เมนู

รมณ์. สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยจีวร นี้เป็นธรรมารมณ์. รสารมณ์ บัณฑิต
ย่อมได้ในบิณฑิตโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ทีเดียว. บัณฑิตทำการประกอบ
จิตในปัจจัย ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ต่าง ๆ อย่างนี้แล้วพึงทราบความต่างกัน
แห่งจิตที่เป็นทานมัยเป็นต้น. อนึ่ง อารมณ์เป็นสภาวะผูกพันจิตนี้ เป็น
อารมณ์แล้ว จิตก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนทวารไม่ผูกพันจิตไว้ ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะกรรมเป็นสภาพไม่ผูกพัน. จริงอยู่ เมื่อกรรมไม่ผูกพันจิตไว้
แม้ทวาร ก็ชื่อว่าไม่ผูกพันเหมือนกัน.

กามาวจรกุศลและทวารกถา



ว่าด้วยกายกรรมและทวาร



ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้ ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวทวารกถาไว้ใน
ฐานะนี้. ในทวารกถานั้น ชื่อการตั้งมาติกาในทวารกถานี้มีประมาณเท่านี้ คือ
กรรม 3
ทวารแห่งกรรม 3
วิญญาณ 5
ทวารวิญญาณ 5
ผัสสะ 6
ทวารผัสสะ 6
อสังวร 8
ทวารแห่งอสังวร 8

สังวร 8
ทวารแห่งสังวร 8
อกุศลกรรมบถ 10
กุศลกรรมบถ 10

ในการตั้งมาติกาเหล่านั้น กรรม 3 อย่าง ท่านกล่าวไว้ก่อนแม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้นท่านก็เว้นกรรม 3 เหล่านั้น แล้วแสดงจำแนกทวารแห่งกรรม 3
โดยความเป็นเบื้องต้นก่อน.
ถามว่า ทวารแห่งกรรม 3 เป็นไฉน ?
ตอบว่า ทวารแห่งกายกรรม ทวารแห่งวจีกรรม ทวารแห่งมโนกรรม.
ในทวารแห่งกายกรรมนั้น กายมี 4 อย่าง คือ อุปาทินนกกาย (กาย
ที่มีใจครอง) 1. อาหารสมุฏฐานกาย 1 อุตุสมุฏฐานกาย 1 จิตตสมุฏฐานกาย 1
บรรดากาย 4 เหล่านั้น รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน 8 คือ มีจักขายตนะเป็นต้น*
มีชีวิตินทรีย์เป็นที่สุดก็ดี รูป 8 คือ ธาตุ 4 วรรณะ คันธะ รสะ โอชา
ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ดี ชื่อว่า อุปทินนกกาย.
รูป 8 เหล่านั้นนั่นแหละเกิดแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐานิกกาย
รูป 8 เกิดแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐานนิกกาย. รูป 8 เกิดแต่จิต ชื่อว่า
จิตตสมุฏฐานิกกาย.
ในบรรดาอุปาทินนกายเป็นต้นเหล่านั้น คำว่า ทวารแห่งกายกรรม
มิได้เป็นชื่อของอุปาทินนกกาย มิได้เป็นชื่อของกายนอกนี้ แต่ในรูป 8 มีจิต
เป็นสมุฏฐาน มีวิญญัติรูปหนึ่ง รูปนี้ ชื่อว่า ทวารแห่งกายกรรม ตามที่
ท่านกล่าวไว้ว่า รูปที่ชื่อว่า กายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ? ความเคร่งตึง
* จักขุโสตฆานชิวหากายอิตถิปุริสชีวิตินทรียรูป.

