เมนู

สุตตันตภาชนีย์ แต่สิกขาบทวิภังค์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณหนึ่ง
ภาณวาร ปฏิสัมภิทาวิภังค์ก็มีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ญาณวิภังค์จำแนก
ออก 10 อย่าง แต่ญาณวิภังค์นั้น เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ 3
ภาณวาร แม้ขุททกวัตถุวิภังค์ก็จำแนกไว้ 10 อย่าง แต่ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ
มีประมาณ 3 ภาณวาร ธรรมหทยวิภังค์จำแนกไว้ 3 อย่าง ว่าด้วยทางแห่ง
ถ้อยคำมีประมาณเกิน 2 ภาณวาร วิภังค์แม้ทั้งหมด เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สุด
ไม่มีประมาณ ปกรณ์ชื่อว่า วิภังคปกรณ์นี้ เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ
35 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณด้วยประการฉะนี้.

ธาตุกถาปกรณ์



ในลำดับต่อจากวิภังคปกรณ์นั้น ชื่อว่า ธาตุกถาปกรณ์ ทรง
จำแนก 14 อย่าง คือ
1. สงฺคโห อสงฺคโห - ธรรมสงเคราะห์ได้ ธรรม
สงค์เคราะห์ไม่ได้
2. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย
ธรรมที่สงเคราะห์ได้
3. อสงฺคหิเตน สงฺคหตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม
ที่สงเคราะห์ไม่ได้
4. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม
ที่สงเคราะห์ได้
5. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย
ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

6. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค - ธรรมที่ประกอบกัน ธรรมที่ไม่
ประกอบกัน
7. สมปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ - ธรรมที่วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรม
ที่สัมปยุตกัน
8. วิปฺปยุตฺเตน สมปยุตฺตํ - ธรรมที่สัมปยุตกันได้ ด้วยธรรม
ที่วิปปยุตกัน
9. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ - ธรรมที่สัมปยุตกันได้ด้วยธรรม
ที่สัมปยุตกัน
10. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ - ธรรมที่วิปปยุตกันได้ ด้วย
ธรรมที่วิปปยุตกัน
11. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ
วิปฺปยุตฺตํ
- ธรรมที่สัมปยุตกันได้ ธรรมที่
วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรมที่
สงเคราะห์กัน
12. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ
อสงฺคหิตํ
- ธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรม
ที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรม
ที่สัมปยุตกัน
13. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ
วิปฺปยุตฺตํ
- ธรรมที่สัมปยุตกัน ธรรมที่
วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรมที่
สงเคราะห์กันไม่ได้

14. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ
อสงฺคหิตํ
- ธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรม
ที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรม
ที่วิปปยุตกัน.
ธาตุกถาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณเกิน 6 ภาณวาร
แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ปุคคลบัญญัติปกรณ์



ในลำดับต่อจากธาตุกถาปกรณ์นั้น ชื่อว่า ปุคคลบัญญัติ บุคคล
บัญญัตินั้นจำแนกไว้ 6 อย่าง คือ
1. ขันธบัญญัติ
2. อายตนบัญญัติ
3. ธาตุบัญญัติ
4. สัจจบัญญัติ
5. อินทริยบัญญัติ
6. ปุคคลบัญญัติ
ปุคคลบัญญัตินั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีเกิน 5 ภาณวาร แต่เมื่อ
ให้พิสดารก็ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณเหมือนกัน.

กถาวัตถุปกรณ์



ในลำดับต่อจากปุคคลบัญญัติปกรณ์ ชื่อว่า กถาวัตถุปกรณ์ กถา-
วัตถุปกรณ์นั้น ประมวลจำแนกไว้หนึ่งพันสูตร คือ ในสกวาทะ (ลัทธิของตน)
500 สูตร ในปรวาทะ (ลัทธิอื่น) 500 สูตร กถาวัตถุปกรณ์นั้น ว่าโดย
ทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณเท่าทีฆนิกายหนึ่ง โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ไม่ถือเอา
คำที่เขียนไว้ในโกฏฐาสในบัดนี้ แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.