อย่าง มโนที่เป็นโลกุตรมี 8 อย่าง ในบรรดา
มโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนา
ที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็น
กรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวาร
ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีผู้ท้วงกล่าวว่า ธรรมดาว่า กรรมนี้
ย่อมทำซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อม
ตั้งใจ ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาในปัญจวิญญาณ
ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวมซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา
ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ เจตนาใน
ปัญจวิญญาณแม้นั้น ย่อมประมวล ย่อมตกแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ
ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จสัมปยุตขันธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. อีกอย่างหนึ่ง มี
ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวถึงข้อนี้ เพราะท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ด้วยสามารถ
แห่งการรวบรวมมโน (ใจ) ไว้ทั้งหมด ก็ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีคำ
สันนิษฐานดังนี้ มโน 29 อย่าง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอกุศลอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม แต่เจตนาใดที่ให้สำเร็จในมโนทวารนั้น
ย่อมถือเอาซึ่งอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทัสสนะและความไม่มีอภิชฌา ไม่พยา-
บาท และสัมมาทัสสนะด้วยเจตนาใด นี้ชื่อว่า มโนกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้
บัณฑิตพึงทราบการกำหนดกรรมและการกำหนดทวารทั้งหมด โดยนัยที่กล่าว
ไว้ในหนหลังนั่นแหละ ดังนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม

กถาว่าด้วยกรรม 3

*

ชื่อว่า ทวารแห่งกรรม 3 เหล่านี้ บัดนี้ จะกล่าวถ้อยคำพิสดารการ
ตั้งมาติกาในกถาว่าด้วยทวารที่กล่าวค้างไว้ ตั้งแต่กรรม 3 ตามที่ได้แสดง
ทวารแห่งกรรมเหล่านั้นแล้ว เว้นกรรม 3 เหล่านั้นไว้. จริงอยู่ กรรม 3 คือ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ถามว่า ชื่อว่า กรรม นี้ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบว่า ได้แก่ เจตนา และธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาบางอย่าง บรรดาธรรม
ทั้งสองเหล่านั้น ความที่เจตนาเป็นกรรม มีพระสูตรเหล่านั้นกล่าวไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว
จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (และคำว่า) ดูก่อนอานนท์ จริงอยู่
เมื่อกายมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา
เป็นเหตุ (เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ) ดูก่อนอานนท์ หรือเมื่อวาจามีอยู่
ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ ดูก่อน
อานนท์ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ
มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ (และคำว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา 3 อย่าง
เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา 4
อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนสัญเจตนา 3
อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก (และคำว่า)
ดูก่อนอานนท์ ถ้าโมฆบุรุษ ชื่อว่า สมิทธิ นี้ถูกปาฏลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านปาฏลิบุตร ท่านกระทำกรรมเนื่องด้วยสัญ-
เจตนา ย่อมเสวยสุขเนื่องด้วยสุขเวทนา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ฯลฯ
* กถานี้เป็นลำดับแรกแต่ท่านแสดงไว้ที่ 2