เมนู

นำมาซึ่งญาณในการแยกกลุ่มก้อนและญาณในปฏิสัมภิทา. พึงทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงเทศนาแห่งธรรมทั้งหลายโดยประเภทว่า กุสลา
ธมฺมา
ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่าใด ก็พึงแสดงธรรมเหล่านั้น
โดยประเภทนั้น ๆ จึงทรงกระทำลำดับบทนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ด้วยว่าเมื่อประเภทธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงแล้ว ประเภทธรรมที่สัตว์เห็นอยู่
ย่อมถูกต้อง และพึงรู้ได้ง่าย.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ
ต่อไป

ว่าด้วยสมยศัพท์



สมเย นิทฺทิสิ จิตฺตํ จิตฺเตน สมยํ มุนิ
นิยเมตฺวาน ทีเปตุํ ธมฺเม ตตฺถ ปเภทโต
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรง
แสดงจิตในสมัยเพื่อกำหนดสมัยด้วยจิตแล้ว
แสดงธรรมทั้งหลาย โดยประเภทในสมัย
นั้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ในสมัยใด กามาวจร-
กุศลจิตเป็นต้น ก็ทรงแสดงจิตในสมัย เพราะเหตุไร เพราะทรงกำหนดสมัย
อย่างนี้ว่า ตสฺมึ สมเย ในกาลเป็นที่สุดด้วยจิตที่กำหนดสมัยนั้น ลำดับนั้นเพื่อ
ให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นประเภทที่ตรัสรู้ตามได้
ยาก ด้วยสามารถแห่งฆนะโดยสิ้น สมูหะ กิจ อารมณ์เหล่านั้นในสมัยที่
ทรงกำหนดจิตนั้นอย่างนี้ว่า แม้เมื่อมีสมัยต่างกัน ถ้าสมัยใดมีจิต สมัยนั้น
นั้นแหละ ผัสสะก็มี เวทนาก็มี.

บัดนี้ พึงทราบการพรรณนาตามบทในคำวินิจฉัยว่า ยสฺมึ สมเย
เป็นต้นนี้ ต่อไป.
บทว่า ยสฺมึ เป็นอรรถแสดงถึงสัตตมีวิภัตติโดยไม่แน่นอน.
บทว่า สมเย เป็นคำแสดงถึงสมัยที่แสดงไว้โดยไม่กำหนด. สมัยทรง
แสดงโดยไม่กำหนดไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในคำว่า สมัยนั้น สมยศัพท์
ท่านใช้ในอรรถว่า พร้อมเพรียง ในขณะ ในกาล ในการประชุม
ในเหตุ ในทิฏฐิ การได้เฉพาะ การละ การแทงตลอด
.
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น ใช้ในความหมายว่า ความพร้อมเพรียง
ดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรแม้วันพรุ่งนี้ พวกเราใคร่ครวญ
กาลและความพร้อมเพรียงกันแล้วพึงเข้าไปหา. ใช้ในความหมายว่า ขณะ
ดังประโยคมีอานะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ (โอกาส) และสมัยในการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล. ใช้ในความหมายถึงกาล (เวลา) ดัง
ในประโยคมีอาทิว่า ฤดูร้อนเป็นเวลาเร่าร้อน. ใช้ในความหมายว่า ประชุม
ดังในประโยคมีอาทิว่า การประชุมใหญ่ มีในป่าใหญ่. ใช้ในความหมายว่า
เหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถีแล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนา
ของพระศาสดาดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล เธอก็ไม่แทงตลอดแล้ว.
ใช้ในความหมายว่า ทิฏฐิ ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อ
อุคคาหมานะ เป็นบุตรของนางสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนาง
มัลลิกาเทวี อันมีศาลาหลังเดียว แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ เป็นที่ประชุม
แสดงลัทธิ. ใช้ในความหมายว่า การได้เฉพาะ ดังในประโยคมีอาทิว่า

นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์ในภพนี้
และประโยชน์ในภพหน้า.

ใช้ในความหมายว่า ละ ดังในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุได้กระทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ. ใช้ในความหมายว่า การแทงตลอด
ดังในประโยคมีอาทิว่า สภาพแห่งทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าปรุงแต่ง
มีอรรถว่าทำให้เดือดร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าควรแทงตลอด
ในสมยศัพท์มีอรรถเป็นอเนก ด้วยประการฉะนี้.
สมวาโย ขโร กาโล สมูโห เหตุเยว จ
เอเต ปญฺจาปิ วิญฺเญยฺยา สมยา อิธ วิญฺญุนา
สมยศัพท์ในอธิการนี้ พึงทราบว่ามี
เพียง 5 คือ ความพร้อมเพรียง 1 ขณะ 1
กาล 1 ประชุม 1 เหตุ 1.

