เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กัณหธรรม เพราะเหตุที่กำเนิดดำ หรือชื่อว่า สุกกธรรม
เพราะเหตุที่กำเนิดขาว. ที่ชื่อว่า ตปนียธรรม เพราะย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
และโลกหน้า ธรรมที่มิใช่ตปนียธรรม ชื่อว่า อตปนียธรรม.
ทุกะ 3 มีอธิวจนทุกะเป็นต้น ว่าโดยอรรถไม่มีการกระทำที่ต่างกัน
ในอธิวจนทุกะเป็นต้นนี้ ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น จริงอยู่ คำว่า
สิริวฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก เป็นต้นที่กระทำเพียงถ้อยคำเท่านั้น ให้เป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่า อธิวจนะ ธรรมที่เป็นคลองแห่งชื่อทั้งหลาย ชื่อว่า อธิวจนปถะ
คำพูดที่ท่านกล่าวอยู่กระทำให้มีเหตุโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมใดย่อมปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงเรียกว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า
นิรุตติ. คลองแห่งนิรุตติธรรมทั้งหลาย เรียกว่า นิรุตติปถธรรม. ธรรมที่
ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก
(การตรึก) วิตกฺโก (วิตก) สํกปฺโป (ความดำริ). ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลาย
เรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม ในที่นี้แม้จะกล่าวทุกะหนึ่ง ก็พึงทราบประโยชน์
ในถ้อยคำโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ.

ว่าด้วยนามรูปทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งนามรูปต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า การตั้งชื่อ หรือเพราะอรรถว่า
น้อมไป หรือว่าเพราะอรรถว่าการให้น้อมไป. ธรรมที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า
แตกสลายไป ในสุตตันติกทุกะนี้ มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดาร นาม
ธรรมจักแจ่มแจ้งในนิกเขปกัณฑ์.
ความไม่รู้ในสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา ความ
ปรารถนาในภาวะ ชื่อว่า ภวตัณหา. สัสสตะ (เที่ยง) ท่านเรียกว่า ภวะ

ในบทว่า ภวทิฏฺฐิ ดังนี้ คือทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความเห็นว่าเที่ยง.
ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ ในบทว่า วิภวทิฏฺฐิ ดังนี้ คือ ทิฏฐิอัน
เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความขาดสูญ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกเที่ยง
ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า
อุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ชื่อว่า อันตวา-
ทิฏฐิ
. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ ชื่อว่า อนันตวาทิฏฐิ.
ทิฏฐิที่คล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ชื่อว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ. ทิฏฐิที่คล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคต ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ.
ความไม่ละอายท่านให้พิสดารอย่างนี้ว่า กรรมอันใดอันบุคคลควร
ละอาย ย่อมไม่ละอาย กรรมนั้นชื่อว่า อหิริกะ อาการที่ไม่เกรงกลัวท่าน
ให้พิสดารไว้อย่างนี้ว่า กรรมใด อันบุคคลควรเกรงกลัว ย่อมไม่เกรงกลัว
กรรมนั้นชื่อว่า อโนตตัปปะ ความละอายชื่อว่า หิริ ความเกรงกลัว ชื่อว่า
โอตตัปปะ.
พึงทราบวินิจฉัยในโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) เป็นต้น บุคคล
ชื่อว่า ทุพพจะ (ว่ายาก) เพราะอรรถว่า การกล่าวสอนบุคคลผู้ถือเอาการ
ขัดแย้งต่าง ๆ ผู้ชอบโต้แย้ง ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ การกล่าวสอนนั้นทำได้ยาก กรรม
ของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจัสสะ ภาวะแห่งกรรมของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า
โทวจัสสตา. บุคคลผู้ลามกไม่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมิตรของบุคคลนั้นมีอยู่
เพระเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปาปมิตร ภาวะแห่งปาปมิตรนั้น ชื่อว่า
ปาปมิตตตา. พึงทราบโสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) และกัลยาณมิตร
โดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติทั้งหลายที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า กองอาบัติ 5 ก็มี
กองอาบัติ 7 ก็มีดังนี้ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในการออก
จากอาบัติเหล่านั้น ชื่อว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา.
นี้เป็นชื่อของปัญญาที่กำหนดอัปปนาของสมาบัติทั้งหลาย. ความเป็นผู้ฉลาด
ในการออกจากสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ 18 อย่าง ชื่อว่า ธาตุกุสลตา. ความ
เป็นผู้ฉลาดในการมนสิการธาตุเหล่านั้นนั้นแหละ ชื่อว่า มนสิการกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทมีองค์ 12 ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะนั้น ๆ ชื่อว่า ฐานกุสลตา. เหตุ ตรัสเรียกว่า
ฐานะ จริงอยู่ ผล ชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ เพราะอาศัยฐานะนั้นเป็นไปแล้ว
เพราะฉะนั้น ตรัสเรียกเหตุว่า ฐานะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะทั้งหลาย
ชื่อว่า อฐานกุสลตา. ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชชวะ. ความเป็นผู้
อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ. ความเป็นผู้อดทนกล่าวคือความอดกลั้น ชื่อว่า
ขันติ. ความเป็นผู้ยินดีร่าเริง ชื่อว่า โสรัจจะ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน
คือความบันเทิงใจและความอ่อนโยน ชื่อว่า สาขัลยะ. การปฏิสันถารด้วย
ธรรมและอามิสทั้งหลายโดยไม่ให้มีโทษของตนกับผู้อื่น ชื่อว่า ปฏิสันถาร.
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ 6 คือความเป็นผู้
ทำลายอินทรีย์สังวร ชื่อว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา. ความเป็นผู้ไม่
รู้จักประมาณในโภชนะด้วยอำนาจแห่งการรับและการบริโภค ชื่อว่า โภชเน
อมตฺตญฺญุตา
. พึงทราบหมวด 2 ในระหว่าง ด้วยสามารถการปฏิเสธคำที่
กล่าวแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลงลืมสติ คือการอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า
มุฏฐสัจจะ. ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ชื่อว่า อสัมปชัญญะ.

ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึกได้ ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ทั่ว.
พละกล่าวคือการพิจารณาสิ่งที่ยังไม่พิจารณา ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะ
อรรถว่าไม่หวั่นไหว. พละที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญโพชฌงค์ 7 โดยวิริยะเป็น
ประธาน ชื่อว่า ภาวนาพละ. ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะยังธรรมอันเป็น
ข้าศึกให้สงบ. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นโดยอาการต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
แห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. สมถะนั่นแหละชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยสามารถ
แห่งนิมิตแห่งสมถะแรกที่พระโยคาวจรถือเอาอาการนั้นแล้วให้เป็นไปอีก. แม้
ในปัคคาหนิมิต ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสัมปยุตตธรรมไว้. ชื่อว่า
อวิกเขปะ เพราะไม่ซัดส่าย. ความวิบัติแห่งศีลคือความไม่สำรวมอันยังศีลให้
พินาศ ชื่อว่า สีลวิบัติ. ความวิบัติแห่งทิฏฐิ คือ มิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิ
ให้พินาศ ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ การถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า สีลสัมปทา
เพราะยังความยินดีร่าเริงให้ถึงพร้อมด้วยศีล คือให้บริบูรณ์ด้วยศีลนั่นแหละ.
ญาณอันบริบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นการถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิสัมปทา.
ความหมดจดแห่งศีล กล่าวคือศีลที่ถึงความเป็นวิสุทธิ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ.
ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะสามารถเพื่อบรรลุวิสุทธิคือพระนิพพาน เป็นการ
หมดจดแห่งทิฏฐิกล่าวคือการเห็น. ข้อว่า ทิฏฐิวิสุทฺธิ โข ปน และ ยถา
ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ
ได้แก่ ทิฏฐิวิสุทธิกล่าวคือกัมมัสสกตาญาณเป็นต้น
และความเพียรอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิวิสุทธิ นั้นนั่นแหละของบุคคลผู้มีความเห็น
ถูกต้อง มีความเห็นอันเหมาะสม มีความเห็นอันดี.

ความสังเวชกล่าวคือความกลัวอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นต้น
ชื่อว่า สังเวคะ. เหตุมีชาติเป็นต้น อันยังความสลดใจให้เกิดขึ้น ชื่อว่า
สังเวชนิยฐาน. ความเพียรอันเป็นอุบายของผู้มีใจสลดอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้
ชื่อว่า ความเพียร โดยแยบคายของบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว. ความเป็นผู้ไม่
สันโดษในการบำเพ็ญกุศลธรรม ชื่อว่า ความไม่ยินดีในกุศลธรรม. ความไม่
ถอยกลับ และไม่ท้อถอยในความเพียรที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า ธรรม
ที่ไม่ทำให้ท้อถอยในความเพียร. ชื่อว่า วิชชา เพราะรู้แจ้ง. ชื่อว่า วิมุตติ
เพราะหลุดพ้น. ญาณในอริยมรรคอันกระทำความสิ้นกิเลส ชื่อว่า ขเย ญาณํ
(ญาณในความสิ้นกิเลส). ญาณในอริยผลอันเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้น
แห่งกิเลสอันมรรคนั้น ๆ พึงฆ่า เป็นญาณไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า
อนุปฺปาเท ญาณํ ( ญาณในความไม่เกิดขึ้น).

จบอรรถกถามาติกานุบุพบทเพียงนี้

จิตตุปปาทกัณฑ์



กุศลธรรม



กามาวจรมหากุศลจิต 8



จิตดวงที่ 1



ปทภาชนีย์



[16] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส1 สัมปยุตด้วยญาณ2 มีรูปเป็น
อารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
(สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ. มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

1. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา 2. ประกอบด้วยปัญญา