เมนู

ยมกปกรณ์



ในลำดับต่อจากกถาวัตถุปกรณ์นั้น ชื่อว่า ยมกปกรณ์ ทรงจำแนก
ไว้ 10 อย่าง คือ
1. มูลยมก
2. ขันธยมก
3. อายตนยมก
4. ธาตุยมก
5. สัจจยมก
6. สังขารยมก
7. อนุสสยยมก
8. จิตตยมก
9. ธรรมยมก
10. อินทริยยมก
ยมกปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณ 120 ภาณวาร
เมื่อว่าโดยพิสดาร ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

มหาปกรณ์



ในลำดับแห่งยมกปกรณ์นั้น ชื่อว่า มหาปกรณ์ แม้คำว่า ปัฏฐาน
ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมหาปกรณ์นั้นนั่นแหละ มหาปกรณ์นั้น เบื้องต้นทรง
จำแนกไว้ 24 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย คือ
1. เหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย)
2. อารัมมณปัจจัย (อารมณ์เป็นปัจจัย)
3. อธิปติปัจจัย (อธิบดีเป็นปัจจัย)

4. อนันตรปัจจัย (อนันตรธรรมเป็นปัจจัย)
5. สมนันตรปัจจัย (สมนันตรธรรมเป็นปัจจัย)
6. สหชาตปัจจัย (สหชาตธรรมเป็นปัจจัย)
7. อัญญมัญญปัจจัย (อัญญมัญญธรรมเป็นปัจจัย)
8. นิสสยปัจจัย (นิสสยธรรมเป็นปัจจัย)
9. อุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยธรรมเป็นปัจจัย)
10. ปุเรชาตปัจจัย (ปุเรชาตธรรมเป็นปัจจัย)
11. ปัจฉาชาตปัจจัย (ปัจฉาชาตธรรมเป็นปัจจัย)
12. อาเสวนปัจจัย (อาเสวนธรรมเป็นปัจจัย)
13. กัมมปัจจัย (กรรมเป็นปัจจัย)
14. วิปากปัจจัย (วิบากเป็นปัจจัย)
15. อาหารปัจจัย (อาหารเป็นปัจจัย)
16. อินทริยปัจจัย (อินทรีย์เป็นปัจจัย)
17. ฌานปัจจัย (ฌานเป็นปัจจัย)
18. มัคคปัจจัย (มรรคเป็นปัจจัย)
19. สัมปยุตตปัจจัย (สัมปยุตธรรมเป็นปัจจัย)
20. วิปปยุตปัจจัย (วิปยุตธรรมเป็นปัจจัย)
21. อัตถิปัจจัย (อัตถิธรรมเป็นปัจจัย)
22. นัตถิปัจจัย (นัตถิธรรมเป็นปัจจัย)
23. วิคตปัจจัย (วิคตธรรมเป็นปัจจัย)
24. อวิคตปัจจัย (อวิคตธรรมเป็นปัจจัย)

ก็ในฐานะนี้ พึงประมวลมาซึ่งปัฏฐาน จริงอยู่ ติกะ 22 มีกุศลติกะ
เป็นต้น ทุกะ 100 เหล่านี้ คือ เหตุธมฺมา น เหตุธมฺมา... ฯลฯ...
สรณาธฺมมา อสรณาธมฺมา
ทุกะแม้อื่นอีก ชื่อว่า สุตตันตทุกะ 42 คือ
วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา... ฯลฯ ... ขเย ญาณํ
อนุปฺปาเท ญาณํ.

