เมนู

ที่หน้าปรารถนาเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการหรือความไม่มีโทษเป็น
ปทัฏฐาน.
จริงอยู่ ในธรรมทั้ง 4 มีลักษณะเป็นต้น สภาวะหรือความเสมอกัน
แห่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า ลักษณะ กิจ (หน้าที่การงาน) หรือสัมปัตติ (การ
ถึงพร้อม) ชื่อว่า ร. อาการปรากฏ หรือผล ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน.
เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวธรรมทั้งหลายมีลักษณะ
เป็นต้นในที่ใด ๆ พึงทราบความแตกต่างกันแห่งธรรมเหล่านั้นในที่นั้น ๆ
โดยนัยนี้แล.

อธิบายคำว่าจิต



พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า
ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป
แก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล
และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน
ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ
อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต
เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร
พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะก็อย่างหนึ่ง จิต
มีโมหะก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นกามาวจรก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจรเป็นต้น
ก็อย่างหนึ่ง จิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์
ก็อย่างหนึ่ง บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก็อย่าง-
หนึ่ง จิตที่มีสีเหลืองเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แม้จิตที่มีเสียงเป็นต้น