เมนู

ผู้เรียนมหาปกรณ์ไม่กำหนดถึงจำนวนในมหาปกรณ์ แต่ย่อมรวมจำนวนไว้
มหาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ 2 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร
ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ธรรมสังคณีปกรณ์ทั้งสิ้นย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ว่าโดยทางถ้อยคำมีเกิน 13 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร
ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.
ธรรมสังคณีปกรณ์ คือ จิตตวิภัตติ
รูปวิภัตติ นิกเขปะ และอรรถโชตนา
(อธิบายอรรถ) นี้ มีอรรถลึกซึ้ง ละเอียด
แม้ฐานะนี้ พระองค์ก็ทรงแสดงแล้วด้วย
ประการฉะนี้.


วิภังคปกรณ์



ในลำดับต่อจากธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ชื่อว่า วิภังคปกรณ์ วิภังค-
ปกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรม 18 อย่าง คือ
1. ขันธวิภังค์
2. อายตนวิภังค์
3. ธาตุวิภังค์
4. สัจจวิภังค์
5. อินทรียวิภังค์
6. ปัจจยาการวิภังค์
7. สติปัฏฐานวิภังค์
8. สัมมัปปธานวิภังค์

9. อิทธิปาทวิภังค์
10. โพชฌงควิภังค์
11. มัคควิภังค์
12. ฌานวิภังค์
13. อัปปมัญญาวิภังค์
14. สิกขาปทวิภังค์
15. ปฏิสันภิทาวิภังค์
16. ญาณวิภังค์
17. ขุททกวัตถุวิภังค์
18. ธรรมหทยวิภังค์
บรรดาวิภังค์เหล่านั้น ขันธวิภังค์จำแนกออกเป็น 3 อย่าง คือ ด้วย
อำนาจแห่งสุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ ขันธวิภังค์นั้น
ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ 5 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่มีประมาณ แม้อายตนวิภังค์เป็นต้น เบื้องหน้าแต่นี้ท่านก็จำแนกโดยนัยทั้ง
3 เหล่านั้นเหมือนกัน บรรดาวิภังค์เหล่านั้น อายตนวิภังค์ ว่าโดยทางแห่ง
ถ้อยคำมีเกิน 1 ภาณวาร ธาตุวิภังค์มีประมาณ 2 ภาณวาร สัจจวิภังค์ก็
ประมาณ 2 ภาณวารเหมือนกัน ในอินทรียวิภังค์ไม่มีสุตตันตภาชนีย์ ก็
อินทรียวิภังค์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ปัจจยาการ-
วิภังค์มีประมาณ 6 ภาณวาร แต่ไม่มีปัญหาปุจฉกะ สติปัฏฐานวิภังค์มีประมาณ
เกินหนึ่งภาณวาร สัมมัปปธาน... อิทธิบาท... โพชฌงค์... และมรรค-
วิภังค์ และอย่างมีเกินหนึ่งภาณวาร ฌานวิภังค์มีประมาณ 2 ภาณวาร
อัปปมัญญาวิภังค์มีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ในสิกขาปทวิภังค์ไม่มีบท

สุตตันตภาชนีย์ แต่สิกขาบทวิภังค์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณหนึ่ง
ภาณวาร ปฏิสัมภิทาวิภังค์ก็มีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ญาณวิภังค์จำแนก
ออก 10 อย่าง แต่ญาณวิภังค์นั้น เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ 3
ภาณวาร แม้ขุททกวัตถุวิภังค์ก็จำแนกไว้ 10 อย่าง แต่ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ
มีประมาณ 3 ภาณวาร ธรรมหทยวิภังค์จำแนกไว้ 3 อย่าง ว่าด้วยทางแห่ง
ถ้อยคำมีประมาณเกิน 2 ภาณวาร วิภังค์แม้ทั้งหมด เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สุด
ไม่มีประมาณ ปกรณ์ชื่อว่า วิภังคปกรณ์นี้ เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ
35 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณด้วยประการฉะนี้.

ธาตุกถาปกรณ์



ในลำดับต่อจากวิภังคปกรณ์นั้น ชื่อว่า ธาตุกถาปกรณ์ ทรง
จำแนก 14 อย่าง คือ
1. สงฺคโห อสงฺคโห - ธรรมสงเคราะห์ได้ ธรรม
สงค์เคราะห์ไม่ได้
2. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย
ธรรมที่สงเคราะห์ได้
3. อสงฺคหิเตน สงฺคหตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม
ที่สงเคราะห์ไม่ได้
4. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม
ที่สงเคราะห์ได้
5. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย
ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้