เมนู

นั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มาสู่สำนัก
ของพระราชาด้วยกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระราชาผู้ประทับบน
คอช้างกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้า
พระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า เพราะความที่
กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำ ฉันใด โคตรภูญาณ แม้เห็นพระ-
นิพพานแล้วก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรกระทำฉันนั้น
เหมือนกัน. ทุติยบทว่า ภาวนาย ได้แก่ มรรคทั้ง 3 ที่เหลือ. จริงอยู่
มรรคทั้ง 3 ที่เหลือย่อมเกิด ขึ้นในธรรมอันปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละ ด้วย
สามารถแห่งภาวนา ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ภาวนา. บทที่ 3 กล่าวไว้ด้วยการปฏิเสธ
บททั้ง 2 ข้างต้น.

ว่าด้วยทัสสนเหตุติกะที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในติกะในลำดับต่อไป
เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค มีอยู่ด้วยแก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุกา. แม้ในทุติยบทก็นัยนี้
เหมือนกัน. ในตติยบทไม่พึงถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดา-
ปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความ
อย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรคก็มิใช่ และด้วยมรรคเบื้องบน 3
(ภาวนา) ก็ไม่ใช่ มีอยู่แก่ธรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่อถือเอาความนอกจากนี้ ก็
ไม่พึงถืออเหตุกธรรม เพราะว่า เหตุเท่านั้นไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น แม้ในสเหตุก
ธรรมทั้งหลาย ธรรมใดที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค 3 เบื้องบนพึงมีได้.
การละธรรมที่ไม่มีเหตุ ย่อมถูกต้อง การละธรรมที่มีเหตุ ย่อมไม่ถูก. เพราะว่า

เหตุของธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวว่าไม่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรค 3 เบื้องบน ธรรมเหล่านั้น พระองค์มิได้ตรัสไว้ และแม้เหตุและ
ธรรมทั้ง 2 นี้ก็ไม่ประสงค์เอา เพราะฉะนั้น พึงถือเอาเนื้อความนี้ว่า เหตุ
ธรรมทั้งหลายไม่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่พึงละด้วยมรรค 3 เบื้องบน
มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มิใช่ ด้วยมรรค 3 เบื้องบนก็มิใช่.

ว่าด้วยอาจยคามิติกะที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอาจยคามิธรรม ต่อไป.
ธรรมใด อันกรรมและกิเลสย่อมก่อสร้างไว้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น
จึงชื่อว่า อาจยะ คำว่า อาจยะ นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นไปของ
สัตว์ผู้ดำเนินไปสู่ปฏิสนธิ และจุติ. อธิบายว่า กรรมและกิเลสทั้งหลายย่อม
ถึงปฏิสนธิและจุตินั้น หรือว่า ย่อมยังบุคคลนั้นให้เป็นไปโดยเป็นเหตุให้
ปฏิสนธินั้นสำเร็จ ตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า อาจย-
คามิโน
เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้ถึงปฏิสนธิและจุติ. คำว่า อาจยคามิ นี้
เป็นชื่อของกุศลและอกุศลที่มีอาสวะ พระนิพพานปราศจากความก่อ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจยะ เพราะปราศจากความก่อคือปฏิสนธิและจุตินั้น
นั่นแหละ ธรรมเหล่าใดย่อมถึงพระนิพพานอันเป็นอปัจจัย ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า
อปัจจยคามิโน เพราะกระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์เป็นไป. คำว่า
อปัจจยคามี นี้ เป็นชื่อของอริยมรรค. อีกอย่างหนึ่ง กรรมและกิเลสเหล่าใด
ก่อสร้างยังปฏิสนธิและจุติให้เป็นไปอยู่ เหมือนช่างอิฐก่อกำแพง เพราะเหตุนั้น
กรรมและกิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาจยคามิโน. ธรรมเหล่าใดไม่ก่อสร้างปฎิ-
สนธิและจุตินั้นให้เป็นไป เหมือนบุรุษทำลายอิฐที่ก่อสร้างแล้ว ๆ เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อปัจจยคามิโน บทที่ 3 ท่านกล่าวปฏิเสธ 2 บทต้น.