เมนู

ที่หน้าปรารถนาเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการหรือความไม่มีโทษเป็น
ปทัฏฐาน.
จริงอยู่ ในธรรมทั้ง 4 มีลักษณะเป็นต้น สภาวะหรือความเสมอกัน
แห่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า ลักษณะ กิจ (หน้าที่การงาน) หรือสัมปัตติ (การ
ถึงพร้อม) ชื่อว่า ร. อาการปรากฏ หรือผล ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน.
เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวธรรมทั้งหลายมีลักษณะ
เป็นต้นในที่ใด ๆ พึงทราบความแตกต่างกันแห่งธรรมเหล่านั้นในที่นั้น ๆ
โดยนัยนี้แล.

อธิบายคำว่าจิต



พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า
ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป
แก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล
และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน
ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ
อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต
เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร
พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะก็อย่างหนึ่ง จิต
มีโมหะก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นกามาวจรก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจรเป็นต้น
ก็อย่างหนึ่ง จิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์
ก็อย่างหนึ่ง บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก็อย่าง-
หนึ่ง จิตที่มีสีเหลืองเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แม้จิตที่มีเสียงเป็นต้น

เป็นอารมณ์ก็นัยนี้แหละ ในจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมด หีนจิตก็อย่างหนึ่ง
มัชฌิมจิตก็อย่างหนึ่ง ปณีตจิตก็อย่างหนึ่ง ถึงในจิตที่เป็นหีนจิตเป็นต้น จิต
ที่มีฉันทะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีวิริยะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ จิตมี
วิมังสาเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเหล่านี้
เป็นธรรมวิจิตร ด้วยสามารถแห่งสัมปยุตธรรม ภูมิ อารมณ์ เป็นหีนะ
มัชฌิมะ ปณีตะ และอธิบดี. ก็บรรดาจิตเหล่านี้ เป็นจิตแต่ละดวง มิใช่จิต
ทั้งหลายเลย ถึงอย่างนั้น จิตนั้นก็ชื่อว่า จิต เพราะรวมอยู่ในความวิจิตร
ทั้งหลาย บรรดาจิตเหล่านั้น จิตดวงใดดวงหนึ่งสมควรเรียกว่าจิต เพราะเป็น
ธรรมวิจิตร. ชื่อว่า จิต เพราะความวิจิตรอย่างนี้ก่อน.
ชื่อว่า จิต เพราะทำให้วิจิตร อย่างไร ?
จริงอยู่ ชื่อว่า วิจิตรอื่นยิ่งกว่าจิตรกรรม ไม่มีในโลก ธรรมดาว่า
ลวดลายแม้ในความวิจิตรนั้น ก็เป็นความวิจิตรคือความงดงามยิ่งนัก. พวก
จิตรกรเมื่อกระทำจิตรกรรมนั้นก็เกิดสัญญาอันวิจิตรว่า รูปมีอย่างต่าง ๆ เราควร
ทำอย่างนี้ ในที่นี้ ดังนี้. การทำอันวิจิตร อันสำเร็จแล้วด้วยกิจมีการเขียน
การระบายสี การทำสีให้เรืองรอง และการสลับสีเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย
สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตรกล่าวคือลวดลาย
ย่อมสำเร็จแต่จิตรกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งศิสปะอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในโลกอย่างนี้ ศิลปะทั้งหมดนั้น อันจิตเท่านั้นคิดว่า รูปนี้จงมีข้างบนรูปนี้
รูปนี้จงมีข้างล่างของรูปนี้ รูปนี้จงมีที่ข้างทั้ง 2 ของรูปนี้แล้วจึงกระทำ จิตร-
กรรมนั้นอันข้างล่างให้วิจิตรแล้ว ฉันใด แม้จิตที่ทำให้สำเร็จความวิจิตร ก็ชื่อว่า
จิต ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกระทำให้วิจิตรด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง
จิตนั่นแหละ ชื่อว่า วิจิตรกว่าจิตรกรรมนั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรม

ทุกชนิดตามที่คิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ชื่อว่า ลวดลายอันวิจิตร พวกเธอเห็นแล้วหรือ พวกภิกษุกราบทูล
ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแลอันจิตนั่นเองคิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเท่านั้น
วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล.
อนึ่ง จิตที่เป็นไปภายในต่างชนิดโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหาร
เป็นต้น ในคติทั้งหลาย มีเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนี้ใด จิตแม้นั้นก็
กระทำให้วิจิตรแล้วเหมือนกัน.
จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม อันต่างโดยกรรมมีกายกรรม
เป็นต้น ที่เป็นไปโดยนัยมีทาน ศีล ความเบียดเบียน และความโอ้อวดเป็นต้น
สำเร็จแล้วด้วยจิต ชื่อว่า มีความต่างกันเพราะกรรม. สัณฐานแห่งอวัยวะ
มีมือ เท้า ท้อง คือ และหน้าเป็นต้นในคติทั้งหลายนั้น ๆ แตกต่างกันไป
ด้วยความต่างกันแห่งกรรมนั้นแหละ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งเพศ. เมื่อ
สัญญาเกิดขึ้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัณฐานตามที่
ถือเอา เพราะความต่างกันแห่งเพศ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งสัญญา.
เมื่อชนทั้งหลายร้องเรียกด้วยคำว่า หญิง หรือว่า ชาย ดังนี้ อันสมควรแก่
สัญญา เพราะความต่างกันแห่งสัญญา ชื่อว่า ความต่างกันแห่งโวหาร.
แต่เพราะเหตุที่บุคคลทำกรรมอันให้เกิดอัตภาพนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งความ
ต่างกันแห่งโวหารอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักเป็นหญิง ข้าพเจ้าจักเป็นชาย ข้าพเจ้า
จักเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าจักเป็นพราหมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกัน
แห่งกรรม
เพราะความต่างกันแห่งโวหาร. ก็ความต่างกันแห่งกรรมนั้น ๆ
เมื่อจะยังภพตามที่ปรารถนาให้เกิดขึ้น ย่อมให้เกิดขึ้นด้วยคติ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งคติ เพราะความต่างกันแห่งกรรม.

