เมนู

ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล นี้ ชื่อว่า อัปปนา (ฌาน).

ว่าด้วยคำปุจฉา 5



ปริเฉทว่าด้วยคำถามที่หนึ่งของอุทเทสวาร ตั้งไว้ 4 ปริจเฉทอย่างนี้
ดังนี้
บรรดาปริจเฉทว่าด้วยถามนั้น ปริจเฉทว่า กุศลธรรมเป็นไฉน นี้
ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา. แท้จริง คำถามมี 5 อย่าง คือ
อทิฏฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้)
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว)
วิมติเฉทนาปุจฉา (ถามเพื่อตัดความสงสัย)
อนุมติปุจฉา (ถามเพื่อความเห็นชอบ)
กเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง)
คำถามเหล่านั้น มีความแตกต่างกันดังนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใดที่ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้พิจารณา
ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ชัดเจนบุคคลย่อมถามปัญหาแห่งลักษณะนั้น
เพื่อความรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่อให้
ชัดเจน นี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใด ที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว
ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งไว้ให้ชัดเจนแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียง
กับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.