เมนู

ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ เพราะธรรมเหล่านั้นมีวิตกและมีวิจาร. ธรรม
ที่เว้นจากวิตกและวิจารทั้งสอง ชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ ธรรมที่ชื่อว่า
วิจารมัตตะ (สักว่าวิจาร) เพราะอรรถว่า บรรดาวิตกและวิจาร ธรรมมีเพียง
วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ อธิบายว่า ธรรมนั้นนอกจากวิจารแล้ว ย่อมไม่
สัมปโยคะกับวิตก. ธรรมเหล่านั้นไม่มีวิตกด้วย มีเพียงวิจารด้วย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตา.

ว่าด้วยปีติติกะที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปีติธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ปิติสหคตะ เพราะอรรถว่า ถึงภาวะแห่งสัมปโยคะ
มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นร่วมกับปีติ อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปีติ. แม้ใน 2
บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็อทุกขมสุขเวทนาท่านกล่าวไว้ในบทที่ 3 นี้ว่า
อุเบกขา เพราะว่า อุเบกขานั้นเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ซึ่งความเป็นไปแห่งอาการ
ของสุขและทุกข์ คือ ไม่ให้เป็นไปอยู่ตามอาการแห่งสุขและทุกข์นั้น จึงชื่อว่า
อุเบกขา เพราะความดำรงอยู่โดยอาการแห่งความเป็นกลาง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวติกะนี้ โดยถือเอา 2 หมวดจากเวทนาติกะนั่นแหละ แล้วแสดง
สุขไม่มีปีติให้แปลกจากสุขที่มีปีติ.

ว่าด้วยทัสสนติกะที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งทัสสนธรรม ต่อไป.
บทว่า ทสฺสเนน ได้แก่โสดาปัตติมรรค จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก ส่วน
โคตรภูญาณ ย่อมเห็นพระนิพพานก่อนกว่าแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โคตรภูญาณ

นั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มาสู่สำนัก
ของพระราชาด้วยกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระราชาผู้ประทับบน
คอช้างกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้า
พระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า เพราะความที่
กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำ ฉันใด โคตรภูญาณ แม้เห็นพระ-
นิพพานแล้วก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรกระทำฉันนั้น
เหมือนกัน. ทุติยบทว่า ภาวนาย ได้แก่ มรรคทั้ง 3 ที่เหลือ. จริงอยู่
มรรคทั้ง 3 ที่เหลือย่อมเกิด ขึ้นในธรรมอันปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละ ด้วย
สามารถแห่งภาวนา ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ภาวนา. บทที่ 3 กล่าวไว้ด้วยการปฏิเสธ
บททั้ง 2 ข้างต้น.

ว่าด้วยทัสสนเหตุติกะที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในติกะในลำดับต่อไป
เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค มีอยู่ด้วยแก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุกา. แม้ในทุติยบทก็นัยนี้
เหมือนกัน. ในตติยบทไม่พึงถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดา-
ปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความ
อย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรคก็มิใช่ และด้วยมรรคเบื้องบน 3
(ภาวนา) ก็ไม่ใช่ มีอยู่แก่ธรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่อถือเอาความนอกจากนี้ ก็
ไม่พึงถืออเหตุกธรรม เพราะว่า เหตุเท่านั้นไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น แม้ในสเหตุก
ธรรมทั้งหลาย ธรรมใดที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค 3 เบื้องบนพึงมีได้.
การละธรรมที่ไม่มีเหตุ ย่อมถูกต้อง การละธรรมที่มีเหตุ ย่อมไม่ถูก. เพราะว่า