ความเคร่งตึงด้วยดี กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี การเคลื่อนไหวกายให้รู้ความหมาย
กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ให้ผู้อื่นรู้ความหมายของกายของผู้มีจิตเป็น
กุศล หรือผู้มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ หรือผู้ก้าวไปข้างหน้า
หรือถอยกลับ หรือแลดูข้างหน้า หรือเหลียวดูซ้ายขวา หรือเหยียด หรือ
คู้แขน อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า กายวิญญัติ.
จริงอยู่ จิตที่เกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไปข้างหน้า จักถอยกลับ ดังนี้
ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น ในขณะแห่งจิตที่เกิดขึ้นนั้น วาโยธาตุมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ในภายในแห่งรูปกลาปทั้ง 8 เหล่านี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ ซึ่งอาศัยธาตุทั้ง 4 นั้น ย่อมค้ำจุน
ทรงไว้ ยังรูปกายที่เกิดพร้อมกับตนนั้นให้เคลื่อนไหว ให้ก้าวไปข้างหน้า
ให้ถอยกลับ.
ในบรรดารูปกลาป 8 เหล่านั้น วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแรกใน
บรรดาชวนจิต 7 ดวง ในอาวัชชนวิถีหนึ่ง ย่อมสามารถค้ำจุน ดำรงไว้ซึ่ง
รูปกายที่เกิดพร้อมกับตนได้ แต่ไม่อาจให้เคลื่อนไหวไปมา แม้ในชวนจิต
ดวงที่ 2 เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ส่วนวาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิตด้วยที่ 7
ได้วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิต 6 ดวงเบื้องต้น เป็นปัจจัยอุปถัมภ์แล้ว ย่อม
สามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงไว้ เพื่อยังรูปที่เกิดพร้อมกับตนให้เคลื่อนไหว
ให้ก้าวไปข้างหน้า ให้ถอยกลับ ให้แลดู ให้เหลียวซ้ายแลขวา ให้คู้เข้า
ให้เหยียดออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เกิดการเดินไปเกิดการเดินมา ชื่อว่า
เกิดการเดินไปเดินมา คือ ย่อมถึงคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ไปได้โยชน์หนึ่ง
ไปได้ 10 โยชน์ ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า เมื่อเกวียนที่พึงลากไปด้วยแอก 7 แอก โคที่เทียม
แล้วในแอกคู่แรก ย่อมสามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงแอกไว้ได้ก่อน แต่ไม่
อาจให้ล้อหมุนไป แม้ในคู่ที่ 2 เป็นต้นก็เหมือนกัน แต่ว่าในกาลใด สารถี
ผู้ฉลาดเทียมคู่โคที่ 7 ที่แอกนั่งที่ทูบเกวียน ถือเชือกแล้วเอาปลายปฏักกระตุ้น
คู่โคจำเดิมแต่โคคู่แรกทั้งหมด ในกาลนั้น คู่โคทั้งหมดทีเดียวก็รวมกำลังกัน
ทรงแอกและให้ล้อหมุนไป ย่อมถึงคำอันบุคคลพึงพูดได้ว่า โคพาเกวียนไปได้
10 โยชน์ พาไป 20 โยชน์ ฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้
บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น.
ในบรรดากาย 4 เหล่านั้น กายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่วิญญัติ
แต่วิการแห่งอาการหนึ่งที่สามารถเพื่อเป็นปัจจัย เพื่อให้ค้ำจุน ทรงไว้ซึ่งรูปกาย
ที่เกิดพร้อมกับวาโยธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้ไหวได้ นี้ชื่อว่า วิญญัติ.
วิญญัตินั้นไม่ใช่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนรูป 8 อย่าง. เหมือนอย่างคำมีอาทิ
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะ ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ เพราะ
ความที่ธรรมทั้งหลายมีประเภทที่ไม่เที่ยงเป็นต้นต้องแก่และตาย ฉันใด วิญญัติ
แม้นั้น ชื่อว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะความที่รูปทั้งหลายมีจิตเป็นสมุฏฐาน
เป็นสภาพประกาศให้รู้ ฉันนั้น.
ก็วิญญัตินั้น เรียกว่า วิญญัติ เพราะประกาศให้รู้. ประกาศให้รู้
อะไร ? ประกาศให้รู้ทางกายอย่างหนึ่ง จริงอยู่ บุคคลยืนอยู่ในคลองแห่งจักษุ
ย่อมยกมือหรือเท้า สั่นศีรษะหรือยักคิ้ว อาการของมือเป็นต้นนี้ เป็นการให้
รู้ได้ด้วยจักษุ แม้วิญญัติก็ไม่รู้ได้ด้วยตาแต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น เพราะว่า
บุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์ เป็นไปต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งการเคลื่อนไหว
มือเป็นต้น แต่ว่า บุคคลคิดถึงรูปที่ประกาศให้รู้ ด้วยจิตทางมโนทวารแล้ว
จึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทำสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า พวกมนุษย์ให้ผูกใบตาลเป็นต้นที่ยอดต้นไม้ในสถาน
ที่มีน้ำในฤดูแล้งในป่า โดยประสงค์ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ซึ่งความที่น้ำมีอยู่ในที่นี้
ด้วยสัญญานี้ หรือชักธงขึ้นที่ประตูร้านสุรา หรือว่า ลมพัดต้นไม้สูงให้หวั่นไหว
หรือว่า เมื่อปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ฟองน้ำก็ผุดขึ้นข้างบน หรือเศษหญ้าและ
ใบไม้ที่ถูกน้ำซัดไปติดอยู่ที่ทางไปของห้วงน้ำใหญ่ ในกาลใด บุคคลเห็นใบตาล
ธง กิ่งไม้ ฟองน้ำ เศษหญ้าและใบไม้ แม้ไม่เห็นด้วยตาแต่ก็ย่อมรู้ด้วย
มโนวิญญาณว่า ในที่นี้น้ำจักมี สุราจักมี ต้นไม้นี้ถูกลมพัด ปลาจักมีภายในน้ำ
ห้วงน้ำจักไหลท่วมที่มีประมาณเท่านี้ ฉันใด แม้วิญญัติ ก็ฉันนั้น ไม่รู้ด้วยตา
รู้ได้ด้วยใจ เพราะว่า บุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์เคลื่อนไหวไปมา ด้วย
อำนาจแห่งการยกมือเป็นต้นด้วยตาเท่านั้น แต่เขาคิดด้วยจิตทางมโนทวาร
จึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทำอย่างนี้ ๆ.
ก็วิญญัตินี้ ชื่อว่า วิญญัติ เพราะการประกาศให้รู้อย่างเดียวก็หาไม่
ที่แท้แล้ว ชื่อว่า วิญญัติ เพราะควรรู้ก็มีทีเดียว. เพราะว่า วิญญัตินี้ย่อม
ปรากฏแก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น โดยที่สุดแม้แก่สัตว์เดรัจฉานบ้าง. จริงอยู่
สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมีสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก กา โคเป็นต้น ที่ประชุมกันใน
ที่นั้น เมื่อบุคคลจับท่อนไม้ หรือก้อนดินแสดงอาการขว้างป่า สัตว์นี้ก็รู้ว่า
เขาต้องประหารพวกเรา ย่อมหนีไปที่ใดที่หนึ่ง แต่เมื่อบุคคลอื่นอยู่ในภายใน
กำแพงและฝาเรือนเป็นต้น เวลานั้นก็เป็นเวลาที่รูปไม่ปรากฏ ในขณะนั้นรูป
ไม่ปรากฏแก่เขา ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า วิญญัตินั่นแหละ เพราะเป็นธรรมชาติ
ปรากฏแก่ผู้อยู่เฉพาะหน้า.
ถามว่า เมื่อกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานกำลังไหว กายที่มีสมุฏฐาน 3
ย่อมไหวไปด้วย หรือไม่ไหวไป.