แท้จริงในบรรดาสมยศัพท์ 9 อย่างเหล่านั้น ในอธิการว่าด้วยกุศลนี้
ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบสมยศัพท์ 5
มีความพร้อมเพรียงเป็นต้นต่อไป.
บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น ความ
พร้อมเพรียงแห่งปัจจัยพึงทราบว่าความ
พร้อมเพรียง ส่วนสมยศัพท์อันเป็นอรรถ
ข้อที่ 9 (การแทงตลอด) พึงทราบว่าเป็น
ขณะหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง จักรแม้ทั้ง 4 ก็
พึงทราบว่าเป็นขณะ.

จริงอยู่ ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยทั้งหลายที่ดำรงอยู่ด้วยความเป็น
เหตุ อันยังผลทั่วไปให้สำเร็จนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นความพร้อมเพรียงใน
ที่นี้. ส่วนสมยศัพท์มีอรรถที่ 9 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล ดังนี้
พึงทราบว่าเป็นขณะหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง จักร (การถึงพร้อม) 4 คือ
ปฏิรูปเทสวาโส (การอยู่ในประเทศที่สมควร)
สปฺปุริสูปนิสฺสโย (การคบสัตบุรุษ)
อตฺตสมฺมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
ปุพฺเพกตปุญฺญตา (ความเป็นผู้มีบุญทำไว้ก่อน)
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร 4 ประการนี้
เป็นเครื่องดำเนินไปของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้ว ดังนี้ พึง
ทราบว่า เป็นขณะ ด้วยอรรถว่าเป็นโอกาสรวมจักร 4 เหล่านั้นเป็นอัน
เดียวกัน. ด้วยว่า จักร 4 เหล่านั้นเป็นโอกาสในการยังกุศลให้เกิดขึ้น. ครั้น
ทราบสมยศัพท์ คือ ความพร้อมเพรียง และขณะอย่างนี้แล้ว บัณฑิตพึงทราบ
คำชี้แจงในสมยศัพท์ทั้งหลายมีกาลเป็นต้นเหล่านี้ ต่อไป.
บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม
นั้น ๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่
ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึง
ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ).

บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ คือ
เพราะอาศัยธรรมทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า จิตฺตกาโล (กาลแห่งจิต
รูปกาโล (กาลแห่งรูป) หรือเพราะอาศัยการประพฤติธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า

อตีตธรรม อนาคตธรรม หรือเพราะอาศัยลำดับแห่งธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า
กาลนี้เป็นกาลแห่งพืช กาลนี้เป็นกาลแห่งหน่อ หรือเพราะอาศัยลักษะแห่ง
ธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลเกิด นี้เป็นกาลแก่ หรือเพราะอาศัยกิจแห่ง
ธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กาลเป็นที่เสวยอารมณ์ กาลเป็นที่จำอารมณ์ หรือ
เพราะอาศัยกิจที่สัตว์ต้องทำโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลอาบน้ำ เป็นกาลดื่มน้ำ
หรือเพราะอาศัยอิริยาบถโดยนัยเป็นต้นว่า กาลที่เดิน กาลที่ยืน หรือเพราะ
อาศัยการหมุนเวียนของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โดยนัยเป็นต้นว่า กาล (เวลา)
เช้า เย็น กลางวัน กลางคืน หรือเพราะอาศัยการประชุมแห่งกาล กล่าวคือ
กลางวันและกลางคืนเป็นต้น โดยนัย ครึ่งเดือน หนึ่งเดือนเป็นต้น. ก็กาลนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเพียงบัญญัติเท่านั้น เพราะไม่มีสภาวะ (ภาวะของตน).
ส่วนหมวดแห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้นนั้น ท่านชี้แจง
ไว้ว่า เป็นการประชุม (สมูหะ) ในอธิการนี้. ครั้นทราบสมัยที่ใช้คำว่า กาล
และประชุม
อย่างนี้แล้ว พึงทราบสมยศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า เหตุ ต่อไป.
เหตูติ ปจฺจโย เจตฺถ ตสฺส ทฺวารวเสน วา
อเนกภาโวปิ วิญฺเญยฺโย ปจฺจยานํ วเสน วา

