เมนู

ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เป็นไปทั่วจำเดิมแต่
อุปปาทขณะจนถึงภังคขณะอันยังไม่เลยไป. ธรรมที่ไม่ใช่อุปปันนะ เรียกว่า
อนุปปันนะ ธรรมใดจักเกิดขึ้นแน่นอนเพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งเหตุที่สำเร็จ
แล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า อุปปาทิ.


ว่าด้วยอตีตติกะที่ 18



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอตีตธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อตีตะ เพราะอรรถว่า ถึงสภาวะของตน หรือถึง
อุปปาทขณะเป็นต้นแล้วก็ล่วงเลยไป. ธรรมที่ยังไม่ถึงสภาวะของตน หรืออุป-
ปาทขณะเป็นต้นทั้งสองนั้น ชื่ออนาคตะ ธรรมที่อาศัยเหตุนั้น ๆ เกิดขึ้น
ชื่อว่า ปัจจุปปันนะ.

ว่าด้วยอนันตรติกะที่ 19



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอนันตรธรรม เป็นต้น
อดีตธรรมที่เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า อตีตารัมมณะ แม้สองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยอัชฌัตตติกะที่ 20



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอัชฌัตตธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า กระทำของตนให้เป็นใหญ่เหมือน
ประสงค์เอาอย่างนี้ว่า พวกเราเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พวกเราก็จักยึดถือเป็นอัตตา
ดังนี้. ส่วนอัชฌัตตศัพท์นี้ใช้ในความหมาย 4 อย่างคือ

โคจรัชฌัตตะ (อารมณ์ทั่วไป)
นิยกัชฌัตตะ (ธรรมที่เกิดอยู่ในตน)
อัชฌัตตัชฌัตตะ (อัชฌัตตายตนะ 6)
วิสยัชฌัตตะ (ผลสมาบัติ ).
จริงอยู่ อัชฌัตตศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า โคจรัชฌัตตะ เหมือนใน
ประโยคมีอาทิว่า เตนานนฺท ภิกฺขุนา ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ สมาธินิมิตฺเต
อชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ, อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต
(ดูก่อน
อานนท์ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตอันมีอารมณ์ในภายในนั้นแหละให้มั่นในสมาธินิมิต
เดิมนั้นนั่นแหละ เธอมีความยินดีแล้วในภายใน มีจิตตั้งมั่นแล้ว ). ใช้ใน
อรรถว่า นิยกัชฌัตตะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ,
อชฺฌตฺตํ วา ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ
(ความผ่องใสภายใน ภิกษุ
มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายในภายในอยู่). ใช้ในอรรถว่า อัช-
ฌัตตัชฌัตตะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ฉ อชฺฌตฺติกา อายตนานิ
(อายตนะ 6 เป็นไปในภายใน). ใช้ในอรรถว่า วิสยัชฌัตตะ เหมือนใน
ประโยคมีอาทิว่า อยํ โข ปนานนฺท วิหาโร ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺโธ ยทิทํ
สพฺพนิมิตฺตานํ อมนสิการา อชฺฌตฺตํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ

(ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมเป็นเครื่องอยู่นี้แล อันตถาคตตรัสรู้ชอบยิ่งแล้วซึ่ง
ตถาคตเข้าถึงสุญญตะ อันเป็นภายในเพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่).
อธิบายว่า ใช้ในฐานะอันยิ่งใหญ่. จริงอยู่ ผลสมาบัติ ชื่อว่า ฐานะอันยิ่ง
ใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนอัชฌัตตศัพท์ในที่นี้ ประสงค์เอานิยกัช-
ฌัตตะ
เพราะฉะนั้น ธรรมที่เป็นไปในสันดานของตนเป็นเฉพาะแต่ละบุคคล
พึงทราบว่า เป็นอัชฌัตตธรรม. ส่วนธรรมที่เป็นภายนอกจากอัชญัตตธรรมนั้น

เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า พหิทธรรม
บทที่ 3 ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบททั้ง 2.
ส่วนหมวด 3 แห่งอนันตระ (อตีตารัมมณติกะ) ท่านกล่าวกระทำ
ธรรมแม้ทั้ง 3 ประการ (อัชฌัตตะเป็นต้น ) เหล่านั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์
เป็นไป.

ว่าด้วยสนิทัสสนติกะที่ 22



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งสนิทัสสนธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ เพราะเป็นไปกับด้วยความเห็นกล่าวคือ
ความที่รูปนั้นอันจักขุวิญญาณพึงเห็น. ธรรมที่ชื่อว่า สัปปฏิฆะ เพราะเป็นไป
กับด้วยปฏิฆะ. กล่าวคือความเป็นคือการกระทบ. ธรรมเหล่านั้นเป็นไปกับด้วย
การเห็นและการกระทบ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สนิทัสสนะ
สัปปฏิฆะ
. นิทัสสนธรรม กล่าวคือความที่รูปอันจักขุวิญญาณพึงเห็นไม่มี
แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนิทัสสนะ ธรรม
เหล่านั้นเป็นอนิทัสสนะด้วย เป็นสัปปฏิฆะด้วยโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆะ. บทที่ 3 ท่านปฏิเสธทั้ง 2 บท.

นี้เป็นการพรรณนาตามบทติกมาติกาเพียงเท่านี้