เมนู

อัฏฐิกสัญญา) อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญาได้เฉพาะแล้ว เพราะอาศัยอัฏฐิก-
สัญญา. ใช้ในความหมายว่า อารมณ์ เหมือนในประโยคว่า ลาภี โหติ
รูปสหคตานํ วา สมาปตฺตีนํ อรูปสหคตานํ วา
(ภิกษุมีปกติได้
สมาบัติทั้งหลายมีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีอรูปเป็นอารมณ์) อธิบายว่า มีรูป
หรืออรูปเป็นอารมณ์. ใช้ในความหมายว่า ความเกี่ยวข้อง เหมือนใน
ประโยคว่า อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺฐํ
สมฺปยุตฺตํ
(สุขนี้เป็นธรรมชาตสหรคตแล้ว เกิดพร้อมแล้ว เกี่ยวข้องแล้ว
สัมปุตแล้วด้วยปีตินี้) ในบทว่า สังสัฏฐะนี้ ท่านประสงค์เอาความหมายนี้
เท่านั้น. จริงอยู่ จิตที่เกี่ยวข้องกับโสมนัสในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
โสมนัสสสหคตะ ดังนี้.

ว่าด้วยสังสัฏฐศัพท์



อนึ่ง แม้สังสัฏฐศัพท์นี้ ก็ใช้ในอรรถมากอย่าง คือ ในความหมายว่า
เช่นเดียวกัน (สทิเส) กิเลสรั่วรด (อวสฺสุเต) ความสนิทสนมฉันท์มิตร
(มิตฺตสนฺถเว) เกิดพร้อมกัน (สหชาเต).
จริงอยู่ สังสัฏฐศัพท์นี้มาในความหมายว่า เช่นเดียวกัน ดังในประโยค
นี้ว่า กีเส ถูเล จ วิวชฺเชตฺวา สํสฏฺฐา โยชิตา หยา (ม้าทั้งหลาย
ที่เทียมแล้ว ยกเว้นม้าผอมทั้งหลาย และม้าอ้วนทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน). มา
ในความหมายว่า กิเลสรั่วรด ดังในประโยคว่า สํสฏฺฐา จ ตุมเห อยฺเย
วิหรถ
(แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงชุ่มด้วยกิเลสเถิด). มาในความหมายว่า
สนิทสนมฉันท์มิตร ดังในประโยคว่า คิหิสํสฏฺโฐ วิหรติ (ภิกษุสนิทสนม
ฉันท์มิตรกับคฤหัสถ์). มาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน ดังในประโยคว่า