เมนู

นั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มาสู่สำนัก
ของพระราชาด้วยกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระราชาผู้ประทับบน
คอช้างกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้า
พระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า เพราะความที่
กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำ ฉันใด โคตรภูญาณ แม้เห็นพระ-
นิพพานแล้วก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรกระทำฉันนั้น
เหมือนกัน. ทุติยบทว่า ภาวนาย ได้แก่ มรรคทั้ง 3 ที่เหลือ. จริงอยู่
มรรคทั้ง 3 ที่เหลือย่อมเกิด ขึ้นในธรรมอันปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละ ด้วย
สามารถแห่งภาวนา ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ภาวนา. บทที่ 3 กล่าวไว้ด้วยการปฏิเสธ
บททั้ง 2 ข้างต้น.

ว่าด้วยทัสสนเหตุติกะที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในติกะในลำดับต่อไป
เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค มีอยู่ด้วยแก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุกา. แม้ในทุติยบทก็นัยนี้
เหมือนกัน. ในตติยบทไม่พึงถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดา-
ปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความ
อย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรคก็มิใช่ และด้วยมรรคเบื้องบน 3
(ภาวนา) ก็ไม่ใช่ มีอยู่แก่ธรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่อถือเอาความนอกจากนี้ ก็
ไม่พึงถืออเหตุกธรรม เพราะว่า เหตุเท่านั้นไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น แม้ในสเหตุก
ธรรมทั้งหลาย ธรรมใดที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค 3 เบื้องบนพึงมีได้.
การละธรรมที่ไม่มีเหตุ ย่อมถูกต้อง การละธรรมที่มีเหตุ ย่อมไม่ถูก. เพราะว่า