เมนู

ธรรมที่ชื่อว่า สาสวะ เพราะมีอาสวะพร้อมกับทำตนให้เป็นอารมณ์
เป็นไป. ชื่อว่า อนาสวะ เพราะอรรถว่า อาสวะของธรรมเหล่านั้นที่กำลัง
เป็นไปอยู่อย่างได้มี. พึงทราบคำที่เหลือในเหตุโคจฉกะโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ส่วนความที่แปสกกันมีดังต่อไปนี้
ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะสุดท้ายว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา
สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวางบทที่สองแห่งทุกะแรก
ไว้ในเบื้องต้น ฉันใด ในอาสวโคจฉกะนี้ไม่ตรัสบทสุดท้ายว่า โน อาสวา
โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ อนาสวาปิ
ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบเนื้อความนี้และความแตกต่างกัน โดยนัย
ที่ตรัสไว้ในเหตุโคจฉกะนั้น.

ว่าด้วยสัญโญชนโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในสัญโญชนโคจฉกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะอรรถว่า ย่อมประกอบ คือ ผูกพัน
บุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์.
ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชนิยะ เพราะอรรถว่า เข้าถึงความเป็นอารมณ์เกื้อกูล
แก่สัญโญชน์ทั้งหลายด้วยความเกี่ยวข้องกับสัญโญชน์ คำว่า สัญโญชนิยะนี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสัญโญชน์. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนิยะ
ชื่อว่า อสัญโญชนิยธรรม. คำที่เหลือพึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
โคจฉกะนั้นแล.

ว่าด้วยคัณฐโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในคัณฐโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มี