เมนู

กระทำให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตร
เหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็น
ธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้.

อธิบายคำว่าอุปปันนธรรม 4



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ มีประเภทหลายอย่างด้วยสามารถแห่ง
วัตตมานอุปปันนะ ภูตาปคตอุปปันนะ โอกาสกตอุปปันนะ และ
ภูมิลัทธอุปปันนะ.
บรรดาวัตตมานอุปปันนะเป็นต้นเหล่านั้น ธรรมชาติแม้ทั้งหมดกล่าว
คือความพรั่งพร้อมด้วยความเกิดขึ้น ความแก่ และความดับ ชื่อว่า วัตต-
มานอุปปันนะ
กุศลและอกุศลที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือ
เสวยแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่เข้าถึงหมวด 3 มีอุปปาทขณะเป็นต้นแล้ว
ก็ดับกล่าวคือเกิดแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่ปัจจัยปรุงแต่งที่เหลือด้วย
ชื่อว่า ภูตาปคตอุปปันนะ กรรมที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นว่า กรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ใดที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อน ดังนี้ แม้เป็นอดีต และเพราะห้ามวิบาก
อื่นที่มีอยู่แล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน และวิบากที่มีโอกาสอันกระทำแล้ว
อย่างนั้น มีอยู่แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโอกาสทำแล้ว
อย่างนั้น ชื่อว่า โอกาสกตอุปปันนะ อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมิทั้งหลาย
นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลัทธอุปปันนะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งภูมิและ
ภูมิลัทธะ ในคำว่า ภูมิลัทธอุปปันนะต่อไป. ขันธ์ 5 เป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ การเกิดขึ้นแห่งกิเลสอันควรแก่การเกิดขึ้น

ในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) จริงอยู่ ภูมิเหล่านั้น
ชื่อว่า อันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ (มี
ภูมิอันได้แล้ว) บรรดาอุปปันนะ 4 ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
โหติ
นี้ ท่านประสงค์เอาวัตตมานอุปปันนะ.

ว่าด้วยอุปปันนศัพท์



พึงทราบคำจำกัดความในคำว่า อุปฺปนินํ โหติ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เคลื่อนจากธรรมส่วน
เบื้องต้น (คืออดีต) มุ่งหน้าต่ออุปปาทขณะเป็นต้น. ก็อุปปันนศัพท์นี้ใช้ใน
อรรถหลายอย่าง คือ ในอดีต (ธรรมที่ล่วงแล้ว) ปฏิลัทธะ (ได้เฉพาะ)
สมุฏฐิตะ (ตั้งขึ้นพร้อม) อวิกขัมภิตะ (ข่มไม่ได้) อสมุจฉินนะ (ตัด
ไม่ได้) ขณัตตยคตะ (ถึงขณะทั้ง 3).
จริงอยู่ อุปปันนศัพท์นี้มาในความหมายว่า อดีต ดังในประโยคนี้ว่า
เตน โข ปน ภิกฺขเว สมเยน กกุสนฺโธ ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
โลเก อุปฺปนฺโน
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก)
ดังนี้ มาในความหมายว่า ได้เฉพาะ ดังในประโยคนี้ว่า อายสฺมโต
อานนฺทสฺส อติเรกจีวรํ อุปฺปนฺนํ โหติ
(อติเรกจีวรเป็นของอันท่าน
พระอานนท์ได้เฉพาะแล้ว) มาในความหมายว่า ตั้งขึ้นพร้อม ดังในประโยค
นี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุปฺปนฺนํ มหาเมฆํ ตเมนํ มหาวาโต
อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ลมใหญ่ย่อมพัดมหาเมฆนี้นั้นให้อันตรธานไปในระหว่างนั่นแหละ) มาใน
ความหมายว่า ข่มไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปนฺนํ คมิยจิตฺตํ ทุปฺปฏิ-