เมนู

จิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดพร้อมกับจิต. ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐ-
สมุฏฐานานุปริวัตติ เพราะระคนด้วยจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และคล้อยตามจิต
บททั้งหมดที่เหลือพึงทราบโดยการปฏิเสธบทที่กล่าวแล้ว.
ธรรมที่เป็นภายในนั่นแหละ ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม ตามที่กล่าวไว้
ในอัชฌัตตติกะ ในที่นี้หมายเอาอัชฌัตตัชฌัตตธรรม (คืออัชฌัตตายตนะ
ธรรมภายนอกจากนั้น ชื่อว่า พาหิระ. ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะอาศัย
ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น แต่มิใช่เหมือนภูตผีที่สิงอาศัย. ธรรมที่ไม่อาศัยภูตรูป
เกิดขึ้น ชื่อว่า อนุปาทา.

ว่าด้วยอุปทานโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดอย่างยิ่ง คือยึดมั่นคง ธรรมนอกจาก
อุปาทานนั้น ไม่ชื่อว่า อุปาทาน.

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยโนกิเลสโคจฉกะ ต่อไป
อรรถแห่งกิเลสโคจฉกะ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในสังกิลิฏฐติกะ
นั้นแล.

ว่าด้วยปิฏฐิทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งปิฏฐิธรรมต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไป (อาศัยอยู่) ในกาม เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า กามาวจร. ชื่อว่า รูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูป.
ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป. ในทุกะนี้มีสังเขปเพียงนี้ ส่วน
ความพิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า.

ธรรมเหล่าใด นับเนื่องในสังสารหยั่งลงภายใน ในวัฏฏะอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปริยาปันนะ ธรรมที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏอันเป็นภูมิ 3 นั้น ชื่อว่า อปริยาปันนะ.
ธรรมเหล่าใด ตัดมูลแห่งวัฏฏะกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ออก
ไปจากวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า นิยยานิกะ ธรรมที่ไม่
นำออกไปโดยลักษณะนี้ ชื่อว่า อนิยยานิกะ.
ธรรมที่ชื่อว่า นิยตะ เพราะให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติ หรือ
ความเป็นไปของตน. ธรรมที่ไม่ให้ผลแน่นอนเหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อนิยตะ.
ธรรมที่ชื่อว่า อุตตระ เพราะย่อมข้ามพ้น คือ ย่อมละธรรมเหล่าอื่น
ไป. ที่ชื่อว่า สอุตตระ เพราะมีอุตตรธรรมอันสามารถเพื่ออันข้ามพ้นตนขึ้น
ไป. ที่ชื่อว่า อนุตตรธรรม เพราะอุตตรธรรมของธรรมเหล่านั้นไม่มี.
ธรรมเหล่าใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้ร้องไห้ เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า รณะ คำว่า รณธรรม นี้เป็นชื่อของกิเลสมีราคะเป็นต้นที่สัตว์
ทั้งหลายถูกกิเลสครอบงำแล้ว ย่อมร้องไห้คร่ำครวญโดยประการต่าง ๆ ธรรม
ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะมีรณธรรมด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ และด้วยสามารถ
แห่งการตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการละ ธรรมที่ชื่อว่า อสรณะ เพราะ
สรณธรรมของธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่โดยอาการนั้น.

ว่าด้วยสุตตันตติกทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งสุตตันตมาติกา ต่อไป.
ธรรมเหล่าใด ย่อมเสพวิชชาด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า วิชชาภาคี. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดย่อมยังส่วน
แห่งวิชชาให้เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า