เมนู

เที่ยวไปในเมือง เขาก็เรียกว่า ช้างสงครามนั่นแหละ สัตว์จำนวนมากที่เที่ยว
ไปบนบกและในน้ำ แม้ยืนอยู่ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ เขาก็เรียกว่า สัตว์เที่ยว
ไปบนบกและเที่ยวไปในน้ำ ฉันใด จิตนี้ แม้เที่ยวไปในที่อื่น ๆ ก็พึงทราบว่า
กามาวจร (ท่องเที่ยวไปในกาม) ฉันนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง กามย่อม
ท่องเที่ยวไปในจิตนี้ ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์ แม้เพราะเหตุนั้น จิตนี้
ก็เรียกว่า กามาวจร. กามนั้นย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบอุปมานี้ เหมือนเขากล่าวว่า สัตว์ที่ชื่อว่า ลูกโค เพราะ
มันส่งเสียงร้อง ที่ชื่อว่า กระบือ เพราะมันนอนแผ่นดิน สัตว์มีจำนวน
เท่าใด ก็ตามจะส่งเสียงร้องหรือนอนบนแผ่นดินก็ตาม สัตว์ทั้งหมดเหล่านั้น
หามีชื่ออย่างนั้นไม่. ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตใด ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ปฏิสนธิในกาม
กล่าวคือกามภพ เพราะเหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า กามาวจร.

อธิบายคำว่ากุศล



พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า กุศล ต่อไป ธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วย
อรรถทั้งหลายมีการตัดบาปทั้งหลายเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กุศล
ด้วยอรรถว่า ความไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ และด้วยอรรถว่าเกิดแต่
ความฉลาด.
บัณฑิตพึงทราบธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค เพราะ
ความไม่มีความกระสับกระส่ายด้วยกิเลส ไม่มีความป่วยไข้คือกิเลส ไม่มีพยาธิ
คือกิเลสในอรูปธรรมเลย เหมือนคำที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่า
ไม่มีโรค เพราะไม่มีความกระสับกระส่ายในร่างกาย เพราะไม่มีความป่วยไข้
ในร่างกาย เพราะไม่มีพยาธิในร่างกาย ดุจในคำว่า ความไม่มีโรคมีแก่ท่าน
ผู้เจริญบ้างแลหรือ. ก็ธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่า ไม่มีโทษ เพราะความ

ไม่มีโทษที่ควรเว้นกิเลส โทษที่ประทุษร้ายคือกิเลส โทษที่กระวนกระวาย
คือกิเลส. ปัญญา ท่านเรียกว่า โกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาด) ธรรมที่ชื่อว่า
กุศล ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ความฉลาด เพราะความเกิดขึ้นแต่ปัญญาชื่อว่า
โกสัลละ.
คำว่า กุศล ที่เป็นญาณสัมปยุตจงพักไว้ก่อน แต่คำว่ากุศลที่เป็น
ญาณวิปปยุต เป็นอย่างไร. แม้กุศลที่เป็นญาณวิปปยุตนั้นก็เป็นกุศลนั่นแหละ
ด้วยรุฬหีศัพท์. เหมือนอย่างว่า พัดที่บุคคลทำด้วยเสื่อรำแพนไม่ได้ทำด้วย
ใบตาล เขาก็เรียกกันว่า พัดใบตาลนั่นแหละ ด้วยรุฬหิศัพท์ เพราะสิ่งนั้น
คล้ายกัน ฉันใด กุศลแม้เป็นญาณวิปปยุต บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นกุศล
นั่นแหละฉันนั้น. แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) กุศลที่เป็นญาณสัมปยุต
ได้ชื่อว่า กุศล ถึง 3 อย่าง คือ ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ
ด้วยอรรถว่าเกิดแต่ความฉลาด. กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต ได้ชื่อว่า กุศล
เพียง 2 อย่างเท่านั้น. เพราะฉะนั้น กุศลใดที่กล่าวไว้แล้วโดยการบรรยายถึง
ชาดกก็ดี โดยการบรรยายถึงพาหิรสูตรก็ดี โดยการบรรยายถึงพระภิธรรมก็ดี
กุศสนั้นทั้งหมดย่อมได้ในจิตนี้ด้วยอรรถแม้ทั้ง 3. กุศลนี้นั้น ว่าโดยลักขณา-
ทิจตุกะ คือ กุศล
มีสุขวิบากอันไม่มีโทษ เป็นลักษณะ
มีการกำจัดอกุศล เป็นรส มีการผ่องแผ้ว
เป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการ หรือมี
ความไม่มีโทษเป็นปทัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง กุศลชื่อว่า มีความไม่มีโทษ เป็นลักษณะนั้นแหละ
เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นรส มีวิบาก

ที่หน้าปรารถนาเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการหรือความไม่มีโทษเป็น
ปทัฏฐาน.
จริงอยู่ ในธรรมทั้ง 4 มีลักษณะเป็นต้น สภาวะหรือความเสมอกัน
แห่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า ลักษณะ กิจ (หน้าที่การงาน) หรือสัมปัตติ (การ
ถึงพร้อม) ชื่อว่า ร. อาการปรากฏ หรือผล ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน.
เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวธรรมทั้งหลายมีลักษณะ
เป็นต้นในที่ใด ๆ พึงทราบความแตกต่างกันแห่งธรรมเหล่านั้นในที่นั้น ๆ
โดยนัยนี้แล.

อธิบายคำว่าจิต



พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า
ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป
แก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล
และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน
ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ
อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต
เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร
พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะก็อย่างหนึ่ง จิต
มีโมหะก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นกามาวจรก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจรเป็นต้น
ก็อย่างหนึ่ง จิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์
ก็อย่างหนึ่ง บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก็อย่าง-
หนึ่ง จิตที่มีสีเหลืองเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แม้จิตที่มีเสียงเป็นต้น