เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล



บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท)
ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่าง ๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
(ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น.
ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจร-
กุศลนั้น มีมหาวาระ 3 คือ
ธัมมววัฏฐานวาระ (วาระว่าด้วยการกำหนดธรรม)
สังคหวาระ (วาระว่าด้วยการรวบรวม)
สุญญตวาระ (วาระว่าด้วยความว่าง).
บรรดาวาระทั้ง 3 เหล่านั้น ธัมมววัฏฐานวาระ ทรงตั้งไว้ 2 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งอุทเทสวารและนิทเทสวาร บรรดาอุทเทสวารและนิทเทสวาร
ทั้ง 2 นั้น อุทเทสวารมี 4 ปริจเฉท (ตอน) คือ ปุจฉา สมยนิทเทส
ธัมมนิทเทส อัปปนา. บรรดาอุทเทสวาร 4 ปริจเฉทนั้น ปริเฉทว่า กตเม
ธมฺม กุสลา
นี้ ชื่อว่า ปุจฉา ปริเฉทว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ฯเปฯ ตสฺมึ สมเย
(กามาวจรกุศลจิต
เกิดขึ้นในสมัยใด ฯลฯ ในสมัยนั้น ) นี้ ชื่อว่า สมยนิทเทส (แสดงเวลา)
ปริเฉทว่า ผสฺโส โหติ ฯเปฯ อวิกฺเขโป โหติ (ผัสสะย่อมมี ฯลฯ
ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี) นี้ ชื่อว่า ธัมมนิทเทส (แสดงธรรม) ปริเฉทว่า

ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล นี้ ชื่อว่า อัปปนา (ฌาน).

ว่าด้วยคำปุจฉา 5



ปริเฉทว่าด้วยคำถามที่หนึ่งของอุทเทสวาร ตั้งไว้ 4 ปริจเฉทอย่างนี้
ดังนี้
บรรดาปริจเฉทว่าด้วยถามนั้น ปริจเฉทว่า กุศลธรรมเป็นไฉน นี้
ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา. แท้จริง คำถามมี 5 อย่าง คือ
อทิฏฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้)
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว)
วิมติเฉทนาปุจฉา (ถามเพื่อตัดความสงสัย)
อนุมติปุจฉา (ถามเพื่อความเห็นชอบ)
กเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง)
คำถามเหล่านั้น มีความแตกต่างกันดังนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใดที่ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้พิจารณา
ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ชัดเจนบุคคลย่อมถามปัญหาแห่งลักษณะนั้น
เพื่อความรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่อให้
ชัดเจน นี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใด ที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว
ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งไว้ให้ชัดเจนแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียง
กับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.