เมนู

วิโนทนญฺจ อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ฐานโส
อนฺตรธาเปติ
(จิตคิดจะไป ข่มไม่ได้ บรรเทาได้ยาก และย่อมยังบาปอกุศลธรรม
ที่ข่มไม่ได้ ที่ข่มไม่ได้ให้อันตรธานไปโดยฉับพลัน ) มาในความหมายว่า
ตัดไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวนฺโต
พหุลีกโรนฺโต อุปฺปนฺนุปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม อนฺตราเยว
อนฺตรธาเปติ
(บุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
ย่อมยังบาปอกุศลธรรมที่ยังละไม่ได้ และละไม่ได้ให้อันตรธานไป) มาใน
ความหมายว่า ถึงขณะทั้ง 3 ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปชฺชมานํ อุปปนฺนนฺติ
อามนฺตา
(ถามว่า จิตกำลังเกิด ชื่อว่า ถึงขณะทั้ง 3 หรือ ตอบว่า ใช่) แม้
อุปปันนศัพท์ในที่นี้ ก็พึงทราบว่า ถึงขณะทั้ง 3 เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคำว่า
อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ พึงทราบเนื้อความสังเขปนี้ว่า ถึงขณะทั้ง 3 กำลังเป็นไป
ได้แก่ ปัจจุบัน.

อธิบายคำว่าจิตเป็นประธาน



ก็คำว่า จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ คือจิตเป็นประธานแห่งเทศนา ก็จิต
ย่อมไม่เกิดขึ้นเฉพาะดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเขาพูดว่า พระราชา
เสด็จมาแล้ว ดังนี้ ก็พระราชาทรงละบริษัทแล้วมาพระองค์เดียวเท่านั้น ก็หาไม่
แต่ที่แท้แล้วย่อมปรากฏว่า มาพร้อมกับบริษัททีเดียว ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่าเกิด มาพร้อมกับกุศลธรรมเกิน 50 โดยแท้. อนึ่ง คำว่า
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอรรถว่าเป็นประธาน
(เป็นสภาพถึงก่อน).
จริงอยู่ เพ่งถึงโลกิยธรรมแล้ว จิตก็เป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน
แต่เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้ว ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน เพราะเหตุ

นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นถึงปริยายพระวินัยแล้ว เมื่อจะตรัสถาม
ปัญหาก็ไม่ตรัสถามว่า เธอมีผัสสะเป็นอย่างไร มีเวทนาเป็นอย่างไร มีสัญญา
เป็นอย่างไร มีเจตนาเป็นอย่างไร ย่อมตรัสถามทำจิตเท่านั้นให้เป็นธุระว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอมีจิตเป็นอย่างไร ดังนี้ เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่มีไถยจิต ดังนี้ พระองค์ก็ไม่ตรัสว่า ภิกษุไม่มี
ไถยผัสสะก็ไม่ต้องอาบัติเป็นต้น แต่ย่อมตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อถึงปริยายพระวินัยทรงยก
จิตขึ้นเป็นธุระเท่านั้นก็หาไม่ เมื่อทรงแสดงโลกิยเทศนาแม้อื่นก็ทรงแสดงทำ
จิตนั่นแหละให้เป็นธุระ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรุมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล-
ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีใจเป็นประธาน ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น ดังคาถา
ประพันธ์ที่ตรัสไว้ว่า
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจ
ประเสริฐที่สุด สำเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจ
อันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะ
กระทำก็ตาม เพราะทุจริต 3 อย่างนั้น ทุกข์
ย่อมตามเขาไป เหมือนล้อหมุนไปตามรอย
เท้าโคตัวลากเกวียน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย
มีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูด
ก็ตาม จะกระทำก็ตาม เพราะสุจริต 3 อย่าง
นั้น สุขย่อมไปตามเขา เหมือนเงาไปตามตัว

