เมนู

ในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) จริงอยู่ ภูมิเหล่านั้น
ชื่อว่า อันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ (มี
ภูมิอันได้แล้ว) บรรดาอุปปันนะ 4 ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
นี้ ท่านประสงค์เอาวัตตมานอุปปันนะ.

ว่าด้วยอุปปันนศัพท์



พึงทราบคำจำกัดความในคำว่า อุปฺปนินํ โหติ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เคลื่อนจากธรรมส่วน
เบื้องต้น (คืออดีต) มุ่งหน้าต่ออุปปาทขณะเป็นต้น. ก็อุปปันนศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถหลายอย่าง คือ ในอดีต (ธรรมที่ล่วงแล้ว) ปฏิลัทธะ (ได้เฉพาะ)
สมุฏฐิตะ (ตั้งขึ้นพร้อม) อวิกขัมภิตะ (ข่มไม่ได้) อสมุจฉินนะ (ตัด
ไม่ได้) ขณัตตยคตะ (ถึงขณะทั้ง 3).
จริงอยู่ อุปปันนศัพท์นี้มาในความหมายว่า อดีต ดังในประโยคนี้ว่า
เตน โข ปน ภิกฺขเว สมเยน กกุสนฺโธ ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
โลเก อุปฺปนฺโน
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก)
ดังนี้ มาในความหมายว่า ได้เฉพาะ ดังในประโยคนี้ว่า อายสฺมโต
อานนฺทสฺส อติเรกจีวรํ อุปฺปนฺนํ โหติ
(อติเรกจีวรเป็นของอันท่าน
พระอานนท์ได้เฉพาะแล้ว) มาในความหมายว่า ตั้งขึ้นพร้อม ดังในประโยค
นี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุปฺปนฺนํ มหาเมฆํ ตเมนํ มหาวาโต
อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ลมใหญ่ย่อมพัดมหาเมฆนี้นั้นให้อันตรธานไปในระหว่างนั่นแหละ) มาใน
ความหมายว่า ข่มไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปนฺนํ คมิยจิตฺตํ ทุปฺปฏิ-

วิโนทนญฺจ อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ฐานโส
อนฺตรธาเปติ
(จิตคิดจะไป ข่มไม่ได้ บรรเทาได้ยาก และย่อมยังบาปอกุศลธรรม
ที่ข่มไม่ได้ ที่ข่มไม่ได้ให้อันตรธานไปโดยฉับพลัน ) มาในความหมายว่า
ตัดไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวนฺโต
พหุลีกโรนฺโต อุปฺปนฺนุปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม อนฺตราเยว
อนฺตรธาเปติ
(บุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
ย่อมยังบาปอกุศลธรรมที่ยังละไม่ได้ และละไม่ได้ให้อันตรธานไป) มาใน
ความหมายว่า ถึงขณะทั้ง 3 ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปชฺชมานํ อุปปนฺนนฺติ
อามนฺตา
(ถามว่า จิตกำลังเกิด ชื่อว่า ถึงขณะทั้ง 3 หรือ ตอบว่า ใช่) แม้
อุปปันนศัพท์ในที่นี้ ก็พึงทราบว่า ถึงขณะทั้ง 3 เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคำว่า
อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ พึงทราบเนื้อความสังเขปนี้ว่า ถึงขณะทั้ง 3 กำลังเป็นไป
ได้แก่ ปัจจุบัน.

อธิบายคำว่าจิตเป็นประธาน



ก็คำว่า จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ คือจิตเป็นประธานแห่งเทศนา ก็จิต
ย่อมไม่เกิดขึ้นเฉพาะดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเขาพูดว่า พระราชา
เสด็จมาแล้ว ดังนี้ ก็พระราชาทรงละบริษัทแล้วมาพระองค์เดียวเท่านั้น ก็หาไม่
แต่ที่แท้แล้วย่อมปรากฏว่า มาพร้อมกับบริษัททีเดียว ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่าเกิด มาพร้อมกับกุศลธรรมเกิน 50 โดยแท้. อนึ่ง คำว่า
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอรรถว่าเป็นประธาน
(เป็นสภาพถึงก่อน).
จริงอยู่ เพ่งถึงโลกิยธรรมแล้ว จิตก็เป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน
แต่เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้ว ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน เพราะเหตุ