เมนู

ธรรมเหล่าใด นับเนื่องในสังสารหยั่งลงภายใน ในวัฏฏะอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปริยาปันนะ ธรรมที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏอันเป็นภูมิ 3 นั้น ชื่อว่า อปริยาปันนะ.
ธรรมเหล่าใด ตัดมูลแห่งวัฏฏะกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ออก
ไปจากวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า นิยยานิกะ ธรรมที่ไม่
นำออกไปโดยลักษณะนี้ ชื่อว่า อนิยยานิกะ.
ธรรมที่ชื่อว่า นิยตะ เพราะให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติ หรือ
ความเป็นไปของตน. ธรรมที่ไม่ให้ผลแน่นอนเหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อนิยตะ.
ธรรมที่ชื่อว่า อุตตระ เพราะย่อมข้ามพ้น คือ ย่อมละธรรมเหล่าอื่น
ไป. ที่ชื่อว่า สอุตตระ เพราะมีอุตตรธรรมอันสามารถเพื่ออันข้ามพ้นตนขึ้น
ไป. ที่ชื่อว่า อนุตตรธรรม เพราะอุตตรธรรมของธรรมเหล่านั้นไม่มี.
ธรรมเหล่าใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้ร้องไห้ เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า รณะ คำว่า รณธรรม นี้เป็นชื่อของกิเลสมีราคะเป็นต้นที่สัตว์
ทั้งหลายถูกกิเลสครอบงำแล้ว ย่อมร้องไห้คร่ำครวญโดยประการต่าง ๆ ธรรม
ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะมีรณธรรมด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ และด้วยสามารถ
แห่งการตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการละ ธรรมที่ชื่อว่า อสรณะ เพราะ
สรณธรรมของธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่โดยอาการนั้น.

ว่าด้วยสุตตันตติกทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งสุตตันตมาติกา ต่อไป.
ธรรมเหล่าใด ย่อมเสพวิชชาด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า วิชชาภาคี. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดย่อมยังส่วน
แห่งวิชชาให้เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า

วิชชาภาคี. ในวิชชาภาคีนั้น วิชชามี 8 คือ วิปัสสนาญาณ 1 มโนมยิทธิ 1
อภิญญา 6. ว่าด้วยอรรถแรก ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า วิชชา-
ภาคี
. ว่าด้วยอรรถหลัง บรรดาวิชชา 8 เหล่านั้น วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วิชชา. วิชชาทั้งหลายที่เหลือเป็นวิชชาภาคี เพราะฉะนั้น วิชชาก็ดี ธรรมที่
สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคีนั่นแหละ แต่ในสุตตันติกทุกะใน
ที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัมปยุตตธรรม. ธรรมเหล่าใดย่อมเสพอวิชชาด้วยสามารถ
แห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อวิชชาภาคี. แม้ธรรม
ที่ยังส่วนแห่งอวิชชาให้เป็นไปในหมวดแห่งอวิชชา ก็ชื่อว่า อวิชชาภาคี.
ในอวิชชาภาคีนั้น อวิชชามี 4 คือ ความมืดอันปิดบังทุกข์ ความมืดที่ปิดบัง
สมุทัยเป็นต้น 3. แม้ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า อวิชชาภาคี
โดยนัยแรกนั่นแหละ บรรดาอวิชชาเหล่านั้น อวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อวิชชา (โดยนัยหลัง) อวิชชาที่เหลือ ชื่อว่า อวิชชาภาคี เพราะฉะนั้น
อวิชชาอย่างนี้ก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาก็ดี พึงทราบว่า อวิชชาภาคี
นั่นแหละ. ก็ในทุกะนี้ท่านประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตกัน
ธรรมที่ชื่อว่า วิชชูปมะ เพราะเปรียบด้วยสายฟ้าเหตุที่ไม่สามารถ
เพื่อกำจัดความมืด คือ กิเลสได้ด้วยความครอบงำอีก. ที่ชื่อว่า วชิรูปมธรรม
เพราะธรรมเหล่านั้นเปรียบด้วยเพชร เหตุที่สามารถกำจัดกิเลสโดยสิ้นเชิง
ที่ชื่อว่า พาลธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในพาลทั้งหลายโดยอุปจารแห่งธรรม
ที่พาลตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ปัณฑิตธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในบัณฑิตทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า พาลธรรม เพราะกระทำให้เป็นคนโง่. หรือชื่อว่า ปัณฑิต-
ธรรม เพระกระทำให้เป็นคนฉลาด. ธรรมดำกระทำจิตไม่ให้มีความประภัสสร
ชื่อว่า กัณหธรรม. ธรรมขาวกระทำจิตให้มีความประภัสสร ชื่อว่า สุกกธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กัณหธรรม เพราะเหตุที่กำเนิดดำ หรือชื่อว่า สุกกธรรม
เพราะเหตุที่กำเนิดขาว. ที่ชื่อว่า ตปนียธรรม เพราะย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
และโลกหน้า ธรรมที่มิใช่ตปนียธรรม ชื่อว่า อตปนียธรรม.
ทุกะ 3 มีอธิวจนทุกะเป็นต้น ว่าโดยอรรถไม่มีการกระทำที่ต่างกัน
ในอธิวจนทุกะเป็นต้นนี้ ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น จริงอยู่ คำว่า
สิริวฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก เป็นต้นที่กระทำเพียงถ้อยคำเท่านั้น ให้เป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่า อธิวจนะ ธรรมที่เป็นคลองแห่งชื่อทั้งหลาย ชื่อว่า อธิวจนปถะ
คำพูดที่ท่านกล่าวอยู่กระทำให้มีเหตุโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมใดย่อมปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงเรียกว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า
นิรุตติ. คลองแห่งนิรุตติธรรมทั้งหลาย เรียกว่า นิรุตติปถธรรม. ธรรมที่
ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก
(การตรึก) วิตกฺโก (วิตก) สํกปฺโป (ความดำริ). ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลาย
เรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม ในที่นี้แม้จะกล่าวทุกะหนึ่ง ก็พึงทราบประโยชน์
ในถ้อยคำโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ.

ว่าด้วยนามรูปทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งนามรูปต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า การตั้งชื่อ หรือเพราะอรรถว่า
น้อมไป หรือว่าเพราะอรรถว่าการให้น้อมไป. ธรรมที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า
แตกสลายไป ในสุตตันติกทุกะนี้ มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดาร นาม
ธรรมจักแจ่มแจ้งในนิกเขปกัณฑ์.
ความไม่รู้ในสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา ความ
ปรารถนาในภาวะ ชื่อว่า ภวตัณหา. สัสสตะ (เที่ยง) ท่านเรียกว่า ภวะ