เมนู

บทว่า เกนจิ วิญฺเญยฺยา ได้แก่ พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสต-
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญาณเป็นต้น บทว่า
เกนจิ น วิญฺเญยฺยา ได้แก่ ไม่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณนี้
นั่นแหละ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ทุกะแห่งบทแม้ทั้ง 2 ก็ต่างกัน
โดยอรรถ.

ว่าด้วยอาสวโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในอาสวโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลไป อธิบายว่า
อาสวะเหล่านั้น ย่อมไหลไป คือ ย่อมเป็นไปทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เมื่อว่าโดยธรรม ย่อม
ไหลไปถึงโคตรภู ว่าโดยภูมิ (โอกาส) ย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม อธิบายว่า
กระทำธรรมเหล่านี้ และภูมิไว้ในภายในเป็นไป. เพราะว่า อาอักษรนี้มีอรรถ
ว่ากระทำไว้ภายใน ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นดุจเครื่องหมักดอง ด้วยอรรถว่า
หมักไว้นานมีเครื่องมึนเมาเป็นต้น จริงอยู่ เครื่องหมักดองที่หมักไว้นานมีเครื่อง
มึนเมาเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาสวะในโลก. ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะ เพราะ
อรรถว่า หมักไว้นาน อาสวะเหล่านั้นก็สมควรเป็นอย่างนั้น. สมดังพระดำรัส
ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื้อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏก่อน ก่อนแต่นี้
อวิชชาก็มิได้มีเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหล
ย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์ อันยาวนาน. นอกจากอาสวะนั้น ธรรมเหล่าอื่น ไม่ชื่อ
ว่าอาสวะ.

ธรรมที่ชื่อว่า สาสวะ เพราะมีอาสวะพร้อมกับทำตนให้เป็นอารมณ์
เป็นไป. ชื่อว่า อนาสวะ เพราะอรรถว่า อาสวะของธรรมเหล่านั้นที่กำลัง
เป็นไปอยู่อย่างได้มี. พึงทราบคำที่เหลือในเหตุโคจฉกะโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ส่วนความที่แปสกกันมีดังต่อไปนี้
ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะสุดท้ายว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา
สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวางบทที่สองแห่งทุกะแรก
ไว้ในเบื้องต้น ฉันใด ในอาสวโคจฉกะนี้ไม่ตรัสบทสุดท้ายว่า โน อาสวา
โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ อนาสวาปิ
ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบเนื้อความนี้และความแตกต่างกัน โดยนัย
ที่ตรัสไว้ในเหตุโคจฉกะนั้น.

ว่าด้วยสัญโญชนโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในสัญโญชนโคจฉกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะอรรถว่า ย่อมประกอบ คือ ผูกพัน
บุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์.
ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชนิยะ เพราะอรรถว่า เข้าถึงความเป็นอารมณ์เกื้อกูล
แก่สัญโญชน์ทั้งหลายด้วยความเกี่ยวข้องกับสัญโญชน์ คำว่า สัญโญชนิยะนี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสัญโญชน์. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนิยะ
ชื่อว่า อสัญโญชนิยธรรม. คำที่เหลือพึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
โคจฉกะนั้นแล.

ว่าด้วยคัณฐโคจฉกะ



พึงทราบวินิจฉัยในคัณฐโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มี