เมนู

กิเลสไว้ในวัฏฏะ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ. ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า
คัณฐะ ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐนิยะ เพราะอรรถว่า ถูกคัณฐธรรมผูกไว้ด้วย
สามารถกระทำให้เป็นอารมณ์ คำที่เหลือ พึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ แต่คำที่เหลือนอกจากที่ตรัสไว้ แม้ในทุกะอื่นจาก
ทุกะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในทุกะนั้น ๆ นั่นแหละเหมือนตรัสไว้ใน
ทุกะนี้.

ว่าด้วยโอฆโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในโอฆโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมท่วมทับ คือยังสัตว์มีกิเลส
ให้จมลงในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า โอฆนิยะ เพราะถูกโอฆธรรมทั้งหลายให้ก้าวล่วง
โดยทำให้เป็นอารมณ์ พึงก้าวล่วง พึงทราบโอฆนิยธรรมว่าเป็นอารมณ์ของ
โอฆะทั้งหลายนั่นเอง.

ว่าด้วยโยคโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในโยคโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ พึงทราบ
โยคนิยธรรม เหมือนโอฆนิยธรรม.

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะกั้น คือ หุ้มห่อจิตไว้ พึงทราบนีวรณิย-
ธรรม ดุจสัญโญชนิยธรรม.

ว่าด้วยปรามาสโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในปรามาสโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ย่อมยึดถือโดยความเป็น
อย่างอื่น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจที่ก้าวล่วงอาการแห่งธรรมทั้งหลายที่มีความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามัฏฐ-
ธรรม เพราะปรามาสธรรมทั้งหลายยึดถือไว้ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.

ว่าด้วยมหันตรทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งมหันตรธรรม ต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปพร้อมกับอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่า
นั้นจึงชื่อว่า สารัมมณะ เพราะไม่ยึดอารมณ์ก็เป็นไปไม่ได้. อารมณ์ของธรรม
เหล่านั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนารัมมณะ.
ธรรมที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต
เพราะอรรถว่าวิจิตร. ธรรมที่ประกอบโดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก.
ธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตตั้งแต่เกิดจนแตกดับ โดยการเข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์
ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐะ ธรรมแม้เมื่อเป็นไปพร้อมกับจิต แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจิต
เพราะการไม่เข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์ ชื่อว่า วิสังสัฏฐะ.
จิตเป็นสมุฏฐานของธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน. ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่า สหภู ธรรมที่เกิด
พร้อมกับจิต ชื่อว่า จิตตสหภู. ธรรมที่คล้อยตามกันไป ชื่อว่า อนุปริวัตติ
คล้อยตามอะไร คล้อยตามจิต การคล้อยไปตามจิต ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เพราะระคนด้วยจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เพราะระคนด้วย