เมนู

เป็นสัมมัตตะด้วย เป็นนิยตะด้วยโดยให้ผลไม่มีระหว่างคั่นนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สัมมัตตนิยตา. ธรรมเหล่าใดให้ผลไม่แน่นอน แม้โดยประการ
แห่งบททั้งสองที่กล่าวแล้วมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า
อนิยตา.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะที่ 16



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งมัคคารัมมณธรรม ต่อไป.
ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมแสวงหา ย่อมค้นหาพระนิพพาน
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. มรรค
เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคา-
รัมมณะ
(มีมรรคเป็นอารมณ์. มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ 8 ก็เป็นเหตุ
ของธรรมเหล่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรคเป็นเหตุ). เหตุทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรค
หรือว่า เหตุทั้งหลายในมรรค ชื่อว่า มัคคเหตุ. มัคคเหตุเหล่านั้นเป็นเหตุ
ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรค
เป็นเหตุ). สัมมาทิฏฐิเองเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุ. ธรรมที่เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุเหล่านั้น มีอยู่.
แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา.
มรรคเป็นอธิบดีของธรรมเหล่านั้น ด้วยอรรถว่าครอบงำให้เป็นไป เพราะ
ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคาธิปติ.

ว่าด้วยอุปปันนติกะที่ 17



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอุปปันนธรรม ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เป็นไปทั่วจำเดิมแต่
อุปปาทขณะจนถึงภังคขณะอันยังไม่เลยไป. ธรรมที่ไม่ใช่อุปปันนะ เรียกว่า
อนุปปันนะ ธรรมใดจักเกิดขึ้นแน่นอนเพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งเหตุที่สำเร็จ
แล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า อุปปาทิ.


ว่าด้วยอตีตติกะที่ 18



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอตีตธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อตีตะ เพราะอรรถว่า ถึงสภาวะของตน หรือถึง
อุปปาทขณะเป็นต้นแล้วก็ล่วงเลยไป. ธรรมที่ยังไม่ถึงสภาวะของตน หรืออุป-
ปาทขณะเป็นต้นทั้งสองนั้น ชื่ออนาคตะ ธรรมที่อาศัยเหตุนั้น ๆ เกิดขึ้น
ชื่อว่า ปัจจุปปันนะ.

ว่าด้วยอนันตรติกะที่ 19



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอนันตรธรรม เป็นต้น
อดีตธรรมที่เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า อตีตารัมมณะ แม้สองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยอัชฌัตตติกะที่ 20



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอัชฌัตตธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า กระทำของตนให้เป็นใหญ่เหมือน
ประสงค์เอาอย่างนี้ว่า พวกเราเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พวกเราก็จักยึดถือเป็นอัตตา
ดังนี้. ส่วนอัชฌัตตศัพท์นี้ใช้ในความหมาย 4 อย่างคือ