เมนู

ศรัทธาที่คล้อยตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญานั้น ย่อมดำรงอยู่ วิริยะที่
คล้อยตามศรัทธานั้นย่อมดำรงอยู่ สติที่คล้อยตามวิริยะนั้นย่อมดำรงอยู่ สมาธิ
ที่คล้อยตามสตินั้น ก็ย่อมดำรงอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพ่งถึงโลกุตรธรรม
แล้วพึงทราบว่า ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ แต่นี้เป็น
โลกิยเทศนา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงจิตให้เป็นธุระ จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
ดังนี้.

อธิบายคำว่าโสมนัสสสหคตะ



คำว่า โสมนสฺสสหคตํ ได้แก่ ถึงภาวะมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้น
กับโสมนัส กล่าวคือการเสวยอารมณ์ที่ยินดีเหมือนน้ำผึ้ง ก็สหคตศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถเหล่านี้ คือ ความเป็นอย่างนั้น ( ตัพภาวะ) เจือแล้ว (โวกิณณะ)
ที่อาศัย (นิสสยะ) อารมณ์ (อารัมมณะ) และความเกี่ยวข้อง (สังสัฏฐะ).
บรรดาอรรถเหล่านั้น สหคตศัพท์นี้พึงทราบว่า ใช้ในความหมายว่า
ความเป็นอย่างนั้น เหมือนในประโยคว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา
นนฺทิราคสหคตา
( ตัณหานี้ใด อันก่อให้เกิดในภพใหม่ เพราะความเป็น
อย่างนั้นแห่งนันทิราคะ (ตัณหา) อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความ
เพลิดเพลิน. ใช้ในความหมายว่า เจือแล้ว เหมือนในประโยคว่า ยายํ
ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺชสหคตา โกสชฺชสมฺปยุตฺตา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมังสานี้ใด เจือแล้วด้วยความเกียจคร้าน ประกอบแล้วด้วยความเกียจคร้าน)
ในอธิการนี้พึงทราบอธิบายว่า วิมังสานี้เจือแล้วด้วยความเกียจคร้านที่เกิดขึ้น
ในระหว่าง ๆ. ใช้ในความหมายว่า อาศัย เหมือนในประโยคว่า อฏฺฐิก-
สญฺญาสหคตํ สติสมฺโพชฌงฺคํ ภาเวติ
(ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อาศัย

อัฏฐิกสัญญา) อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญาได้เฉพาะแล้ว เพราะอาศัยอัฏฐิก-
สัญญา. ใช้ในความหมายว่า อารมณ์ เหมือนในประโยคว่า ลาภี โหติ
รูปสหคตานํ วา สมาปตฺตีนํ อรูปสหคตานํ วา
(ภิกษุมีปกติได้
สมาบัติทั้งหลายมีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีอรูปเป็นอารมณ์) อธิบายว่า มีรูป
หรืออรูปเป็นอารมณ์. ใช้ในความหมายว่า ความเกี่ยวข้อง เหมือนใน
ประโยคว่า อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺฐํ
สมฺปยุตฺตํ
(สุขนี้เป็นธรรมชาตสหรคตแล้ว เกิดพร้อมแล้ว เกี่ยวข้องแล้ว
สัมปุตแล้วด้วยปีตินี้) ในบทว่า สังสัฏฐะนี้ ท่านประสงค์เอาความหมายนี้
เท่านั้น. จริงอยู่ จิตที่เกี่ยวข้องกับโสมนัสในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
โสมนัสสสหคตะ ดังนี้.

ว่าด้วยสังสัฏฐศัพท์



อนึ่ง แม้สังสัฏฐศัพท์นี้ ก็ใช้ในอรรถมากอย่าง คือ ในความหมายว่า
เช่นเดียวกัน (สทิเส) กิเลสรั่วรด (อวสฺสุเต) ความสนิทสนมฉันท์มิตร
(มิตฺตสนฺถเว) เกิดพร้อมกัน (สหชาเต).
จริงอยู่ สังสัฏฐศัพท์นี้มาในความหมายว่า เช่นเดียวกัน ดังในประโยค
นี้ว่า กีเส ถูเล จ วิวชฺเชตฺวา สํสฏฺฐา โยชิตา หยา (ม้าทั้งหลาย
ที่เทียมแล้ว ยกเว้นม้าผอมทั้งหลาย และม้าอ้วนทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน). มา
ในความหมายว่า กิเลสรั่วรด ดังในประโยคว่า สํสฏฺฐา จ ตุมเห อยฺเย
วิหรถ
(แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงชุ่มด้วยกิเลสเถิด). มาในความหมายว่า
สนิทสนมฉันท์มิตร ดังในประโยคว่า คิหิสํสฏฺโฐ วิหรติ (ภิกษุสนิทสนม
ฉันท์มิตรกับคฤหัสถ์). มาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน ดังในประโยคว่า