เมนู

ว่าด้วยรูปวิภัตติ



ในลำดับต่อจากจิตนั้น ชื่อว่า รูปวิภัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตั้งมาติกาไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ธรรมหมวดหนึ่ง ธรรมหมวดสอง" แล้วทรง
จำแนกแสดงโดยพิสดาร แม้คำว่า รูปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของรูปวิภัตตินั้น
นั่นแหละ รูปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งคำพูด มีเกิน 2 ภาณวาร แต่เมื่อให้
พิสดาร ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยนิกเขปราสิ



ในลำดับต่อจากรูปกัณฑ์นั้น ชื่อว่า นิกเขปราสิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยมูลเป็นต้นอย่างนี้ คือ โดยมูล โดยขันธ์ โดยทวาร
โดยภูมิ โดยอรรถ โดยธรรม โดยนาม โดยเพศ.

มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต
อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต
นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ.

ที่เรียกว่า นิกเขปะ ดังนี้ เพราะ
ความที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง โดยมูลบ้าง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง
โดยเพศบ้าง.

แม้คำว่า นิกเขปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของนิกเขปราสินั่นแหละ
นิกเขปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งวาจาก็มีประมาณ 3 ภาณวาร เมื่อให้พิสดาร
ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยอัตถุทธาระ



ก็ในลำดับต่อจากนิกเขปราสินั้น ชื่อว่า อรรถกถากัณฑ์ เป็นคำที่
ยกเนื้อความพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกขึ้นแสดงตั้งแต่สรณทุกะ ภิกษุทั้งหลาย

ผู้เรียนมหาปกรณ์ไม่กำหนดถึงจำนวนในมหาปกรณ์ แต่ย่อมรวมจำนวนไว้
มหาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ 2 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร
ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ธรรมสังคณีปกรณ์ทั้งสิ้นย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ว่าโดยทางถ้อยคำมีเกิน 13 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร
ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.
ธรรมสังคณีปกรณ์ คือ จิตตวิภัตติ
รูปวิภัตติ นิกเขปะ และอรรถโชตนา
(อธิบายอรรถ) นี้ มีอรรถลึกซึ้ง ละเอียด
แม้ฐานะนี้ พระองค์ก็ทรงแสดงแล้วด้วย
ประการฉะนี้.


วิภังคปกรณ์



ในลำดับต่อจากธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ชื่อว่า วิภังคปกรณ์ วิภังค-
ปกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรม 18 อย่าง คือ
1. ขันธวิภังค์
2. อายตนวิภังค์
3. ธาตุวิภังค์
4. สัจจวิภังค์
5. อินทรียวิภังค์
6. ปัจจยาการวิภังค์
7. สติปัฏฐานวิภังค์
8. สัมมัปปธานวิภังค์