อนึ่ง ความที่สัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ เกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ 2 เท้า
เป็นต้น เกิดเป็นสัตว์สูงและต่ำเป็นต้นในคตินั้น ๆ เกิดเป็นผู้มีผิวพรรณดีและ
ผิวพรรณทรามเป็นต้น เป็นผู้มีลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น ในอัตภาพนั้น ๆ ย่อม
ปรากฏเพราะความต่างกันแห่งกรรมนั่นแหละ. เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นไปใน
ภายในต่างโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้นในคติทั้งหลายอันต่าง
โดยความเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า
อันจิตนั้นเองกระทำแล้ว. เนื้อความนี้นั้น พึงทราบด้วยสามารถพระสูตรที่ยัง
มิได้ขึ้นสู่สังคีตินี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า การกำหนดประเภทของความต่างกัน
ของเพศที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกัน
แห่งกรรมที่มีมาก การกำหนดประเภทของความต่างกันของความต่างกันของ
สัญญาที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกัน
แห่งเพศที่มีมาก การกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของโวหารที่มีมาก ย่อม
มีได้ด้วยสามารถแห่งกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของสัญญาที่มีมาก การ
กำหนดประเภทแห่งความต่างกันของกรรมที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่ง
การกำหนดประเภทของความต่างกันแห่งโวหารที่มีมาก ความต่างกันแห่งคติ
ของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม สัตว์ทั้งหลาย
ที่ไม่มีเท้า มี 2 เท้า มี 4 เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มี
สัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความต่างกันแห่งความอุบัติของสัตว์
ทั้งหลาย คือความสูงต่ำ เลวประณีต ไปสู่สุคติและทุคติ ย่อมปรากฏเพราะ
อาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย คือความ
เป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็น
ผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความ
ต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลายในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ

นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม
ดังนี้.
แม้ข้ออื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า
เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัญญา
ย่อมเป็นไปเพราะเพศ สัตว์ทั้งหลายย่อมลง
ความต่างกันเพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือ
เป็นชาย สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถ
ที่ไปอยู่ บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การ
สรรเสริญก็เพราะกรรม ย่อมได้ความเสื่อม
การถูกประหาร และการจองจำก็เพราะ
กรรม บุคคลรู้ความต่างกันแห่งกรรมนั้น
แล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่ากรรมไม่มีในโลก
.
ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมย่อมจำแนก
สัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเป็นธรรมชาติ
วิจิตร เพราะความวิจิตรด้วยการกระทำดังพรรณนามาฉะนี้.
จริงอยู่ ความวิจิตรเหล่านี้แม้ทั้งหมด อันจิตนั่นแหละกระทำแล้ว
ก็จิตเท่านั้น เป็นธรรมชาติ วิจิตรกว่าความวิจิตรอันใดที่เป็นไปภายในอันจิต
กระทำแล้วที่กล่าวแล้วนั้น เพราะความที่จิตไม่ได้โอกาส ไม่มีการกระทำความ
วิจิตรบางอย่าง หรือว่าเพราะความมีจิตบกพร่องด้วยปัจจัยที่เหลือก็ไม่มีการ

กระทำให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตร
เหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็น
ธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้.

อธิบายคำว่าอุปปันนธรรม 4



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ มีประเภทหลายอย่างด้วยสามารถแห่ง
วัตตมานอุปปันนะ ภูตาปคตอุปปันนะ โอกาสกตอุปปันนะ และ
ภูมิลัทธอุปปันนะ.
บรรดาวัตตมานอุปปันนะเป็นต้นเหล่านั้น ธรรมชาติแม้ทั้งหมดกล่าว
คือความพรั่งพร้อมด้วยความเกิดขึ้น ความแก่ และความดับ ชื่อว่า วัตต-
มานอุปปันนะ
กุศลและอกุศลที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือ
เสวยแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่เข้าถึงหมวด 3 มีอุปปาทขณะเป็นต้นแล้ว
ก็ดับกล่าวคือเกิดแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่ปัจจัยปรุงแต่งที่เหลือด้วย
ชื่อว่า ภูตาปคตอุปปันนะ กรรมที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นว่า กรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ใดที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อน ดังนี้ แม้เป็นอดีต และเพราะห้ามวิบาก
อื่นที่มีอยู่แล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน และวิบากที่มีโอกาสอันกระทำแล้ว
อย่างนั้น มีอยู่แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโอกาสทำแล้ว
อย่างนั้น ชื่อว่า โอกาสกตอุปปันนะ อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมิทั้งหลาย
นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลัทธอุปปันนะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งภูมิและ
ภูมิลัทธะ ในคำว่า ภูมิลัทธอุปปันนะต่อไป. ขันธ์ 5 เป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ การเกิดขึ้นแห่งกิเลสอันควรแก่การเกิดขึ้น