เมนู

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่เหตุ
ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันใดนั่นแหละ ธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นเหตุ ก็ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันนั้น. ก็เหตุธรรม
เป็นสเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะบ้าง ฉันใด ธรรมที่เป็นนเหตุธรรมก็เป็นเหตุ-
สัมปยุตตะบ้าง เป็นเหตุวิปปยุตตะบ้าง ฉันนั้น.

ว่าด้วยจูฬันตรทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งจูฬันตรธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัปปัจจยะ เพราะเป็นไปพร้อมกับปัจจัยอันให้สำเร็จ
แก่ตน. ธรรมชื่อว่า อปัจจยะ เพราะไม่มีปัจจัยในอุปปาท (การเกิด) หรือ
ในฐิติ (การตั้งอยู่) ของธรรมเหล่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สังขตะ เพราะปัจจัย
ทั้งหลายประชุมกันปรุงแต่ง. ชื่อว่า อสังขตะ เพราะไม่ประชุมกันปรุงแต่ง
รูปของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ ด้วยอำนาจแห่งอวินิพโภคะ เพราะฉะนั้น ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน ชื่อว่า อรูปิโน เพราะรูปของธรรมเหล่านั้นไม่มี
เหมือนอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปนั้นมีการเสื่อมไปเป็นลักษณะของธรรม
เหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน. ธรรมทั้งหลาย
ที่มิใช่รูป ชื่อว่า อรูปิโน.
วัฏฏะตรัสเรียกว่า โลก ในบทว่า โลกิยา ธมฺมา ดังนี้ เพราะ
อรรถว่า ชำรุดทรุดโทรม. ธรรมทั้งหลายประกอบแล้วในโลก โดยความ
นับเนื่องแล้วในโลกนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า โลกิยะ
ธรรมทั้งหลายชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามขึ้นแล้วจากโลกนั้น. ธรรมใดข้ามพ้น
แล้วจากโลก โดยความเป็นไปไม่นับเนื่องในโลก เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น
จึงชื่อว่า โลกุตระ.