เมนู

14. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ
อสงฺคหิตํ
- ธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรม
ที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรม
ที่วิปปยุตกัน.
ธาตุกถาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณเกิน 6 ภาณวาร
แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ปุคคลบัญญัติปกรณ์



ในลำดับต่อจากธาตุกถาปกรณ์นั้น ชื่อว่า ปุคคลบัญญัติ บุคคล
บัญญัตินั้นจำแนกไว้ 6 อย่าง คือ
1. ขันธบัญญัติ
2. อายตนบัญญัติ
3. ธาตุบัญญัติ
4. สัจจบัญญัติ
5. อินทริยบัญญัติ
6. ปุคคลบัญญัติ
ปุคคลบัญญัตินั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีเกิน 5 ภาณวาร แต่เมื่อ
ให้พิสดารก็ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณเหมือนกัน.

กถาวัตถุปกรณ์



ในลำดับต่อจากปุคคลบัญญัติปกรณ์ ชื่อว่า กถาวัตถุปกรณ์ กถา-
วัตถุปกรณ์นั้น ประมวลจำแนกไว้หนึ่งพันสูตร คือ ในสกวาทะ (ลัทธิของตน)
500 สูตร ในปรวาทะ (ลัทธิอื่น) 500 สูตร กถาวัตถุปกรณ์นั้น ว่าโดย
ทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณเท่าทีฆนิกายหนึ่ง โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ไม่ถือเอา
คำที่เขียนไว้ในโกฏฐาสในบัดนี้ แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ยมกปกรณ์



ในลำดับต่อจากกถาวัตถุปกรณ์นั้น ชื่อว่า ยมกปกรณ์ ทรงจำแนก
ไว้ 10 อย่าง คือ
1. มูลยมก
2. ขันธยมก
3. อายตนยมก
4. ธาตุยมก
5. สัจจยมก
6. สังขารยมก
7. อนุสสยยมก
8. จิตตยมก
9. ธรรมยมก
10. อินทริยยมก
ยมกปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณ 120 ภาณวาร
เมื่อว่าโดยพิสดาร ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

มหาปกรณ์



ในลำดับแห่งยมกปกรณ์นั้น ชื่อว่า มหาปกรณ์ แม้คำว่า ปัฏฐาน
ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมหาปกรณ์นั้นนั่นแหละ มหาปกรณ์นั้น เบื้องต้นทรง
จำแนกไว้ 24 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย คือ
1. เหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย)
2. อารัมมณปัจจัย (อารมณ์เป็นปัจจัย)
3. อธิปติปัจจัย (อธิบดีเป็นปัจจัย)