บรรดาติกะและทุกะเหล่านั้น ธรรมนี้คือ ติกะ 22 ทุกะ 100 ชื่อว่า
มาติกาแห่งปกรณ์ทั้ง 7 เป็นพุทธพจน์อันพระชินเจ้าตรัสภาษิตไว้ คือเป็น
ธรรมอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระสัพพัญญุตญาณแสดงแล้ว.
มีคำถามสอดมาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ทุกะ 42 อื่นอีกมาจากไหน ?
ใครตั้งไว้ ? ใครเป็นผู้แสดง ?
ตอบว่า มาจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระธรรมเสนาบดีนั้น
ตั้งไว้ พระธรรมเสนาบดีนั้นแสดงไว้
ก็พระเถระเมื่อตั้งธรรมเหล่านี้ หาได้ตั้งไว้โดยการยกขึ้นแสดงเอง คือ
ด้วยปรีชาญาณของตนไม่ แต่พระเถระได้ประมวลเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งด้วยทสุตตร-
สูตรในสังคีติ มีเอกนิบาตเป็นต้นตั้งไว้เพื่อพระเถระผู้ชำนาญอภิธรรม ผู้ถึง
พระสูตรแล้วจะไม่ลำบาก
ก็ทุกะเหล่านั้น จำแนกให้ถึงที่สุดไว้นิกเขปกัณฑ์หนึ่ง ในฐานะที่เหลือ
ท่านจำแนกอภิธรรมไว้จนถึงสรณทุกะ จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ธรรมชื่อติกปัฏฐาน เพราะอาศัยติกะ 22 ในอนุโลมปัฏฐาน ทรงแสดงธรรม
ชื่อว่าทุกปัฏฐานเพราะอาศัยทุกะ 100 ที่สำเร็จแล้ว เบื้องหน้าแต่นี้ก็ถือเอา
ติกะ 22 รวมทุกะ 100 แสดงธรรมชื่อว่า ทุกติกปัฏฐาน จากนั้นก็ถือเอาทุกะ
100 รวมในติกะ 22 แสดงธรรมชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน แต่นั้นทรงรวมติกะ

ทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลายนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า ติกติกปัฏฐาน และ
ทรงรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า
ทุกทุกปัฏฐาน (พระบาลีว่า)
ติกญฺจ ปฏฐานวรํ ทุกุตฺตมํ
ทุกติกญฺเจว ติกทุกญฺจ
ติกติกญฺเจว ทุกทุกญฺจ
ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา
.
นัยทั้ง 6 อันสขุมลึกซึ้งในธรรม
อนุโลม อย่างนี้ คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ 1 ทุกปัฏฐานอันสูงสุด 1
ทุกติกปัฏฐาน 1 ติกทุกปัฏฐาน 1
ติกติกปัฏฐาน 1 ทุกทุกปัฏฐาน 1.

แม้ในธรรมปัจจนียปัฏฐาน ก็ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะอาศัยติกะ
22 ชื่อว่าทุกปัฏฐาน เพราะอาศัยทุกะ 100 ชื่อว่าทุกติกปัฏฐาน เพราะรวม
ติกะ 22 เข้าในทุกะ 100 ชื่อว่าติกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะ 100 เข้าใน
ติกะ 22 ชื่อว่าติกติกปัฏฐาน เพราะรวมติกะทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลาย
นั่นแหละ ชื่อว่าทุกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลาย
ดังนี้.
แม้ในปัจจนียปัฏฐานก็ทรงแสดงปัฏฐานโดยนัยทั้ง 6 เพราะเหตุนั้น
พระสังคีติการกมหาเถระ จึงกล่าวไว้ว่า
นัยทั้ง 6 อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม
ปัจจนิยะ คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ 1
ฯ ล ฯ

ทุกทุกปัฏฐาน 1.



ในลำดับต่อจากนั้นก็ทรงแสดงแม้ในธรรมปัจจนียานุโลมโดยนัยทั้ง 6
เหล่านี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
นัยทั้ง 6 อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม
ปัจจยานียานุโลม คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ 1
ฯ ล ฯ
ทุกทุกปัฏฐาน 1.


ว่าด้วยสมันตปัฏฐาน 24



ปัฏฐานที่ประชุมสมันตปัฏฐาน 24 เหล่านี้ คือ ปัฏฐาน 6 ใน
ธรรมอันโลม ปัฏฐาน 6 ในธรรมปฏิโลม ปัฏฐาน 6 ในธรรมอนุโลมปัจจนีย-
ปัฏฐาน 6 ในธรรมปัจจนิยานุโลม ชื่อว่า มหาปกรณ์ (ปกรณ์ใหญ่).

ว่าด้วยการเปรียบกับสาคร



บัดนี้ เพื่อการรู้แจ้งถึงความที่พระอภิธรรมนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง พึง
ทราบสาคร (ทะเล) 4 คือ
1. สังสารสาคร (สาคร คือ สงสาร)
2. ชลสาคร (สาคร คือ น้ำมหาสมุทร)
3. นยสาคร (สาคร คือ นัย)
4. ญาณสาคร (สาคร คือ พระญาณ)
บรรดาสาครทั้ง 4 นั้น ชื่อว่า สังสารสาคร คือ สังสารวัฏที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ
อพฺโภจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