เมนู

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะที่ 13



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปริตตารัมมณธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ เพราะอารมณ์ของธรรมเหล่านี้เล็ก
น้อยแม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยหีนติกะที่ 14



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งหีนธรรม ต่อไป.
บทว่า หีนา ได้แก่ ลามก คือ อกุศลธรรม. ธรรมทั้งหลายมีใน
ท่ามกลางแห่งธรรมอันลามกและประณีต มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า มัชฌิมา คือ ธรรมที่เป็นไปโนภูมิ 3 นอกจากหีนะและปณีตธรรม.
โลกุตระ ชื่อว่า ธรรมอันประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด และอรรถว่า
ชุ่มชื่นยิ่ง ไม่เร่าร้อน.

ว่าด้วยมิจฉัตตติกะที่ 15



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งมิจฉัตตธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะอรรถว่า ชนทั้งหลายแม้มีความหวัง
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้จักนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่เรา ดังนี้ ก็ไม่ได้
เหมือนอย่างนั้นเลย เพราะภาวะของตนเป็นความเห็นผิดจากความเป็นไปอัน
วิปริต แม้ในอสุภะเป็นต้นว่าเป็นสุภะเป็นต้น. เมื่อการให้วิบากมีอยู่ ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิยตะ เพราะการให้วิบากในระหว่างแห่งการทำลายขันธ์
นั่นแหละ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นมิจฉัตตะด้วยเป็นนิยตะด้วย เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า มิจฉัตตนิยตา. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมัตตะ เพราะอรรถว่า
เป็นสภาวะโดยชอบด้วยอรรถอันผิดจากมิจฉัตตะที่กล่าวแล้ว ธรรมเหล่านั้น

เป็นสัมมัตตะด้วย เป็นนิยตะด้วยโดยให้ผลไม่มีระหว่างคั่นนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สัมมัตตนิยตา. ธรรมเหล่าใดให้ผลไม่แน่นอน แม้โดยประการ
แห่งบททั้งสองที่กล่าวแล้วมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า
อนิยตา.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะที่ 16



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งมัคคารัมมณธรรม ต่อไป.
ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมแสวงหา ย่อมค้นหาพระนิพพาน
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. มรรค
เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคา-
รัมมณะ
(มีมรรคเป็นอารมณ์. มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ 8 ก็เป็นเหตุ
ของธรรมเหล่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรคเป็นเหตุ). เหตุทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรค
หรือว่า เหตุทั้งหลายในมรรค ชื่อว่า มัคคเหตุ. มัคคเหตุเหล่านั้นเป็นเหตุ
ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรค
เป็นเหตุ). สัมมาทิฏฐิเองเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุ. ธรรมที่เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุเหล่านั้น มีอยู่.
แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา.
มรรคเป็นอธิบดีของธรรมเหล่านั้น ด้วยอรรถว่าครอบงำให้เป็นไป เพราะ
ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคาธิปติ.

ว่าด้วยอุปปันนติกะที่ 17



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอุปปันนธรรม ต่อไป.