เมนู

41. วิชชาทุกะ



วิชฺชา จ

ความรู้แจ้ง
วิมุตฺติ จ ความหลุดพ้น

42. ขยญาณทุกะ



ขเย ญาณํ

ญาณในอริยมรรค
อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณในอริยผล

สุตตันตมาติกา 42 ทุกะ จบ
มาติกา จบ


อรรถกถามาติกานุบุพบท



ก็ในบททุกมาติกา ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทซึ่งยังไม่มาในติกะทั้งหลาย
เท่านั้น จักพรรณาบทในเหตุโคจฉกะก่อน.
บทว่า เหตู ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือเหตุ ด้วยอรรถว่า
เป็นรากเหง้า พระบาลีว่า เหตุธมฺมา ดังนี้ก็มี. บทว่า น เหตู เป็นคำ
ปฏิเสธเหตุเหล่านั้นโดยแท้. ธรรมที่ชื่อว่า สเหตุกะ เพราะมีเหตุเป็นไปโดย
สัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะเหตุที่เป็นไปของธรรมทั้งหลาย
เหมือนอย่างนั้นไม่มี. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตะ เพระสัมปยุตด้วยเหตุ
โดยมีเอกุปปาทะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุวิปปยุตตะ เพราะไม่ประกอบ
ด้วยเหตุ.

ก็ทุกะทั้ง 2 (คือ เหตุทุกะ และสเหตุทุกะ) แม้เหล่านี้ โดยอรรถ
ไม่มีความต่างกันก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสทุกะทั้ง 2 ไว้
ด้วยความไพเราะแห่งเทศนา หรือด้วยอัธยาศัยของบุคคลทั้งหลาย คือ สัตว์ผู้
จะตรัสรู้ด้วยธรรมอย่างนั้น ต่อจากนั้น ก็ทรงประกอบทุกะแรกด้วยสามารถ
เอกเทศทั้งสิ้นกับด้วยทุกะที่ 2 และที่ 3 และทุกะ 3 ทุกะแม้อื่นอีก โดยความ
ที่เหตุเหล่านั้นตามแต่เกิดได้ ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลายมีคำว่า เหตุ เป็นต้น.
บรรดาทุกะเหล่านั้น คำว่า เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ
(สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่าเหตุ และมีเหตุประกอบ) นี้ย่อมเกิดขึ้น ฉันใด
แม้ทุกะนี้ว่า เหตู เจว ธมฺมา อเหตุกา จ (สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า
เหตุและไม่มีเหตุประกอบ) ก็ย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น.
อนึ่ง คำว่า สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรม
ทั้งหลายที่มีเหตุประกอบ และไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) นี้ ย่อมเกิดฉันใด คำแม้นี้ว่า
อเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่มีเหตุประกอบ
และไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) ก็ย่อมเกิด ฉันนั้น. แม้ในการประกอบกับเหตุสัมปยุตทุกะ
ก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบอรรถที่เกินไปในนเหตุสเหตุกทุกะซึ่งท่านรวบรวมไว้ด้วย
สามารถแห่งบทว่า เมื่ออรรถรูปเป็น น เหตู ธมฺมา สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ
(สภาวธรรมที่ไม่ใช่เหตุ มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้างมีอยู่) บทที่
ตรัสว่า โข ปน ในบทว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา ดังนี้ ก็เปล่าประโยชน์
อย่างยิ่ง มิใช่หรือ. อย่างไร คือ ธรรมทั้งหลายเป็นเหตุล้วนก็หาไม่ โดย
ที่แท้แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นบ้าง มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุ
ประกอบบ้าง แต่ว่า ย่อมเป็นแม้โดยประการอย่างหนึ่งตามที่กล่าวแล้ว.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่เหตุ
ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันใดนั่นแหละ ธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นเหตุ ก็ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันนั้น. ก็เหตุธรรม
เป็นสเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะบ้าง ฉันใด ธรรมที่เป็นนเหตุธรรมก็เป็นเหตุ-
สัมปยุตตะบ้าง เป็นเหตุวิปปยุตตะบ้าง ฉันนั้น.

ว่าด้วยจูฬันตรทุกะ



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 2 แห่งจูฬันตรธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัปปัจจยะ เพราะเป็นไปพร้อมกับปัจจัยอันให้สำเร็จ
แก่ตน. ธรรมชื่อว่า อปัจจยะ เพราะไม่มีปัจจัยในอุปปาท (การเกิด) หรือ
ในฐิติ (การตั้งอยู่) ของธรรมเหล่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สังขตะ เพราะปัจจัย
ทั้งหลายประชุมกันปรุงแต่ง. ชื่อว่า อสังขตะ เพราะไม่ประชุมกันปรุงแต่ง
รูปของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ ด้วยอำนาจแห่งอวินิพโภคะ เพราะฉะนั้น ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน ชื่อว่า อรูปิโน เพราะรูปของธรรมเหล่านั้นไม่มี
เหมือนอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปนั้นมีการเสื่อมไปเป็นลักษณะของธรรม
เหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน. ธรรมทั้งหลาย
ที่มิใช่รูป ชื่อว่า อรูปิโน.
วัฏฏะตรัสเรียกว่า โลก ในบทว่า โลกิยา ธมฺมา ดังนี้ เพราะ
อรรถว่า ชำรุดทรุดโทรม. ธรรมทั้งหลายประกอบแล้วในโลก โดยความ
นับเนื่องแล้วในโลกนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า โลกิยะ
ธรรมทั้งหลายชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามขึ้นแล้วจากโลกนั้น. ธรรมใดข้ามพ้น
แล้วจากโลก โดยความเป็นไปไม่นับเนื่องในโลก เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น
จึงชื่อว่า โลกุตระ.