เมนู

ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ เพราะธรรมเหล่านั้นมีวิตกและมีวิจาร. ธรรม
ที่เว้นจากวิตกและวิจารทั้งสอง ชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ ธรรมที่ชื่อว่า
วิจารมัตตะ (สักว่าวิจาร) เพราะอรรถว่า บรรดาวิตกและวิจาร ธรรมมีเพียง
วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ อธิบายว่า ธรรมนั้นนอกจากวิจารแล้ว ย่อมไม่
สัมปโยคะกับวิตก. ธรรมเหล่านั้นไม่มีวิตกด้วย มีเพียงวิจารด้วย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตา.

ว่าด้วยปีติติกะที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปีติธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ปิติสหคตะ เพราะอรรถว่า ถึงภาวะแห่งสัมปโยคะ
มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นร่วมกับปีติ อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปีติ. แม้ใน 2
บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็อทุกขมสุขเวทนาท่านกล่าวไว้ในบทที่ 3 นี้ว่า
อุเบกขา เพราะว่า อุเบกขานั้นเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ซึ่งความเป็นไปแห่งอาการ
ของสุขและทุกข์ คือ ไม่ให้เป็นไปอยู่ตามอาการแห่งสุขและทุกข์นั้น จึงชื่อว่า
อุเบกขา เพราะความดำรงอยู่โดยอาการแห่งความเป็นกลาง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวติกะนี้ โดยถือเอา 2 หมวดจากเวทนาติกะนั่นแหละ แล้วแสดง
สุขไม่มีปีติให้แปลกจากสุขที่มีปีติ.

ว่าด้วยทัสสนติกะที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งทัสสนธรรม ต่อไป.
บทว่า ทสฺสเนน ได้แก่โสดาปัตติมรรค จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก ส่วน
โคตรภูญาณ ย่อมเห็นพระนิพพานก่อนกว่าแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โคตรภูญาณ