เมนู

ตอบว่า ท่านกล่าวมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสในกามาจรทั้งหลาย
ที่เป็นติเหตุกญาณสัมปยุต เป็นอสังขาริก.
จริงอยู่ ทรงถือเอากุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ 4 ด้วย คำถามที่มิได้กำหนด
แน่นอนว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ดังนี้ ด้วยพระบาลีว่า กามาวจรํ
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ
(กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว) ดังนี้ ทรงเว้น
กุศลจิตเป็นไปในภูมิ 3 ทรงถือเอากามาวจรกุศลจิต 8 ดวงเท่านั้น. พระบาลีว่า
โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้ ทรงเว้นอุเบกขาสหรคต 4 อย่าง จากกามาวจรกุศลจิต
นั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะโสมนัสสสหคตจิตเฉพาะ 4 อย่าง ด้วย
พระบาลีว่า ญาณสมฺปยุตฺตํ ดังนี้ ทรงเว้นจิตที่เป็นญาณวิปปยุต 2 ดวง
จากจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตนั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะจิตที่เป็นญาณ
สัมปยุต 2 ดวงเท่านั้น. ส่วนความที่จิตเป็นอสังขาริกมิได้ทรงถือเอา เพราะ
ความที่จิตเป็นอสังขาริกนั้นมิได้ตรัสไว้ แม้มิได้ทรงถือเอาความที่จิตเป็นอสัง-
ขาริกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า สสงฺขาเรน ข้างหน้าแม้จะ
มิได้ตรัสว่า อสงฺขาเรน ไว้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบความที่จิตเป็นอสังขาริก
เพราะได้ทรงกำหนดเพื่อแสดงมหาจิตนี้ตั้งแต่ต้นทีเดียว จึงทรงเริ่มเทศนานี้
ดังนี้ ในข้อนี้ พึงทราบว่าท่านทำความสันนิษฐานไว้อย่างนี้.

อธิบายคำว่าอารมณ์



บัดนี้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละโดยอารมณ์ จึงตรัสคำว่า รูปารมฺมณํ
วา
เป็นต้น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อแสดงอรูปธรรมทั้งหลายย่อมทรงแสดง
ด้วยวัตถุ หรือด้วยอารมณ์ หรือวัตถุและอารมณ์ หรือว่าด้วยภาวะพร้อมทั้ง
รส. อรูปธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงด้วยวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า จักขุสัมผัส

ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส
จักขุวิญญาณ ฯสฯ มโนวิญญาณดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลายด้วยอารมณ์
ดังในประโยคมีอาทิว่า รูปสญฺญา ฯเปฯ ธมฺมสญฺญา รูปสญฺเจตนา
ฯเปฯ ธมฺมสญฺเจตนา
ดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ทั้งวัตถุ
และอารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า. จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุ
และรูป ผัสสะ คือ การประชุมธรรมทั้ง 3 ฯลฯ มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ผัสสะคือการประชุมแห่ง ธรรมทั้ง 3 ดังนี้.
ทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ด้วยภาวะพร้อมทั้งรส ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงเกิดขึ้น ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงในฐานะนี้ด้วยอารมณ์จึง
ตรัสคำว่า รูปารมฺมณํ วา เป็นต้น.
บรรดาธรรมที่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นต้นนั้น รูปมีสมุฏฐาน 4 ที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า รูปารมณ์. เสียงมีสมุฏฐาน 2
ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่าสัททารมณ์. คันธะมีสมุฏฐาน 4
ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า คันธารมณ์. รสนั่นแหละมี
สมุฏฐาน 4 ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน เรียกว่า รสารมณ์. โผฏฐัพพะ
นั่นแหละมีสมุฏฐาน 4 ที่เป็นอดีตและปัจจุบัน เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์.
ธรรมทั้งหลายนั่นแหละกล่าวคือโคจร (อารมณ์) ของจิตที่มีสมุฏฐานหนึ่ง
มีสมุฏฐานสอง มีสมุฏฐานสาม มีสมุฏฐานสี่ แม้ไม่เกิดจากสมุฏฐานไหน ๆ
ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ทั้งธรรมที่ไม่พึงกล่าว และที่เหลือจากธรรมที่กล่าว
แล้ว เรียกว่า ธรรมารมณ์.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด แม้มีรูปเป็นต้น
ที่ไม่มาสู่คลอง ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมารมณ์ทั้งนั้น ธรรมเหล่านั้นถูกปฏิเสธ
ด้วยสูตรนี้.
ข้อนี้ สมกับคำที่พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินทรีย์
5 เหล่านี้แล มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับเอาโคจรวิสัยของกันและกัน
(รับเฉพาะของตนเอง) มีใจเป็นที่พึ่ง ใจเท่านั้นย่อมรับโคจรวิสัยของอินทรีย์
5 เหล่านั้น ดังนี้.
จริงอยู่ อารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น แห่งอินทรีย์ 5 เหล่านั้น
ชื่อว่า โคจรวิสัย รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้น อันใจเสวยอยู่ ก็คือรูปารมณ์
เป็นต้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงสำเร็จประโยชน์นี้ อนึ่ง ความที่ญาณทั้งหลาย
มีทิพยจักขุญาณเป็นต้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ ก็ย่อมสำเร็จประโยชน์นี้
เหมือนกัน เพราะว่า การกำหนดโดยนัยที่กล่าวว่า รูปารมณ์เป็นต้น ที่ไม่มา
สู่คลองนั่นแหละเป็นอารมณ์ของทิพยจักษุญาณเป็นต้น แต่รูปารมณ์เหล่านั้น
ไม่เป็นธรรมารมณ์มีอยู่ดังนี้.
บรรดาอารมณ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่
คลองในทวารทั้งสอง. จริงอยู่ รูปารมณ์กระทบจักขุประสาทแล้ว มาสู่คลอง
มโนทวารในขณะนั้นทันที อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ภวังคจลนะ. แม้สัททารมณ์
คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็นัยนี้. เหมือนอย่างว่า นกบินมาทาง
อากาศ ซ่อนตัวอยู่ที่ยอดต้นไม้นั่นแหละ ย่อมกระทบกิ่งไม้ด้วย เงาของนกนั้น
ย่อมกระทบแผ่นดินด้วย การกระทบที่กิ่งไม้ และการแผ่ไปแห่งเงาที่แผ่นดิน
ย่อมมีในขณะเดียวกัน คือไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใด การกระทบจักขุประสาท
เป็นต้นของรูปที่เป็นปัจจุบันเป็นต้น และการมาสู่คลองมโนทวาร เพราะ

