เมนู

ในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) จริงอยู่ ภูมิเหล่านั้น
ชื่อว่า อันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ (มี
ภูมิอันได้แล้ว) บรรดาอุปปันนะ 4 ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
นี้ ท่านประสงค์เอาวัตตมานอุปปันนะ.

ว่าด้วยอุปปันนศัพท์



พึงทราบคำจำกัดความในคำว่า อุปฺปนินํ โหติ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เคลื่อนจากธรรมส่วน
เบื้องต้น (คืออดีต) มุ่งหน้าต่ออุปปาทขณะเป็นต้น. ก็อุปปันนศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถหลายอย่าง คือ ในอดีต (ธรรมที่ล่วงแล้ว) ปฏิลัทธะ (ได้เฉพาะ)
สมุฏฐิตะ (ตั้งขึ้นพร้อม) อวิกขัมภิตะ (ข่มไม่ได้) อสมุจฉินนะ (ตัด
ไม่ได้) ขณัตตยคตะ (ถึงขณะทั้ง 3).
จริงอยู่ อุปปันนศัพท์นี้มาในความหมายว่า อดีต ดังในประโยคนี้ว่า
เตน โข ปน ภิกฺขเว สมเยน กกุสนฺโธ ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
โลเก อุปฺปนฺโน
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก)
ดังนี้ มาในความหมายว่า ได้เฉพาะ ดังในประโยคนี้ว่า อายสฺมโต
อานนฺทสฺส อติเรกจีวรํ อุปฺปนฺนํ โหติ
(อติเรกจีวรเป็นของอันท่าน
พระอานนท์ได้เฉพาะแล้ว) มาในความหมายว่า ตั้งขึ้นพร้อม ดังในประโยค
นี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุปฺปนฺนํ มหาเมฆํ ตเมนํ มหาวาโต
อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ลมใหญ่ย่อมพัดมหาเมฆนี้นั้นให้อันตรธานไปในระหว่างนั่นแหละ) มาใน
ความหมายว่า ข่มไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปนฺนํ คมิยจิตฺตํ ทุปฺปฏิ-