ก็ในสมยศัพท์นี้ ปัจจัย ชื่อว่า เหตุ
บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้น มีมากอย่าง
แม้ด้วยทวารหรือด้วยปัจจัยทั้งหลาย

จริงอยู่ ในอธิการนี้ ปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า เหตุ บัณฑิตพึงทราบความ
ที่เหตุนั้นมีมากอย่างด้วยสามารถแห่งทวาร หรือปัจจัยทั้งหลาย. พึงทราบ
อย่างไร ? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจัย 4 มีจักขุ รูป อาโลกะ
มนสิการเป็นต้น แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เกิดขึ้นในจักขุทวารเป็นต้น และ

ตรัสปัจจัย 24 ในมหาปกรณ์ โดยนัยมีอาทิว่า เหตุปจฺจโย ดังนี้. บรรดา
ปัจจัยเหล่านั้นยกเว้นวิปากปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย แล้วที่เหลือเป็นปัจจัยแก่
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งนั้น. แต่ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาธรรมเหล่านั้นแม้
ทั้งหมดเป็นเหตุ บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้นเป็นปัจจัยมากอย่าง ด้วย
สามารถแห่งทวารนี้ หรือด้วยสามารถแห่งปัจจัยอย่างนี้ อรรถทั้ง 5 มีความ
พร้อมเพรียงเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่าท่านกำหนดด้วยสมยศัพท์ในอธิการนี้
ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร บรรดาอรรถเหล่านี้ ท่านไม่กำหนดเอาอรรถ
อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่กำหนดเอาทั้งหมด.
ตอบว่า เพราะการแสดงอรรถที่แตกต่างกันนั้น ๆ ด้วยสมยศัพท์นั้น ๆ
มีอยู่.
จริงอยู่ บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือความพร้อมเพรียง
ย่อมแสดงถึงความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย ด้วยสมยศัพท์อันนั้น ย่อมมีการ
ปฏิเสธลัทธิที่มีเหตุเดียว. ก็ธรรมดาว่าความพร้อมเพรียงย่อมมุ่งถึงสิ่งที่อาศัย
กันและกันในการยังผลทั่วไปให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงอรรถแม้นี้ว่า
ชื่อว่า ผู้สร้างคนเดียวย่อมไม่มี. ก็โดยสภาวะ เมื่อผู้สร้างมีอยู่ ก็ไม่ควร
เพ่งถึงเหตุอื่น ด้วยลักษณะอย่างนี้ จะเป็นการปฏิเสธคำที่มีอาทิว่า สุขและทุกข์
อันตนทำเอง โดยแสดงถึงความไม่มีผู้กระทำคนใดคนหนึ่งนั้น.
ในคำที่กล่าวที่แล้วนั้น หากจะมีคำท้วงว่า คำใดที่กล่าวแล้วย่อมแสดง
ความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย คำนั้นก็ไม่ถูกซิ เพราะเหตุไร. เพราะสิ่งที่ไม่เป็น
เหตุ ไม่มีในความพร้อมเพรียงกัน แม้ในความพร้อมเพรียงก็เป็นเหตุไม่ได้
จริงอยู่ เมื่อคนตาบอดคนหนึ่งไม่อาจเห็น คนตาบอดตั้งร้อยก็ย่อมไม่เห็น.

