เมนู

ศรัทธาที่คล้อยตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญานั้น ย่อมดำรงอยู่ วิริยะที่
คล้อยตามศรัทธานั้นย่อมดำรงอยู่ สติที่คล้อยตามวิริยะนั้นย่อมดำรงอยู่ สมาธิ
ที่คล้อยตามสตินั้น ก็ย่อมดำรงอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพ่งถึงโลกุตรธรรม
แล้วพึงทราบว่า ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ แต่นี้เป็น
โลกิยเทศนา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงจิตให้เป็นธุระ จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
ดังนี้.

อธิบายคำว่าโสมนัสสสหคตะ



คำว่า โสมนสฺสสหคตํ ได้แก่ ถึงภาวะมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้น
กับโสมนัส กล่าวคือการเสวยอารมณ์ที่ยินดีเหมือนน้ำผึ้ง ก็สหคตศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถเหล่านี้ คือ ความเป็นอย่างนั้น ( ตัพภาวะ) เจือแล้ว (โวกิณณะ)
ที่อาศัย (นิสสยะ) อารมณ์ (อารัมมณะ) และความเกี่ยวข้อง (สังสัฏฐะ).
บรรดาอรรถเหล่านั้น สหคตศัพท์นี้พึงทราบว่า ใช้ในความหมายว่า
ความเป็นอย่างนั้น เหมือนในประโยคว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา
นนฺทิราคสหคตา
( ตัณหานี้ใด อันก่อให้เกิดในภพใหม่ เพราะความเป็น
อย่างนั้นแห่งนันทิราคะ (ตัณหา) อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความ
เพลิดเพลิน. ใช้ในความหมายว่า เจือแล้ว เหมือนในประโยคว่า ยายํ
ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺชสหคตา โกสชฺชสมฺปยุตฺตา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมังสานี้ใด เจือแล้วด้วยความเกียจคร้าน ประกอบแล้วด้วยความเกียจคร้าน)
ในอธิการนี้พึงทราบอธิบายว่า วิมังสานี้เจือแล้วด้วยความเกียจคร้านที่เกิดขึ้น
ในระหว่าง ๆ. ใช้ในความหมายว่า อาศัย เหมือนในประโยคว่า อฏฺฐิก-
สญฺญาสหคตํ สติสมฺโพชฌงฺคํ ภาเวติ
(ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อาศัย