ฉะนั้น สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อม
กระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมด
ทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอัน
หนึ่งคือจิต
ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
ย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นประภัสสร
แต่ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้ว เพราะอุปกิเลสทั้งหลายจรมา. ดูก่อนคหบดี
เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต แม้กายกรรมก็ชื่อว่าเธอไม่รักษา แม้วจีกรรมก็ชื่อว่า
ไม่รักษา แม้มโนกรรมก็ชื่อว่าไม่รักษา ดูก่อนคหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ
ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตพยาบาท ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่พยาบาท ฯลฯ
ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตถูกกิเลสรั่วรด ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสรั่วรด
กายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี ก็ไม่ถูกกิเลสรั่วรด เพ่งถึงโลกิยธรรมอย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า จิตเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้
ก็บรรดาสูตรที่กล่าวแล้วเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านไม่ถือสูตรหนึ่งหรือสองสูตร
แต่ถือสูตรแม้ทั้งหมดเพื่อตามรักษาสูตรไว้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จะตรัสถามโลกุตรธรรมก็ไม่ตรัสถามว่า เธอ
บรรลุผัสสะไหน บรรลุเวทนาไหน บรรลุสัญญาไหน บรรลุเจตนาไหน
และบรรลุจิตไหน ดังนี้ ทรงถามทำปัญญาให้เป็นธุระว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
บรรลุปัญญาไหน หรือว่า เธอบรรลุมรรคปัญญาที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่
หรือดังนี้.
ในที่นี้พึงทราบพระสูตรเป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลธรรมทั้งปวงมีปัญญา
เป็นเยี่ยมย่อมไม่เสื่อม ก็ปัญญามีประโยชน์อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ศรัทธาที่คล้อยตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญานั้น ย่อมดำรงอยู่ วิริยะที่
คล้อยตามศรัทธานั้นย่อมดำรงอยู่ สติที่คล้อยตามวิริยะนั้นย่อมดำรงอยู่ สมาธิ
ที่คล้อยตามสตินั้น ก็ย่อมดำรงอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพ่งถึงโลกุตรธรรม
แล้วพึงทราบว่า ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ แต่นี้เป็น
โลกิยเทศนา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงจิตให้เป็นธุระ จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
ดังนี้.

อธิบายคำว่าโสมนัสสสหคตะ



คำว่า โสมนสฺสสหคตํ ได้แก่ ถึงภาวะมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้น
กับโสมนัส กล่าวคือการเสวยอารมณ์ที่ยินดีเหมือนน้ำผึ้ง ก็สหคตศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถเหล่านี้ คือ ความเป็นอย่างนั้น ( ตัพภาวะ) เจือแล้ว (โวกิณณะ)
ที่อาศัย (นิสสยะ) อารมณ์ (อารัมมณะ) และความเกี่ยวข้อง (สังสัฏฐะ).
บรรดาอรรถเหล่านั้น สหคตศัพท์นี้พึงทราบว่า ใช้ในความหมายว่า
ความเป็นอย่างนั้น เหมือนในประโยคว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา
นนฺทิราคสหคตา
( ตัณหานี้ใด อันก่อให้เกิดในภพใหม่ เพราะความเป็น
อย่างนั้นแห่งนันทิราคะ (ตัณหา) อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความ
เพลิดเพลิน. ใช้ในความหมายว่า เจือแล้ว เหมือนในประโยคว่า ยายํ
ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺชสหคตา โกสชฺชสมฺปยุตฺตา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมังสานี้ใด เจือแล้วด้วยความเกียจคร้าน ประกอบแล้วด้วยความเกียจคร้าน)
ในอธิการนี้พึงทราบอธิบายว่า วิมังสานี้เจือแล้วด้วยความเกียจคร้านที่เกิดขึ้น
ในระหว่าง ๆ. ใช้ในความหมายว่า อาศัย เหมือนในประโยคว่า อฏฺฐิก-
สญฺญาสหคตํ สติสมฺโพชฌงฺคํ ภาเวติ
(ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อาศัย