ตอบว่า ที่ว่าไม่ถูก หาควรไม่ เพราะความที่เหตุยังผลทั่วไปให้สำเร็จ
ได้ตั้งอยู่แล้ว ชื่อว่า ความพร้อมเพรียง หาใช่เหตุสักว่าการประชุมแห่ง
เหตุมิใช่น้อยไม่. ก็ผลทั่วไป ชื่อว่าการเห็นของบุคคลผู้ตาบอดทั้งหลายหา
มีไม่. เพราะเหตุไร เพราะแม้เมื่อคนตาบอดตั้งร้อยมีอยู่ ผลโดยทั่วไปก็ไม่มี
ก็ผลอันทั่วไปนั้น ของจักขุเป็นต้นมี เพราะความที่ธรรมมีจักษุวิญญาณเหล่านั้น
มีอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีเหตุทั้งหลายในความไม่พร้อมเพรียงเป็นเหตุ
ในความพร้อมเพรียงสำเร็จได้ ข้อนี้พึงทราบว่า เพราะความไม่มีผลในความ
ไม่พร้อมเพรียง แต่มีผลในความพร้อมเพรียง เพราะว่า เมื่อจักษุเป็นต้น
บกพร่อง จักษุวิญาณก็มีไม่ได้ และเมื่อจักขุเป็นต้นไม่บกพร่อง จักขุวิญญาณ
จึงสำเร็จประจักษ์แก่สัตวโลก นี้เป็นการแสดงอรรถด้วยสมยศัพท์ คือความ
พร้อมเพรียงก่อน.
ส่วนขณะที่ 9 เว้นอขณะทั้ง 8 ท่านเรียกว่า ขณะเพราะอรรถว่าเป็น
โอกาส กล่าวคือจักร 4 มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้น ขณะนั้น เว้น
ความพร้อมเพรียงแห่งขณะ คือ ความเป็นมนุษย์ การเสด็จอุบัติขึ้นแห่ง
พระพุทธเจ้า การฟังพระสัทธรรม และมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเสียก็มีไม่ได้ และ
ความเป็นมนุษย์เป็นต้น เป็นภาวะที่ได้โดยยาก โดยการอุปมาด้วยเต่าตาบอด
เป็นต้น กุศลอันเป็นอุปการะแก่โลกุตรธรรมทั้งหลาย อันประกอบด้วยขณะ
อันแสนจะได้ยากแท้ เพราะความที่ขณะเป็นของหาได้โดยยาก ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
บรรดาสมยศัพท์ตามที่กล่าวแล้ว สมยศัพท์กล่าวคือขณะย่อมส่องถึง
ความเป็นของได้โดยยาก เพราะเป็นการเกิดขึ้นแห่งกุศล ว่าโดยฐานะที่แสดง

อยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านปฏิเสธการอยู่ด้วยความประมาทของชนผู้ได้ขณะ
แล้ว ทำขณะให้เป็นโมฆะ เพราะการไม่ยังกุศลนั้นอันประกอบด้วยขณะให้
เกิดขึ้น อรรถนี้ท่านอธิบายไว้ด้วยสมยศัพท์ กล่าวคือ ขณะ.
ก็ธรรมดาว่า การเป็นของกุศลจิตนี้ นั้นเป็นของน้อยยิ่งนัก ก็การที่
กุศลจิตนั้นเป็นของน้อยยิ่งนักนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาพระสูตร
นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ความเร็วของดวงจันทร์และดวง-
อาทิทย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษ เทวดาผู้ไปข้างหน้าของพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ เรียกว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์ อายุสังขารทั้งหลายย่อมสิ้นไป
เร็วกว่านั้น. จริงอยู่ สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลเล็กน้อยของรูป-
ชีวิตินทรีย์ก่อน รูปที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้วยังตั้งอยู่เพียงใด จิต 16 ดวงเกิดขึ้น
แล้วดับเพียงนั้น แม้การอุปมาด้วยข้อที่จิตเหล่านั้นเป็นของเล็กน้อยโดยกาล
ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นไปรวดเร็ว แม้การเปรียบก็กระทำไม่ได้ง่ายดังนี้.
บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือ กาลย่อมแสดงถึงความเล็กน้อย
ยิ่งของกาลที่เป็นไปในกุศลจิตด้วยประการฉะนี้ ว่าด้วยฐานะที่ทรงแสดงอยู่
อย่างนี้ เป็นโอวาทที่ทรงประทานไว้ว่า จิตนี้แทงตลอดได้ยากเหมือนการ
ร้อยแก้วมุกดาโดยแสงสว่างแห่งฟ้าแลบ เพราะความที่จิตมีเวลาเป็น
ไปน้อยยิ่ง
เพราฉะนั้น พวกเธอพึงทำความอุตสาหะให้มาก และความเอื้อเฟื้อ
ให้มาก ในการแทงตลอดจิตนี้ ดังนี้. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์คือกาล.
ส่วนสมยศัพท์ กล่าวคือการประชุม ย่อมแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน
แห่งธรรมแม้มิใช่น้อย จริงอยู่ กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า
การประชุม ดังนี้ อนึ่ง จิตเมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในกองแห่งธรรมนั้นพร้อม

กับธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย
มิใช่น้อย โดยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี่ เป็นอันว่าแสดงการปฏิเสธความเกิดขึ้น
แห่งธรรมอย่างเดียวนั่นเอง. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์กล่าว คือ การประชุม.
ส่วนสมยศัพท์กล่าวคือเหตุ ย่อมแสดงความเป็นไปอันประกอบด้วย
ธรรมอื่น. จริงอยู่ บทว่า ยสฺมึ สมเย มีอธิบายว่า เมื่อเหตุอย่างใดมี
กุศลก็ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงแสดงความที่ธรรมมีการเป็นไปโดย
อาศัยเหตุอื่น เพราะมีเหตุเป็นไป ด้วยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี้ จึงเป็นอัน
ปฏิเสธความสำคัญผิดว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปในอำนาจของตนได้. เนื้อความ
นี้แสดงความเป็นไปได้ด้วยสมยศัพท์กล่าวคือเหตุ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ สมเย อธิบายว่า ในกาลใด
ด้วยอำนาจแห่งสมยศัพท์ กล่าวคือ กาล. พึงทราบเนื้อความแห่งสมยศัพท์
คือ การประชุมในบทว่า ยสฺมึ สมูเห นี้ ได้แก่ บรรดาสมยศัพท์ทั้งหลาย
คือ ขณะความพร้อมเพรียง และเหตุ มีอยู่ คือ เมื่อมีขณะใด มีความพร้อมเพรียง
ใด มีเหตุใด กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกามาวจรกุศลจิตนั้นนั่นแหละ
มีอยู่ ธรรมทั้งหลายแม้มีผัสสะเป็นต้นก็เกิดขึ้น ดังนี้ เพราะสมยศัพท์กล่าวคือ
กาล และการประชุมเป็นอธิกรณะ (เป็นอาธารสัตตมีวิภัตติ ให้แปลว่า ใน).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตธมฺมานํ นี้ เป็นสัตว์มีวิภัตติด้วย
สามารถแห่งอธิกรณะ อธิบายว่า ภาวะในธรรมเหล่านั้น พึงกำหนดด้วยภาวะ
แห่งสมยศัพท์ กล่าวคือขณะ ความพร้อมเพรียง และเหตุ เพราะฉะนั้น ในคำว่า
วุตฺตธมฺมานํ นี้ จึงเป็นสัตตมีวิภัตติ ด้วยสามรถการกำหนดภาวะด้วยภาวะ

อธิบายคำว่ากามาวจร



บทว่า กามาวจรํ ได้แก่ จิตที่นับเนื่องในกามาวจรธรรมทั้งหลาย
ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน ? คือ เบื้องต่ำมี
อเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรคชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด.
ในกามาวจรนั้น มีวจนัตถะ (ความหมายของถ้อยคำ) ดังต่อไปนี้
ว่าโดยอุทาน กามมี 2 คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดากาม
ทั้ง 2 นั้น ว่าโดยอรรถ กิเลสกามได้แก่ฉันทราคะ วัตถุกามได้แก่วัฏฏะอันเป็น
ไปในภูมิ 3 อนึ่ง กิเลสกามชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า ย่อมใคร่ วัตถุกาม
ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า วัตถุอันเขาใคร่. ก็กามทั้ง 2 อย่างนั้น ย่อม
ท่องเที่ยวไปในประเทศใดด้วยสามารถแห่งความเป็นไป ประเทศนั้นมี 11 คือ
อบายภูมิ 4 มนุษยภูมิ 1 เทวโลก 6 ชั้น. กามย่อมท่องเที่ยวไปในที่นี้
เพราะฉะนั้น ที่นี้จึงชื่อว่า กามาวจร ดุจการท่องเที่ยวไปกับพวกเกวียน.
เหมือนอย่างว่า พ่อค้าเกวียน ย่อมท่องเที่ยวไปในประเทศใด ประเทศนั้น
ท่านเรียกว่า บุรุษผู้เที่ยวไปกับพ่อค้าเกวียน ถึงจะมีสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า
เหล่าอื่นท่องเที่ยวไปด้วย แม้มีอยู่ ท่านก็กำหนดเฉพาะชนผู้เที่ยวไปเหล่านั้น
ฉันใด ประเทศนี้ ท่านก็เรียกว่า กามาวจรเท่านั้น เพราะแม้เมื่อรูปาวจร
เป็นต้นเหล่าอื่นท่องเที่ยวไปในประเทศนั้น ท่านก็กำหนดเอาเฉพาะกามาวจร
เหล่านี้เท่านั้น ฉันนั้น. กามนี้ท่านเรียกว่า กามเท่านั้น เพราะลบบทหลัง
เสีย เหมือนรูปภพ ท่านเรียกว่า รูป ฉันใด จิตนี้ ย่อมท่องเที่ยวไปในกาม
กล่าวคือ 11 ประเทศนี้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า กามาวจร.
จิตนี้ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ช้างใหญ่มีชื่ออันได้แล้วว่า เข้าสู่สงคราม เพราะการหยั่งลงสู่สงคราม แม้จะ