เมนู

ว่าด้วยปรามาสโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในปรามาสโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ย่อมยึดถือโดยความเป็น
อย่างอื่น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจที่ก้าวล่วงอาการแห่งธรรมทั้งหลายที่มีความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามัฏฐ-
ธรรม เพราะปรามาสธรรมทั้งหลายยึดถือไว้ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.

ว่าด้วยมหันตรทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งมหันตรธรรม ต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปพร้อมกับอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่า
นั้นจึงชื่อว่า สารัมมณะ เพราะไม่ยึดอารมณ์ก็เป็นไปไม่ได้. อารมณ์ของธรรม
เหล่านั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนารัมมณะ.
ธรรมที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต
เพราะอรรถว่าวิจิตร. ธรรมที่ประกอบโดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก.
ธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตตั้งแต่เกิดจนแตกดับ โดยการเข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์
ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐะ ธรรมแม้เมื่อเป็นไปพร้อมกับจิต แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจิต
เพราะการไม่เข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์ ชื่อว่า วิสังสัฏฐะ.
จิตเป็นสมุฏฐานของธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน. ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่า สหภู ธรรมที่เกิด
พร้อมกับจิต ชื่อว่า จิตตสหภู. ธรรมที่คล้อยตามกันไป ชื่อว่า อนุปริวัตติ
คล้อยตามอะไร คล้อยตามจิต การคล้อยไปตามจิต ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เพราะระคนด้วยจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เพราะระคนด้วย

จิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดพร้อมกับจิต. ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐ-
สมุฏฐานานุปริวัตติ เพราะระคนด้วยจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และคล้อยตามจิต
บททั้งหมดที่เหลือพึงทราบโดยการปฏิเสธบทที่กล่าวแล้ว.
ธรรมที่เป็นภายในนั่นแหละ ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม ตามที่กล่าวไว้
ในอัชฌัตตติกะ ในที่นี้หมายเอาอัชฌัตตัชฌัตตธรรม (คืออัชฌัตตายตนะ
ธรรมภายนอกจากนั้น ชื่อว่า พาหิระ. ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะอาศัย
ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น แต่มิใช่เหมือนภูตผีที่สิงอาศัย. ธรรมที่ไม่อาศัยภูตรูป
เกิดขึ้น ชื่อว่า อนุปาทา.

ว่าด้วยอุปทานโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดอย่างยิ่ง คือยึดมั่นคง ธรรมนอกจาก
อุปาทานนั้น ไม่ชื่อว่า อุปาทาน.

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยโนกิเลสโคจฉกะ ต่อไป
อรรถแห่งกิเลสโคจฉกะ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในสังกิลิฏฐติกะ
นั้นแล.

ว่าด้วยปิฏฐิทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งปิฏฐิธรรมต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไป (อาศัยอยู่) ในกาม เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า กามาวจร. ชื่อว่า รูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูป.
ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป. ในทุกะนี้มีสังเขปเพียงนี้ ส่วน
ความพิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า.