เมนู

นิกเขปราสิ (การจำแนกกองธรรมที่ตั้งไว้)
อัตถุทธาระ (การยกอรรถขึ้นแสดง).

ว่าด้วยจิตตวิภัตติ



บรรดาการจำแนกธรรมทั้ง 4 เหล่านั้น ธรรมนี้คือ
1. กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง
2. อกุศลจิต 12 ดวง
3. กุศลวิปากจิต 16 ดวง
4. อกุศลวิปากจิต 7 ดวง
5. กิริยาจิต 11 ดวง
6. รูปาวจรกุศลจิต 5 ดวง
7. รูปาวจรวิปากจิต 5 ดวง
8. รูปาวจรกิริยาจิต 5 ดวง
9. อรูปาวจรกุศลจิต 4 ดวง
10. อรูปาวจรวิปากจิต 4 ดวง
11. อรูปาวจรกิริยาจิต 4 ดวง
12. โลกุตรกุศลจิต 4 ดวง
13. โลกุตรวิปากจิต 4 ดวง
รวมจิต 89 ดวงตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า จิตตวิภัตติ แม้คำว่า
จิตตุปปาทกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของจิตตวิภัตตินี้เหมือนกัน ก็จิตนั้นว่าโดย
ทางแห่งคำพูดมีเกิน 6 ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยรูปวิภัตติ



ในลำดับต่อจากจิตนั้น ชื่อว่า รูปวิภัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตั้งมาติกาไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ธรรมหมวดหนึ่ง ธรรมหมวดสอง" แล้วทรง
จำแนกแสดงโดยพิสดาร แม้คำว่า รูปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของรูปวิภัตตินั้น
นั่นแหละ รูปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งคำพูด มีเกิน 2 ภาณวาร แต่เมื่อให้
พิสดาร ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยนิกเขปราสิ



ในลำดับต่อจากรูปกัณฑ์นั้น ชื่อว่า นิกเขปราสิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยมูลเป็นต้นอย่างนี้ คือ โดยมูล โดยขันธ์ โดยทวาร
โดยภูมิ โดยอรรถ โดยธรรม โดยนาม โดยเพศ.

มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต
อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต
นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ.

ที่เรียกว่า นิกเขปะ ดังนี้ เพราะ
ความที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง โดยมูลบ้าง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง
โดยเพศบ้าง.

แม้คำว่า นิกเขปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของนิกเขปราสินั่นแหละ
นิกเขปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งวาจาก็มีประมาณ 3 ภาณวาร เมื่อให้พิสดาร
ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยอัตถุทธาระ



ก็ในลำดับต่อจากนิกเขปราสินั้น ชื่อว่า อรรถกถากัณฑ์ เป็นคำที่
ยกเนื้อความพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกขึ้นแสดงตั้งแต่สรณทุกะ ภิกษุทั้งหลาย