ตอบว่า กายมีสมุฏฐาน 3 แม้นั้นก็ไหวไปเหมือนกัน.
กายที่มีสมุฏฐาน 3 นั้น มีคติเหมือนกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คล้อย
ตามกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยแท้. เหมือนอย่างว่า เมื่อน้ำกำลังไหลไปอยู่
แม้เศษไม้แห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งเป็นต้นที่ตกไปสู่น้ำ ก็ย่อมไหลไปตามน้ำ
(มีคติอย่างน้ำ) ทีเดียว คือ เมื่อน้ำไหลไป เศษไม้แห้งเป็นต้น ก็ย่อมลอยไป
เมื่อน้ำหยุด เศษไม้แห้งเป็นต้นนั้นก็หยุด ฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมย
ให้ถึงพร้อมนี้บัณฑิตพึงทราบ ฉันนั้น วิญญัติในรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
แม้นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อ ทวารแห่งกายธรรม ด้วยประการฉะนี้.
ก็เจตนาที่ให้สำเร็จในทวารนั้นเป็นเหตุให้บุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร งดเว้นจากปาณาติบาต ข้อนี้ชื่อว่า
กายกรรม. เมื่อปรวาทีมีอยู่อย่างนี้ บัณฑิตก็พึงดำรงไว้ด้วยนัยแห่งคำว่า กาย
เป็นทวาร
เจตนาที่สำเร็จในทวารนั้นเป็นกายกรรม คือ เป็นกุศล หรือว่า
เป็นอกุศล ดังนี้. แต่เมื่อปรวาทีไม่มี ก็พึงดำรงติกะว่า กายกรรมเป็นกุศล
หรือกุศล หรืออัพยากตะ ดังนี้ให้บริบูรณ์ ในข้อนั้น เปรียบเหมือนประตู
พระนคร ย่อมตั้งไว้ในที่ที่เขาสร้างไว้แล้ว ย่อมไม่เลื่อนไปเลื่อนมาแม้สักองคุลี
ก็มหาชนย่อมสัญจรไปทางประตูนั้น ๆ ฉันใด ทวารก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะ
เที่ยวไปหาได้ไม่ ส่วนกรรมย่อมเที่ยวไปโดยการเกิดขึ้นในทวารนั้น ๆ ด้วย
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
ทฺวาเร จรนฺติ กมฺมานิ น ทฺวารา ทฺวารจาริโน
ตสฺมา ทฺวาเรหิ กมฺมานิ อญฺญมญฺญํ ววฏฺฐิตา.

กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร
ทวารทั้งหลายไม่เที่ยวไปกับทวารทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกำหนดกรรมทั้งหลาย
กับทวารทั้งหลายไว้ด้วยกัน.

ในคาถานั้น อธิบายว่า ทวารย่อมได้ชื่อตามกรรม แม้กรรมก็ได้ชื่อ
ตามทวาร. เหมือนอย่างว่า ที่เป็นที่เกิดแห่งวิญญาณเป็นต้น ย่อมได้
ชื่อว่า ทวารแห่งวิญญาณ ทวารแห่งผัสสะ ทวารแห่งความไม่สำรวม
ทวารแห่งความสำรวม ดังนี้ ฉันใด ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกายกรรม ก็ได้ชื่อว่า
ทวารแห่งกายกรรม ฉันนั้น. แม้ในทวารแห่งวจีกรรมและมโนกรรม
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น ๆ ย่อมได้ชื่อตามต้นไม้นั้น ๆ ว่า
เทวดาไม้งิ้ว (สิมฺพลิเทวตา) เทวดาใบไม้เหลือง (ปลาสเทวตา) เทวดา
ต้นสะเดา (ปุจิมนฺททวตา) เทวดาไม้สะคร้อ ฉันใด แม้กรรมที่บุคคลทำแล้ว
ด้วยกายทวาร ย่อมได้ชื่อตามทวารว่า กายกรรม ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้ใน
วจีกรรมและมโนกรรมก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบรรดากายและกรรมนั้น กายก็
เป็นอย่างหนึ่ง กรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ท่านเรียกกายและกรรมนั้นว่า
กายกรรม เพราะความที่กรรมนั้นกระทำด้วยกาย ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถา-
จารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
หากกรรมกระทำด้วยกาย เรียกว่า
กายกรรม กายและกายกรรม ท่านก็กำหนด
ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยเข็ม เรียกว่า
สุจิกรรม เข็มและสุจิกรรม ท่านก็กำหนด
ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยมีด เรียกว่า
วาสิกรรม มีดและวาสิกรรม ท่านก็กำหนด

ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยบุรุษ
เรียกว่า ปุริสกรรม บุรุษและปุริสกรรม
ท่านก็กำหนดไว้ด้วยกัน ฉันใด หากกรรม
กระทำด้วยกาย ก็เรียกว่ากายกรรม กาย
และกายกรรม ท่านกำหนดไว้ด้วยกัน ฉันนั้น
เหมือนกัน.

ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น การกำหนดเฉพาะทวารก็ไม่ถูก การ
กำหนดเฉพาะกรรมก็ไม่ถูก ถามว่า ไม่ถูกอย่างไร ตอบว่า เพราะบาลีว่า
ทฺวาเร จรนฺติ กมฺมานิ (กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร) แม้วจีกรรม
ก็ย่อมเป็นไปในกายวิญญัติ เพราะฉะนั้น การกำหนดวจีวิญญัตินั้นว่า
ทวารแห่งกายกรรมดังนี้ก็ไม่ถูก ทั้งกายกรรมก็ย่อมเป็นไป แม้ในวจีวิญญัติ
เพราะเหตุนั้น การกำหนดวจีวิญญัตินั้นว่า กายกรรมก็ไม่ถูก. การกำหนด
อย่างนั้นมิใช่ไม่ถูก เพราะเหตุไร เพราะความเป็นไปโดยมาก และเพราะ
เป็นไปมากในทวารนั้น. จริงอยู่ กายกรรมเท่านั้น ย่อมเป็นไปโดยมากในกาย-
วิญญัติ วจีกรรมนอกนี้ไม่เป็นไปโดยมาก เพราะฉะนั้น ความที่กายวิญญัตินี้
เป็นทวารแห่งกายกรรมสำเร็จแล้วเป็นไปโดยมากแห่งกายกรรม เปรียบเหมือน
บ้านพราหมณ์ สวนมะม่วง และไม้กากะทิงเป็นต้น ชื่อว่า บ้านพราหมณ์
เป็นต้น เพราะฉะนั้น การกำหนดทวารจึงถูก เพราะกายกรรมย่อมเป็นไปมาก
ในกายทวารทีเดียว ส่วนในวจีทวารเป็นไปน้อย ฉะนั้น การที่ทวารนี้เป็น
กายกรรมสำเร็จเป็นไปมากในกายทวาร เปรียบเหมือนโคจรของนายพรานป่า
และกุมาริกาอ้วนเป็นต้น ชื่อว่า นายพรานป่าเป็นต้น ฉะนั้น แม้การ
กำหนดกรรมจึงถูกต้อง ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยทวารแห่งกายกรรม

กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม



ก็ในกถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม ชื่อว่า วาจา มี 3 อย่าง คือ
เจตนา วิรติ สัททะ (เสียง) บรรดาวาจา 3 อย่างเหล่านั้น วาจานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ เหล่านั้น เป็นวาจาสุภาษิต มิใช่
วาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ เป็นวาจาที่ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน ดังนี้
ชื่อว่า เจตนาวาจา. วาจานี้ว่า การงด การเว้น จากวจีทุจริต 4 ฯลฯ อันใด
นี้ตรัสเรียกว่า สัมมาวาจา ดังนี้ ชื่อว่า วิรติวาจา. วาจานี้ว่า จริงอยู่
วาจาที่เปล่ง คลองแห่งคำ การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง ทำเสียงให้กึกก้อง วาจา
การเปล่งวาจา ดังนี้ ชื่อว่า สัททวาจา.
บรรดาวาจาทั้ง 3 เหล่านั้น คำว่า วจีกรรมทวาร มิใช่เป็นชื่อของ
เจตนามิใช่เป็นชื่อของวิรติ แต่ว่า วิญญัติอย่างหนึ่งซึ่งมีเสียงร่วมด้วยมีอยู่ นี้ชื่อ
ว่า ทวารแห่งวจีกรรม. วจีทวารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
รูปที่เป็นวจีวิญญัตินั้น เป็นไฉน ? การพูด การเปล่งออก คลองแห่งวาจา
การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง การทำเสียงให้กึกก้อง วาจา การเปล่งวาจา แห่ง
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ อันใด
ดังนี้ นี้เรียกว่า วาจา. วิญญัติ การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้
ความหมายทางวาจา อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า วจีวิญญัติ.
จริงอยู่ เมื่อเราตรึกว่า เราจักกล่าวคำนี้ เราจักกล่าวคำนั้น ชื่อว่า
เสียงอันแผ่ไปด้วยวิตก ย่อมเกิดขึ้น. วาทะนี้มาในมหาอรรถกถาว่า เสียงนี้
มิได้รู้ได้ด้วยโสตะ รู้ได้ด้วยใจ ดังนี้ แต่ในอรรถกถาที่มาทั้งหลาย อธิบาย