เมนู

วิญญัติ. จริงอยู่ แม้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายพึงเสียงว่า เจ้าจงมา เจ้าจงไป ดังนี้
ก็รู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้ทำชื่อสิ่งนี้ จึงเดินมาและเดินไป.
ก็วาระนี้ว่า เสียงย่อมยังกายอันมีสมุฏฐาน 3 อย่าง ย่อมให้ไหว
หรือไม่ให้ไหว ดังนี้ ไม่มีในวจีวิญญัตินี้ แม้กิจคือการอุปถัมภ์แห่งเสียง
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานดวงก่อนก็ไม่มี แต่ว่า เจตนาใดที่ให้สำเร็จแม้ในวจีทวาร
นั้น และเจตนาที่เป็นเหตุพูดเท็จ กล่าวส่อเสียด กล่าวคำหยาบ กล่าวเพ้อเจ้อ
เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น นี้ชื่อว่า วจีกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้ บัณฑิต
พึงทราบการกำหนดกรรม การกำหนดทวาร โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั้นแล.
จบ กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม

กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม



ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไป
ใจ 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน
(ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี 89
อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร 54 อย่าง มโนที่เป็นรูปาวจรมี 15 อย่าง
มโนที่เป็นอรูปาวจรมี 12 อย่าง มโนที่เป็นโลกุตรมี 8 อย่าง ในบรรดา
มโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนา
ที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็น
กรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวาร
ฉันนั้นเหมือนกัน.