เมนู

อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺฐํ สมฺปยุตฺตํ
(สุขนี้ สหรคตแล้ว เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกัน สัมปยุตกันด้วยปีตินี้)
สังสัฏฐศัพท์ในที่แม้นี้ ประสงค์เอาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน (สหชาตะ)
ก็ในอรรถเหล่านั้น ธรรมที่สหรคต ชื่อว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน
ไม่สัมปยุตกัน ย่อมไม่มี แต่ว่า ธรรมที่เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน สัมปยุต
กัน มีบ้าง ไม่มีบ้าง. จริงอยู่ เมื่อรูปธรรมกับอรูปธรรมเกิดพร้อมกัน รูปย่อม
เกิดพร้อมกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน อรูปก็เหมือนกัน
เกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน และรูปเกิดพร้อมกับรูป
ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน. ส่วนอรูปโดยแน่นอนทีเดียวเกิดพร้อมกัน
เกี่ยวข้องกัน สัมปยุตกันกับอรูปทีเดียว เพราะฉะนั้น ทรงหมายเอาการเกิด
พร้อมกันนั้น จึงตรัสคำว่า โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้.

อธิบายคำว่าญาณสัมปยุต



บทว่า ญาณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า สัมปยุตด้วยญาณ อธิบายว่า
ประกอบด้วยอาการมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเสมอกัน. ก็คำใดที่ควรกล่าวใน
ญาณสัมปยุตนี้ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในเวทนาติกะในการพรรณนา
บทมาติกานั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ญาณนั้นสัมปยุตด้วย
ลักษณะนี้ คือ เกิดพร้อมกัน (เอกุปฺปาทา) ดับพร้อมกัน (เอกนิโรธา)
มีวัตถุเดียวกัน (เอกวตฺถุกา) มีอารมณ์เดียวกัน (เอการมฺมณา).
ส่วนนิทเทส (การชี้แจง) โดยอุกฤษฏ์มีดังนี้
ก็ในอรูป แม้เว้นความมีวัตถุเป็นอันเดียวกัน ก็ได้สัมปโยคะ
ถามว่า ด้วยคำมีเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสในกามาจรทั้งหลาย
ที่เป็นติเหตุกญาณสัมปยุต เป็นอสังขาริก.
จริงอยู่ ทรงถือเอากุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ 4 ด้วย คำถามที่มิได้กำหนด
แน่นอนว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ดังนี้ ด้วยพระบาลีว่า กามาวจรํ
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ
(กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว) ดังนี้ ทรงเว้น
กุศลจิตเป็นไปในภูมิ 3 ทรงถือเอากามาวจรกุศลจิต 8 ดวงเท่านั้น. พระบาลีว่า
โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้ ทรงเว้นอุเบกขาสหรคต 4 อย่าง จากกามาวจรกุศลจิต
นั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะโสมนัสสสหคตจิตเฉพาะ 4 อย่าง ด้วย
พระบาลีว่า ญาณสมฺปยุตฺตํ ดังนี้ ทรงเว้นจิตที่เป็นญาณวิปปยุต 2 ดวง
จากจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตนั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะจิตที่เป็นญาณ
สัมปยุต 2 ดวงเท่านั้น. ส่วนความที่จิตเป็นอสังขาริกมิได้ทรงถือเอา เพราะ
ความที่จิตเป็นอสังขาริกนั้นมิได้ตรัสไว้ แม้มิได้ทรงถือเอาความที่จิตเป็นอสัง-
ขาริกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า สสงฺขาเรน ข้างหน้าแม้จะ
มิได้ตรัสว่า อสงฺขาเรน ไว้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบความที่จิตเป็นอสังขาริก
เพราะได้ทรงกำหนดเพื่อแสดงมหาจิตนี้ตั้งแต่ต้นทีเดียว จึงทรงเริ่มเทศนานี้
ดังนี้ ในข้อนี้ พึงทราบว่าท่านทำความสันนิษฐานไว้อย่างนี้.

อธิบายคำว่าอารมณ์



บัดนี้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละโดยอารมณ์ จึงตรัสคำว่า รูปารมฺมณํ
วา
เป็นต้น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อแสดงอรูปธรรมทั้งหลายย่อมทรงแสดง
ด้วยวัตถุ หรือด้วยอารมณ์ หรือวัตถุและอารมณ์ หรือว่าด้วยภาวะพร้อมทั้ง
รส. อรูปธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงด้วยวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า จักขุสัมผัส