เมนู

ว่าด้วยเสกขติกะที่ 11



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งเสกธรรม ต่อไป.
ชื่อว่า เสกขะ เพราะเกิดแล้วในสิกขา 3 ดังนี้บ้าง ชื่อว่า เสกขะ
เพราะเป็นธรรมของพระเสกขะ 7 ดังนี้บ้าง ชื่อว่า เสกขะ เพราะกำลังศึกษา
อยู่โดยยังไม่สำเร็จการศึกษานั่นแหละ. ชื่อว่า อเสกขะ เพราะไม่ต้องศึกษา
เพราะไม่มีสิ่งที่พึงศึกษาให้ยิ่งขึ้นไปอีก. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อเสกขะ เพราะ
พระอเสกขบุคคลถึงความเจริญที่สุดแล้ว. ค่าว่า อเสขะ นี้ เป็นชื่อของธรรม
คืออรหัตผล. บทที่ 3 ท่านกล่าวไว้โดยปฏิเสธ 2 บทข้างต้น.

ว่าด้วยปริตติกะที่ 12



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปริตตธรรม ต่อไป.
วัตถุมีประมาณน้อย เรียกว่า ปริตตะ เพราะเป็นของแตกหักไป
รอบด้าน เหมือนในประโยคมีอาทิ ปริตฺตํ โคมยปิณฺฑํ (ก้อนขี้วัวเล็กน้อย)
แม้ธรรมเหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนของเล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ปริตตะ
เพราะมีอานุภาพน้อย. คำว่า ปริตตะ นี้ เป็นชื่อของกามาวจร. ธรรมที่
ชื่อว่า มหัคคตะ เพราะอรรถว่า ถึงความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลส
เพราะมีผลไพบูลย์ และเพราะความสืบต่อยาวนาน หรือว่า บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว
ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ ปัญญา ดังนี้บ้าง. ธรรม
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นกระทำให้มีประมาณ ชื่อว่า ประมาณธรรม ธรรม
ทั้งหลายที่ชื่อ ไม่มีประมาณ เพราะอรรถว่าประมาณธรรมไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้
โดยอารมณ์ หรือโดยสัมปโยคะ และเป็นธรรมปฏิเสธประมาณธรรม.

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะที่ 13



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปริตตารัมมณธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ เพราะอารมณ์ของธรรมเหล่านี้เล็ก
น้อยแม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยหีนติกะที่ 14



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งหีนธรรม ต่อไป.
บทว่า หีนา ได้แก่ ลามก คือ อกุศลธรรม. ธรรมทั้งหลายมีใน
ท่ามกลางแห่งธรรมอันลามกและประณีต มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า มัชฌิมา คือ ธรรมที่เป็นไปโนภูมิ 3 นอกจากหีนะและปณีตธรรม.
โลกุตระ ชื่อว่า ธรรมอันประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด และอรรถว่า
ชุ่มชื่นยิ่ง ไม่เร่าร้อน.

ว่าด้วยมิจฉัตตติกะที่ 15



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งมิจฉัตตธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะอรรถว่า ชนทั้งหลายแม้มีความหวัง
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้จักนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่เรา ดังนี้ ก็ไม่ได้
เหมือนอย่างนั้นเลย เพราะภาวะของตนเป็นความเห็นผิดจากความเป็นไปอัน
วิปริต แม้ในอสุภะเป็นต้นว่าเป็นสุภะเป็นต้น. เมื่อการให้วิบากมีอยู่ ธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิยตะ เพราะการให้วิบากในระหว่างแห่งการทำลายขันธ์
นั่นแหละ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นมิจฉัตตะด้วยเป็นนิยตะด้วย เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า มิจฉัตตนิยตา. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมัตตะ เพราะอรรถว่า
เป็นสภาวะโดยชอบด้วยอรรถอันผิดจากมิจฉัตตะที่กล่าวแล้ว ธรรมเหล่านั้น