สามารถให้ภวังค์ไหว ย่อมมีในขณะเดียวกันนั่นแหละไม่ก่อนไม่หลังกันฉันนั้น.
ลำดับนั้น มหาจิตนี้ก็เกิดขึ้นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอารมณ์เหล่านั้น
อันติดต่อกันไปแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่ตัดภวังค์แล้วเกิดขึ้นในจักขุทวาร
เป็นต้น มีโวฏฐานจิต*เป็นที่สุด แต่ว่าในมโนทวารล้วน ๆ ไม่มีกิจกระทบกับ
ประสาท โดยปกติอารมณ์เหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้ว
เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่นที่ดมแล้ว รสที่ลิ้มแล้ว กายที่กระทบแล้วเท่านั้น.
ถามว่า อารมณ์เหล่านี้มาสู่คลอง (มโนทวาร) อย่างไร.
ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำประทักษิณมหาเจดีย์ประดับ-
ตกแต่งแล้ว ฉาบทาด้วยปูนขาว วิจิตรด้วยสีมีหรดาลและมโหศิลาเป็นต้น มีการ
ปักธงชัยและธงแผ่นผ้ามีประการต่าง ๆ ผูกพวงดอกไม้ล้อมประทีปและมาลัย
รุ่งโรจน์อยู่ด้วยสิริอันรื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษที่ฐานพระ-
เจดีย์ 16 ชั้น แล้วยืนประคองอัญชลี แลดูอยู่ถือปีติพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
เมื่อบุคคลนั้นเห็นพระเจดีย์ ยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นอย่าง
นี้แล้ว ภายหลังไปในที่ใดที่หนึ่ง นั่งในที่พักเป็นที่พักในเวลากลางคืนและกลางวัน
รำพึงอยู่ มหาเจดีย์ที่ประดับตกแต่งแล้ว เช่นเดียวกับที่มาสู่คลองในจักขุทวาร
นั่นแหละ เป็นเหมือนเวลาที่กระทำประทักษิณแล้วไหว้พระเจดีย์ฉะนั้น
รูปารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่ตนเห็นมาก่อน ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลฟังเสียงพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมกถาด้วยเสียงอัน
ไพเราะ หรือฟังเสียงนักสวดซึ่งสวดอยู่ด้วยเสียงไพเราะ ภายหลังไปนั่งใน
ที่ใดที่หนึ่ง แล้วรำพึงอยู่ ธรรมกถา หรือเสียงสรภัญญะ เป็นเหมือนมาสู่คลอง
ในโสตทวาร และเหมือนเวลาให้สาธุการแล้วฟังธรรม ฉะนั้น สัททารมณ์
ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งเสียงที่ฟังแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
* โวฏฐัพพนจิต

อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ของหอม หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วบูชาที่อาสนะ
หรือที่องค์พระเจดีย์ ด้วยจิตที่มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ภายหลังนั่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
รำพึงอยู่ คันธารมณ์นั้นย่อมเป็นราวกะมาสู่คลองในฆานทวาร เป็นเหมือนเวลา
ที่ทำการบูชา คันธารมณ์นั้นย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งกลิ่นที่เคยสูดดม
แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ขาทนียะและโภชนียะอันประณีตแล้ว แบ่งปันแก่
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค ต่อมาภายหลังได้โภชนะมีหญ้ากับแก้
เป็นต้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วรำพึงว่า ในเวลานั้น เราแบ่งโภชนะอันประณีตกับ
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค รสารมณ์นั้นเป็นเหมือนมาสู่คลองใน
ชิวหาทวาร เป็นเหมือนเวลาที่บริโภค รสารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถ
แห่งรสที่ตนได้ลิ้มแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลใช้สอยเตียงและตั่ง หรือเครื่องปูลาด หรือผ้าห่มมี
เนื้ออ่อนนุ่ม มีสัมผัสเป็นสุข ภายหลังต้องนอนที่นอนที่ไม่ดีในที่ใดที่หนึ่ง
ก็รำพึงอยู่ว่า เมื่อก่อนเราใช้เตียงและตั่งอ่อนนุ่ม ดังนี้ โผฏฐัพพารมณ์นั้น
เป็นเหมือนมาสู่คลองในกายทวาร เป็นราวกะว่าเวลาเสวยสัมผัสอันดี ฉะนั้น
โผฏฐัพพารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งการกระทบ ด้วยประการฉะนี้
ในมโนทวารล้วน ๆ กิจคือการกระทบประสาท (ทั้ง 5) ย่อมไม่มีด้วยประการ
ฉะนี้ ตามปกติ อารมณ์เหล่านี้ พึงทราบว่า ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่ง
รูปที่เคยเห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว กลิ่นที่เคยสูดดมแล้ว รสที่เคยลิ้มแล้ว
และโผฏฐัพพะที่กระทบแล้ว ดังนี้.

ว่าโดยนัยอรรถกถาปุตตกะ



บัดนี้ ในการที่อารมณ์มาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เคยเห็นแล้ว
เป็นต้นตามปกติ มีอีกนัยหนึ่ง คือ อรรถกถามุตตกะ (นอกจากอรรถกถา)
อนึ่ง เบื้องต้นบัณฑิตพึงทราบรูปทั้งหลายที่เห็นแล้วเป็นต้นเหล่านี้ว่า ทิฏฺฐํ สุตํ
เป็นความเกี่ยวข้องกันทั้ง 2 บท.
ในคำว่า ทิฏฺฐํ สุตํ เหล่านั้น รูปที่เคยถือเอาด้วยสามารถแห่ง
ทวาร 5 ชื่อว่า ทิฏฺฐํ และรูปเป็นต้นที่บุคคลไม่เห็นโดยประจักษ์ แต่ถือ
เอาโดยการได้ฟังมา ชื่อว่า สุตํ. การเกี่ยวเนื่องกันด้วยบทว่า ทิฏฺฐํ สุตํ
เหล่านี้แม้ทั้ง 2 ชื่อว่า อุภยสัมพันธะ บัณฑิตพึงทราบว่า อารมณ์เหล่านี้
ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น แม้เหล่านี้
อย่างนี้ การมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วในคำว่า ทิฏฺฐํ สุตํ
นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วโดยนัยทั้งหลาย 5 นัย นั่นแหละ.
ก็คนบางคนได้ยินว่า รูป ชื่อเห็นปานนี้ เกิดด้วยบุญอันประเสริฐยิ่ง
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุรเสียงก็ไพเราะยิ่ง กลิ่นดอกไม้ทั้งหลายในที่
บางแห่ง หอมชื่นใจยิ่งแก่คนบางคน รสของผลไม้ทั้งหลายก็อร่อยยิ่งแก่คน
บางคน สัมผัสของผ้านุ่งห่มเป็นต้นก็เป็นสุขยิ่งแก่คนบางคน ดังนี้ รูปเป็นต้น
เหล่านั้นสักว่าฟังมาเท่านั้น มิได้กระทบกับประสาทมีจักขุประสาทเป็นต้นของ
บุคคลนั้นเลยย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร ลำดับนั้น จิตนั้นของบุคคลนั้นย่อม
เป็นไปด้วยอำนาจความเลื่อมใสในรูปหรือในเสียง หรือว่าย่อมเป็นไปในกลิ่น
เป็นต้นด้วยอำนาจความปรารถนาถวายทานแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือว่าด้วย
สามารถแห่งการอนุโมทนา ในทานทั้งหลายอันบุคคลเหล่าอื่นถวายแล้ว รูป
เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งการได้ฟังมาแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.